Login Form

ผู้ตรวจติดตามภายใน ศิลปะการตำหนิ

การตำหนิ

ไม่มีใครชอบการโดนตำหนิ การบ่งบอกข้อบกพร่องใดๆให้กับใครจึงต้องระวัง ต้องมีศิลปะ

การออก CARs เป็นการตำหนิรูปแบบหนึ่ง เป้าหมายของการออก CARs เป็นเรื่องที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

หากทำสิ่งนั้ไม่ดี ปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไข

ผู้ตรวจประเมินจำต้องตระหนักถึงผลกระทบในแง่จิตวิทยา ที่จะทำให้ผู้ที่รับคำตำหนินี้ไม่ต่อต้าน เกิดการเห็นด้วย และเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น

1. ก่อนจะตำหนิต้องตั้งสติ

ก่อนสรุปและเอ่ยปากตำหนิผู้อื่น ผู้ตรวจประเมินจำต้องเข้าใจว่า การออก CARs นั้นอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ความรู้สึกต่อต้าน เกิดการโต้แย้งได้ การพูดจาโดยไม่คิด การออก CARs โดยไม่ไตร่ตรอง เป็นสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง

2. ให้อธิบายเหตุผลอย่างละเอียดเสมอว่าทำไมต้องตำหนิ

การออก CARs ไม่ใช่เรื่องของการเอามันส์ .การเอาคืน หรือเป็นเรื่องเล่นๆ ในการทำให้ใครต้องปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงใดๆ จำเป็นต้องอธิบาย ให้เขาเข้าใจ จูงใจให้เขาเล็งเห็นถึงประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนนั้นๆ  คงไม่มีใครต้องการเปลี่ยนแปลงโดยไม่รู้ว่าเปลี่ยนไปทำไม มีอะไรทีดีขึ้นหากมีการปรับเปลี่ยนนั้นๆ จะดีกว่ามากหากสามารถอธิบายโยงไปถึงการลดต้นทุน การเพิ่มสมรรถนะขององค์กร การลดปัญหาซ้ำซาก การบรรลุถึงนโยบายที่ประกาศ อาจกล่าวได้ว่า หากคุณไม่มีความคิดอันกระจ่างถึงเหตุผลของการตำหนิ หรือไม่สามารถอธิบายให้ใครเข้าใจได้ สิ่งนั้นอาจไม่ใช่ประเด็นที่เป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด คุณอาจเพี้ยนไปเอง

3. หลีกเลี่ยงการตำหนิอย่างคลุมเครือ ไม่แน่ชัดไม่ตรงจุด

การออก CARs โดยไม่คิด คือการตำหนิแบบหว่านแห จะทำให้ผู้ได้รับการตำหนิไม่รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องปรับปรุง ดังนั้นประเด็นปัญหา หลักฐานทึ่ตรวจพบต้องชัดเจน  

4. ปัญหาของการประชุมปิดกับการตำหนิ

ไม่มีใครชอบการถูกตำหนิ โดยเฉพาะต่อหน้าคนอื่นๆ ต่อหน้าลูกน้อง ต่อหน้าเจ้านาย ดังนั้นจงพูดถึงหลักฐานที่พบ อย่าใส่ความเห็น อย่าตีเหมารวม และอย่าลืม ก่อนตำหนิในเรื่องใด แผนกใด กระบวนการใด จงหาคำชม มันต้องมีบ้างสิน่า ! 

การบอก การพูดเน้นสิ่งที่สอดคล้อง ก็เป็นคำชมชนิดหนึ่ง

5. ระบุปัญหาให้ชัดเจนและแน่ใจว่าปัญหานั้นมีหนทางแก้ไข

6. อย่ายกตัวอย่างคนอื่นมาเปรียบเทียบ

การเปรียบเทียบกับผู้อื่น องค์กรอื่น สามารถก่อให้เกิดการโต้แย้ง ต่อต้านได้โดยง่าย การยกตัวอย่างคนอื่นมาเปรียบเทียบมักก่อให้เกิดการต่อต้านที่มากขึ้น ก็แต่ละองค์กรไม่เหมือนกันนี่นา !

7. หาเรื่องที่เป็นข้อดี ก่อนที่จะระบุข้อที่ควรปรับปรุง

ก่อนจะทำให้ใครมีจิตใจท้อแท้ จงให้กำลังใจเขาเสียก่อน ไม่มีใครอยากฟังแต่ข้อเสียหรอก เชื่อเถอะ !

 

Online

มี 15 ผู้มาเยือน และ สมาชิกหนึ่งคน ออนไลน์