Login Form

ตัวอย่าง จุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point)

 

ตัวอย่าง จุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point)

ระบบ HACCP

สิ่งที่เป็นหัวใจในการพัฒนาระบบให้ประสบผลสำเร็จ

คือความเข้าใจและการกำหนด CCP ในระบบ HACCP

ก็นับว่าเป็นประเด็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำระบบ

ความหมายของคำว่า “ จุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point)”

Critical Control Point หรือ CCP คือจุดหรือขั้นตอนหรือวิธีการใด ๆ ซึ่งสำคัญหรือวิกฤตในกระบวนการผลิตหนึ่ง ๆ ซึ่งเราสามารถหาวิธีเข้าไปควบคุมได้ เพื่อที่จะ ลด หรือ กำจัด อันตรายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เป็นจุดหรือขั้นตอนใด ๆ ที่ถ้าหากสูญเสียการควบคุมแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความปลอดภัยให้แก่ ผู้บริโภค

 

คำว่า Critical Control Point นี้ ต่างจากคำว่าจุดควบคุมหรือ Control Point

Control Point หรือ CP คือจุดหรือขั้นตอนหรือวิธีการใด ๆ ที่เราสามารถ ควบคุม ปัจจัยหรืออันตรายทางด้านชีวภาพ เคมี และกายภาพได้ ตัวอย่างเช่น เราสามารถป้องกันเศษโลหะที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเสียดสีของเครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตได้ โดยการบำรุงรักษา ตรวจสอบเครื่องมือและเครื่องจักรเป็นประจำ ติดตั้งแม่เหล็กในกระบวนการผลิตส่วนที่ต่อจากเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ มีโอกาสจะเกิดเศษโลหะ การกระทำดังที่กล่าวมานี้ทุกจุดควบคุมหรือ Control Points แต่วิธีการเหล่านี้ไม่สามารถประกันได้ว่าผลิตภัณฑ์สุดท้ายจะปลอดภัยจากโลหะ ส่วนการติดตั้งเครื่องตรวจโลหะเพื่อใช้ในการตรวจโลหะในผลิตภัณฑ์สุดท้ายจะ เป็นจุดที่ใช้ในการประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค จึงถือว่าเครื่องตรวจโลหะเป็น critical control point

 

ในการที่จะตัดสินใจว่าจุดหรือขั้นตอนใดเป็น CCP ได้มีการกำหนดให้ใช้ CCP Decision Tree เพื่อช่วยในการตัดสินใจ

 

ตัวอย่างของอันตรายจากสารเคมีปนเปื้อน จุดควบคุมวิกฤต และการควบคุม

แหล่งอันตราย

CCP

การควบคุม

วัตถุดิบ

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช สารพิษ ฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ

 

 

ก่อนการรับ

 

 

ช่วงการรับ

 

จัดทำข้อกำหนด

ทำเอกสารรับรองโดยระบุว่า

เป็นสารที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้

สำรวจสภาพรถ ทดสอบ และควบคุม

สภาพการเก็บ

สีหมึก

สารที่ห้ามใช้ที่รวมอยู่ในส่วนผสม (ingredient) และในวัสดุที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์

ก่อนการรับ

 

 

ช่วงการรับ

จัดทำข้อกำหนด

ทำเอกสารรับรองว่า

เป็นสารที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้

สำรวจสภาพรถ และควบคุม

สภาพการเก็บ

 

กระบวนการผลิต

วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ เป็นส่วนผสม (direct food additives)

สีผสมอาหาร

 

 

ก่อนการรับ

 

จุดที่ใช้งาน

ก่อนการรับ

 

 

ทบทวนวัตถุประสงค์ ความบริสุทธิ์สูตร (ปริมาณ) สิ่งที่ต้องระบุบนฉลาก

วิธีการนำมาใช้งาน

ทบทวนวัตถุประสงค์ ตรวจสอบว่า เป็นสารที่ได้รับการยกเว้นหรือไม่ หรือได้รับการรับรองแล้ว สิ่งที่ต้องระบุบนฉลาก

 

น้ำที่ใช้

 

จุดที่ใช้งาน

เครื่องผลิตไอน้ำ (boiler) ที่ใช้เครื่องทำให้น้ำบริสุทธิ์ขึ้น

 

