Login Form

ทำไม การกำหนดความสามารถ(competent/ competence) ถึงจำเป็นกับองค์กร

ทำไม การกำหนดความสามารถ(competent/ competence) ถึงจำเป็นกับองค์กร

  • เพราะข้อกำหนด ISO 9001:2008 ข้อ 6..2.1 และ 6.2.2 ต้องการให้องค์กรต้องกำหนดความสามารถ
  • เพราะองค์กรต้องการพนักงานที่มีความสามารถในการนำพาองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ทีต้องการ
  • เพราะองค์กรต้องบอกพนักงานว่า ต้องการ คาดหวังอะไร จากตัวเขาและผลงานของเขา
  • เพราะพนักงาน
    • ต้องการทราบว่า บริษัทคาดหวังอะไรจากเขา
    • คิดว่าการประเมินผลงานของผู้จัดการของเขา มองประเด็นด้านผลการประเมินไม่เหมือนกัน
    • คิดว่าผู้จัดการของฉัน เข้มงวด จุกจิกในประเด็นที่ไม่เหมือนกับส่วนงานอื่นๆของบริษัท
    • คิดว่า บริษัทมีนโยบาย มีวิสัยทัศน์ แต่ไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับตัวเขาเลย
    • ต้องการทราบว่า ทำอย่างไรถึงจะก้าวหน้าในการทำงานกับบริษัท
    • ไม่ทราบว่าจะพูดคุยกับผู้จัดการของฉันว่าฉันต้องได้รับการปรับปรุงในด้านไหนบ้าง
    • ผู้จัดการฉันประเมินผลงานไม่ยุติธรรม
  • เพราะองค์กร อาจมีปัญหาในเรื่อง
    • ไม่สามารถได้บุคคลที่ต้องการ
    • ไม่สามารถรักษาบุคลากรที่ดี
      • คนที่มีความรู้ (Knowledge) เพียงพอต่อการทำงาน
      • คนที่มีทักษะ (Skills) ในระดับสามารถปฏิบัติงานได้
      • คนที่มีทัศนคติ (Self- image) ที่ดีทั้งต่อตัวเอง ต่องาน และต่อผู้อื่น
      • คนที่มีอุปนิสัย (Trait) ที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
      • คนที่มีแรงจูงใจ (Motive) ในการทำงานที่มากพอและต่อเนื่อง เพื่อให้
        สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้
    • เกิดปัญหาจากผู้จัดการประเมินผลงานอย่างยากลำบาก หรือไม่อยากทำ
    • ทำการอบรมอย่างไร้เป้าหมาย และไม่ได้ส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น
    • ไม่สามารถทำให้พนักงานในองค์กรกระทำตาม ปรัชญา วิสัยทัศน์ ที่ได้ประกาศไว้
    • พนักงานที่ได้รับการปรับตำแหน่งหรือบรรจุ ไม่สามารถทำงานได้ตามที่หวังไว้
    • ไม่สามารถใช้คนให้ถูกกับงาน
    • ทั้งผู้จัดการและพนักงานในระดับต่างๆนั้น เกิดความสับสนในประเด็นว่า
      • มีอะไรที่เขาทำได้ดี
      • อะไรควรเป็นสิ่งที่เขาน่าจะทำได้ดี
      • เขาควรเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมเพื่อสามารถสร้างประโยชน์ให้องค์กรอย่างเต็มที่

อะไรคือความสามารถ(competence)

ความหมายที่ให้จาก ISO 17021

ISO/IEC 17021-2  คำนิยามข้อ 3.13 ระบุว่า : demonstrated personal attributes and ability to apply knowledge and skills ( คุณลักษณะส่วนบุคคล ที่แสดงให้เห็น และ การแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะ

NOTE 1 Personal attributes are to enable application of expected behaviour as defined in ISO 10015.

NOTE 2 Knowledge refers to knowing facts and methods, while skills require carrying those out in practice.

แบบ อื่นๆ

  • สก็อต บี พารี ( Scott B. Parry ) นิยามคำว่า competency คือ กลุ่มของความรู้ (knowledge ) ทักษะ(skills ) และคุณลักษณะ (attributes ) ที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งมีผลกระทบต่องานหลักของตำแหน่งงานหนึ่ง ๆ โดยกลุ่มความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะดังกล่าว สัมพันธ์กับผลงานของตำแหน่งงานนั้น ๆ และสามารถวัดผลเทียบกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นสิ่งที่สามารถเสริมสร้างขึ้นได้ โดยผ่านการฝึกอบรมและการพัฒนา
  • แมคเคิลแลนด์ กล่าวว่า competency คือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดี หรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ
  • แกรีแฮเมลและซีเค.พราฮาราด ( Gary Hamel และ C.K.Prahalad ) ได้เขียนหนังสือชื่อ Competing for The Future ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดที่สำคัญ คือ Core Competencies เป็นความสามารถหลักของธุรกิจ ซึ่งถือว่าในการประกอบธุรกิจนั้นจะต้องมีเนื้อหาสาระหลัก เช่น พื้นฐานความรู้ ทักษะ และความสามารถในการทำงานอะไรได้บ้าง และอยู่ในระดับใด จึงทำงานได้มีประสิทธิผลสูงสุดตรงตามความต้องการขององค์การ
จะเห็นได้ว่า ความสามารถ (compentency)  นั้นเน้นที่ผลของงาน เน้นถึงสิ่งที่บุคคลผู้นั้นแสดงให้เห็น
จะเห็นได้ว่า ความสามารถ (compentency) เน้นที่ผลของงาน ส่งที่สามารถกระทำได้ ไม่ใช่ระดับการศึกษา หัวข้ออบรมที่ได้รับ

