OHSAS 18001 : เทคนิคการตรวจประเมิน ขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยที่เป็นลายลักษณ์อักษร

การมีขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ก็เพื่อให้พนักงานที่ทำงานอยู่ในขั้นตอนการทำงานที่กำหนด สามารถกระทำในลักษณะเดียวกันเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติการณ์ให้น้อยที่สุด ไม่ว่าสำหรับพนักงานใหม่หรือพนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ในงานนั้นๆ ให้สามารถดำเนินงานและตอบสนองต่อเหตุการณ์ในลักษณะที่มีความพร้อม ไม่ปฏิบัติงานในลักษณะที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ โดยมีการพิจารณากำหนดกฏระเบียบและวิธีการทำงานไว้ล่วงหน้า

 

การมีขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญ ที่ให้ผู้บริหารสามารถทำการสื่อสารกับพนักงาน ในลักษณะที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขั้นตอนการดำเนินงาน อาจประกอบด้วย นโยบายในการทำงานและวิธีการที่จะทำงานบรรลุผลได้อย่างปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานจะดำเนินงานและปฏิบัติตามขั้นตอนในลักษณะที่ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และพนักงานจะรู้ว่าองค์กรคาดหวังให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างไร 

เทคนิคในการตรวจประเมิน

A. เอกสาร / บันทึก

  1. มีคู่มือการทำงาน/ขั้นตอนการดำเนินอย่างครอบคลุมครบถ้วนสำหรับทุกกระบวนการที่มีความเสี่ยง หรือไม่
  2. มีคู่มือการทำงาน/ขั้นตอนการทำงาน ที่ให้คำแนะนำในการทำงานอย่างชัดเจนสำหรับ การดำเนินกิจกรรมให้ปลอดภัย หรือไม่?
  3. มีคู่มือการทำงาน/ขั้นตอนการทำงาน อย่างน้อย ในแต่ละขั้นตอนของแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งต่อไปนี้ ( เมื่อเริ่มต้น การดำเนินงานปกติ การดำเนินงานชั่วคราว การปิดระบบเครื่องแบบฉุกเฉิน เงื่อนไขกรณีที่ต้องมีการปิดระบบในกรณีฉุกเฉิน การกำหนดผู้รับผิดชอบและคุณสมบัติให้ทำการปิดระบบแบบฉุกเฉิน การStartups )
  4. มีการกำหนดเกณฑ์ปฏิบัติการ ที่กำหนดสิ่งทีต้องกระทำในกรณีที่เกิดการเบี่ยงเบนไปจากค่ากำหนด ทีต้องการปรับค่าหรือป้องกันการเบี่ยงเบน    
  5. มีการพิจารณาประเด็นด้านความปลอดภัยและอาชีวะอนามัย รวมในขั้นตอนการ ปฏิบัติการหรือไม่ อย่างน้อยควรพิจารณาถึง ( คุณสมบัติและอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ ข้อควรระวังในการป้องกันการสัมผัส รวมถึง การควบคุมทางวิศวกรรม , การควบคุมผ่านบริหารจัดการ และ มาตรการ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มาตรการที่ต้องทำในกรณีที่มีการสัมผัสหรือกระจายสู่อากาศ การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและ การเบิกจ่าย และการควบคุมระดับสินค้าคงคลัง รวมถึงสารเคมีที่เป็นอันตราย หรือสารที่ก่อให้เกิดอันตรายเป็นพิเศษ)
  6. ระบบความปลอดภัยและฟังชันในการทำงาน รวมอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานหรือไม่
  7. คู่มือการทำงาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลด้านความปลอดภัยและความเสี่ยงของกระบวนการ
  8. คู่มือในการทำงาน/ขั้นตอนการดำเนินงาน สามารถเข้าถึงโดยพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องในพื้นที่หรือ กระบวนการ ได้โดยง่ายหรือไม่
  9. คู่มือในการทำงาน/ขั้นตอนการดำเนินงาน ได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติในการดำเนินงานปัจจุบัน มีหลักฐานการอนุมัติทบทวนโดยผู้บริหารว่าเอกสารถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
  10. คู่มือในการทำงาน/ขั้นตอนการดำเนินงาน สะท้อนกับการเปลี่ยนแปลงใดๆที่มีขึ้น ไม่ว่าเป็นเรื่องของ สารเคมี กระบวนการ เทคโนโลยี อุปกรณ์ และ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
  11. มีมาตรการการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยได้รับการจัดทำและนำไปปฏิบัติใช้สำหรับ พนักงานและผู้รับเหมา เพื่อทำการควบคุมอันตรายระหว่างการปฏิบัติงาน เช่น Lockout / Tagout • การควบคุมเข้าพื้นที่จำกัด การเปิดปิดระบบท่อทาง การเข้าพื้นที่เพื่อการบำรุงรักษาโดยผู้รับเหมา เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ หรือ บุคลากรสนับสนุนอื่นๆ