วิธีการนำมาใช้ ปริมาณที่ใช้

ใช้สารเคมีที่ได้รับการรับรอง วิธีทำ ปริมาณที่ใช้

 

 

การบำรุงรักษาอาคารและเครื่องมือ

สี สารเคลือบ สารหล่อลื่น

 

 

ก่อนการใช้

 

 

จัดทำข้อกำหนด

ทำเอกสารรับรอง ใช้สารทีได้รับการรับรอง

วิธีการนำมาใช้ ปริมาณที่ใช้ การเก็บที่เหมาะสม

 

 

สุขลักษณะ

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

 

 

ก่อนการใช้

จุดที่ใช้งาน

 

 

 

ใช้สาร วิธี และการนำไปใช้ทีได้รับการรับรอง

วิธีการนำมาใช้ วิธีใช้ที่ระบุบนฉลาก การป้องกันพื้นผิว การทำความสะอาดหลังการใช้

สารทำความสะอาด

(Sanitizers)

 

ก่อนการใช้

จุดที่ใช้งาน

 

ใช้สารและวิธีที่ได้รับการรับรอง

วิธีใช้มีการล้างน้ำเพียงพอ

 

การเก็บและการขนส่ง

การปนเปื้อน

 

 

สถานที่เก็บ

 

 

จัดตามชนิดของวัตถุดิบ สารพิษ เก็บไว้ให้มิดชิดและจำกัดการนำมาไปใช้ ตรวจสอบปริมาณสารเคมีที่มีอยู่อย่างสม่ำเสมอ

 

 

สารเคมีทุกชนิด

 

พาหนะที่ใช้ขนส่ง

 

ตรวจสอบและทำความสะอาดรถก่อนจะนำของมาใส่ ควรแยกการขนส่งอาหารและสารเคมีออกจากกัน

 

ตัวอย่างการควบคุมสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพ จุดควบคุมวิกฤต และการควบคุม

แหล่งอันตราย

CCP

การควบคุม

 

แก้ว

 

หลอดไฟ

หน้าปัดนาฬิกา กระจก

เทอร์โมมิเตอร์ แก้ว

 

ใช้หลอดที่ไม่แตก มีฝาครอบ

ใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติกแทน

วิธีการดำเนินการเมื่อแก้วแตก

วัสดุที่เป็นฉนวน

 

อาคาร ท่อน้ำ และ ท่อไอน้ำ

 

สำรวจ บำรุงรักษา ใช้วัสดุที่เหมาะสม

 

 

ของส่วนบุคคล (เครื่องประดับ ปากกา ฯลฯ )

 

ลูกจ้าง

 

ให้การศึกษา แนะนำ

 

 

ชิ้นส่วนโลหะ สกรู เครื่องร่อน

 

ส่วนผสม

เครื่องจักร

การบำรุงรักษา

ขั้นตอนการผลิต

ผลิตภัณฑ์สุดท้าย

 

 

จัดทำข้อกำหนด ทำเอกสารรับรอง

สำรวจ บำรุงรักษาแบบป้องกัน

การให้ความรู้ การแนะนำ

แม่เหล็ก เครื่องตรวจจับโลหะ

เครื่องตรวจจับโลหะ

 

แมลง

 

ดิน

อาคาร

ส่วนผสม

 

 

กำจัดแหล่ง ทำการฆ่าแมลง

ก่อสร้างให้แน่นหนา

จัดทำข้อกำหนด ทำเอกสารรับรอง

ตรวจสอบและเก็บรักษาอย่างเหมาะสม

 

 

ไม้

 

อาคาร อุปกรณ์

เครื่องใช้

สินค้าที่วางบนแพลเล็ต

 

ตรวจสอบ และบำรุงรักษา

 

ตรวจสอบ ทำความสะอาดก่อนใช้

 

 

เชือก สายรัด ลวด หินในถั่วเมล็ดแห้ง เข็มฉีดยา ลูกปืน ที่รับเข้ามา

 

ส่วนผสมที่บรรจุถุงมา

ระบบล้างเมล็ด

เนื้อสัตว์ เนื้อไก่

 

ตรวจสอบเลือกออกก่อนใช้ ร่อยโดยใช้แม่เหล็กดูด

อุปกรณ์ดักหิน (riffle boards)

เครื่องตรวจดักจับโลหะ

 

 

Online

มี 22 ผู้มาเยือน และ สมาชิกหนึ่งคน ออนไลน์