ตัวอย่างการระบุความสามารถ competency

พนักงานวางแผนการผลิต

  • สามารถจัดทำตารางการไหลของงาน
  • สามารถจัดทำตารางการศึกษาเวลา และการเคลื่อนไหว
  • สามารถวางแผนผังหน่วยการผลิต
  • สามารถตั้งเป้าหมายสำหรับการผลิต
  • สามารถจัดทำรายงานการผลิต
  • สามารถบริหาร และควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยการผลิต
  • สามารถบริหาร และควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยการผลิตในระบบลำเลียงชิ้นงานอัตโนมัติ

พนักงานผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร

  • ทราบถึงความเสี่ยงในการปนเปื้อนสู่อาหารได้โดยมาจากอันตรายทางสารเคมี ทางกายภาพ และทางจุลชีววิทยา
  • แสดงความเข้าใจสาเหตุของการปนเปื้อนข้ามและการปฏิบัติตามสุขลักษณะที่ดีเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
    สามารถอธิบายความแตกต่างของการปฏิบัติระหว่างพื้นที่มีความเสี่ยงสูงกับความเสี่ยงต่ำ
  • หลีกเลี่ยงวิธีการจัดเตรียมอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ และพื้นที่ที่ไม่จำเป็นในการทำงาน
  • เก็บรักษาบันทึกต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยอาหาร
  • กำจัดสัตว์พาหนะรบกวนให้ออกห่างกระบวนการผลิตอาหารและระบบการกำจัดของเสียที่เหมาะสม
  • มีวิธีการแก้ไขกรณีเมื่อพบว่ามีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยอาหาร
  • สามารถทำงานร่วมกับพนักงานที่มีอำนาจบังคับการทำงานได้
  • ทำการตรวจสอบระบบการส่งมอบผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม

อะไรคือความแตกต่างระหว่าง ความรู้ ทักษะ และ ความสามารถ

ความรู้ (knowledge) : ข้อมูล ข่าวสารที่ได้เรียนรู้ และสามารถจำได้เมื่อต้องการใช้ในการทำงาน

ทักษะ (skill) :การประยุกต์ใช้ความรู้ในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้ผล

ความสามารถ (competence) : การประยุกต์ใช้ทักษะเพื่อสามารถทำงานให้บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนด (specified standard)

สิ่งที่ควรคิด

Competency ของคนซึ่งเกิดได้จาก 3 ทาง คือ

1. เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
2. เกิดจากประสบการณ์การทำงาน
3. เกิดจากการฝึกอบรมและพัฒนา

สิ่งนี้คือประเด็นหลักของข้อกำหนด ISO 9001:2008 ในข้อ 6.2.1 และ 6.2.2 ที่ต้องผสานระหว่าง การกำหนดคุณสมบัติประจำตำแหน่ง ไม่ว่า ต้องจบการศึกษาอะไร ต้องได้รับอบรมอะไรบ้าง ต้องมีประสบการณ์อะไรบ้าง กับ ความสามารถ ผลงาน ที่ ต้องการ คาดหวัง จากตำแหน่งงานนั้นๆ

หมายเหตุ:

ความหมายของคำว่า Competency ในที่นี้ คือความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่ส่งผลต่อการแสดง พฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็น และมีผลทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนได้ตามมาตรฐาน

ข้อกำหนด ISO 9001:2008

6.2.2 ความสามารถ การฝึกอบรมและความตระหนัก (competence, training and awareness)

องค์กรต้อง

  1. กำหนดความสามารถที่จำเป็นสำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่มีผลกระทบต่อ การสอดคล้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์
  2. ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ , ให้การฝึกอบรมบุคลากร หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ บรรลุถึงความสามารถที่จำเป็น
  3. ทำการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการที่ได้กระทำ
  4. ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานขององค์กรมีความตระหนักถึง ความสัมพันธ์และความสำคัญของการปฏิบัติงานของตน และ การปฏิบัติงานของเข้าเหล่านั้นมีผลต่อการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพได้ อย่างไร
  5. เก็บรักษาบันทึกตามความเหมาะสมเกี่ยวกับการศึกษา การฝึกอบรม ทักษะ และ ประสบการณ์ ของบุคลากร ( ดูข้อ 4.2.4)

บทความใกล้เคียง

Online

มี 27 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์