B. การสังเกตกิจกรรม พื้นที่ปฏิบัติงาน

1.ทำการสุ่มกระบวนการเพื่อสังเกตว่า เอกสารระเบียบปฏิบัติ คู่มือการทำงานได้มีการปฏิบัติตาม ผู้ตรวจสอบควรมองหาสำเนาเอกสารคู่มือระเบียบปฏิบัติที่ได้มีการใช้ เช่นในห้องคอนโทรล พื้นที่ทำการผลิต สังเกตุว่าเจ้าหน้าที่พนักงานได้มีการนำเอกสารคู่มือในการทำงานพร้อมในการทำงานและใช้

2.ทำการสุ่มกระบวนการเพื่อสังเกตว่า มีคู่มือในการทำงาน/เอกสารระเบียบปฏิบัติ พร้อมใช้และง่ายต่อการเข้าถึงโดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มองหาว่าคู่มือในการทำงาน / เอกสารระเบียบปฏิบัติได้มีการจัดเก็บอย่างไรในพื้นที่ทำงาน และทำการตรวจทานว่าพนักงานสามารถเข้าถึงพร้อมใช้ได้ตลอดเวลา(24 ชั่วโมง)

3. การสุ่มสังเกตหากเป็นไปได้ ระหว่างปฏิบัติงานนั้นๆว่า คู่มือในการทำงาน/เอกสารระเบียบปฏิบัติที่ใช้ มีความสอดคล้องกับงานที่ปฏิบัติในปัจจุบัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนสารเคมีที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตที่ใช้ เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ อาคารสถานที่ที่เปลี่ยนไป

4. การสุ่มสังเกตกระบวนการว่าการปฏิบัติงานใดๆได้มีการกระทำในสภาวะที่ปลอดภัย ซึ่งอาจประกอบด้วยการควบคุม Lockout / Tagout • การควบคุมเข้าพื้นที่จำกัด การเปิดปิดระบบท่อทาง การเข้าพื้นที่เพื่อการบำรุงรักษาโดยผู้รับเหมา เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ หรือ บุคลากรสนับสนุนอื่นๆ ผู้ตรวจประเมินควรสังเกตพื้นที่ทำงานว่ากิจกรรมต่างได้มีกระทำในภาวการณ์ทำงานที่ปลอดภัย

C. การสัมภาษณ์

1. ให้ทำการสัมภาษณ์กับผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง ว่ามีขั้นตอนการดำเนินการดำเนินการที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ครอบคลุมสำหรับแต่ละกระบวนการหรือไม่

ผู้ตรวจสอบควรพูดคุยกับพนักงานผู้ปฏิบัติงานในเรื่องขั้นตอนในการจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ใครเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการเขียนขั้นตอน ใช้ข้อมูลอะไรที่นำไปใช้พัฒนาขั้นตอนการดำเนินงาน ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบความถูกต้องและความปลอดภัยในการกำหนดงานแต่ละขั้นตอน

2. ให้ทำการสัมภาษณ์กับผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง เพื่อทำการทวนสอบว่าขั้นตอนการดำเนินงานได้ให้คำแนะนำในการทำงานที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินแต่ละกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย? (โดยเฉพาะ ให้เน้นทวนสอบเงื่อนไขที่ต้องมีการปิดระบบ/เครื่องอย่างฉุกเฉิน, ข้อจำกัดในการดำเนินงานของกระบวนการหรือเครื่องจักรอุปกรณ์, สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากการเบี่ยงเบนจากขอบเขตที่กำหนด, ขั้นตอนเพื่อหลีกเลี่ยงการเบี่ยงเบน และข้อควรระวังที่จำเป็นเพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารเคมีอันตราย)

ผู้ตรวจสอบควรพูดคุยกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อพยายามที่จะเข้าใจว่า ได้มีการทำงานอย่างปลอดภัยการดำเนินการดำเนินงานต่างๆ อาจขอให้ผู้ปฏิบัติงานอธิบายการปฏิบัติที่อาจมีผลต่อการปิดระบบฉุกเฉิน และ การปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน

3. ให้ทำการสัมภาษณ์กับผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง ว่าสามารถเข้าถึงขั้นตอนปฏิบัติงานคู่มือการทำงานหรือไม่ ถามผู้ปฏิบัติงานว่า เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานได้มีการจัดเก็บไว้ที่ไหน ผู้ปฏิบัติงานสามารถได้รับการสำเนาเมื่อทำงานนอกสถานที่ได้หรือไม่ หากเข้าถึงสำเนาเอกสารไม่ได้ต้องทำอะไรบ้าง

4. ให้ทำการสัมภาษณ์กับผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง ว่าขั้นตอนปฏิบัติงานคู่มือการทำงานเป็นวิธีการทำงานในปัจจุบันหรือไม่ ผู้ตรวจสอบควรถามให้ผู้ปฏิบัติงานอธิบายกระบวนการในการปรับขั้นตอนปฏิบัติงานคู่มือการทำงานให้ทันสมัย ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการทำให้เอกสารทันสมัยเมื่อมีการเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงาน ใช้เวลานานขนาดไหนในการปรับเปลี่ยนอนุมัติเอกสาร พนักงานจะได้รับการชี้แจงอธิบายเมื่อมีการเปลี่ยนเอกสารขั้นตอนปฏิบัติงานคู่มือการทำงานหรือไม่