Login Form

เทคนิคการตรวจประเมินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ต้องปรับปรุงมากแค่ไหน จึงจะถือว่าพอ ? 

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนั้นเริ่มจาก การกำหนดวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดย ผู้บริหารระดับสูง อย่างน้อย ควร (อย่างน้อย) กล่าวถึง การปรับปรุงประสิทธิภาพภายในองค์กร (เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน) , ความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้าแต่ละราย, และ สมรรถนะในการแข่งขันกับตลาดโดยองค์รวม

เช่น ในส่วนของการบิน, สมรรถนะที่สามารถยอมรับได้ของผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเป็นศูนย์ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ไม่มีประโยชน์ สำหรับองค์กรที่จัดทำวัตถุประสงค์สำหรับการปรับปรุงในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตามจะมีประโยชน์สำหรับองค์กร ที่มีวัตถุประสงค์ในการมุ่งการปรับปรุงประสิทธิภาพภายในและเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขัน

ผู้ตรวจประเมินควรทำการตรวจประเมินว่า องค์กรนั้นได้มีการตั้งเข็มมุ่งขององค์กรในการปรับปรุงโดยผสานการใช้ข้อมูล ประเด็นปัจจัยในส่วนของ วัตถุประสงค์ของบริษัท (ขายได้มากขึ้น ผลกำไรที่สูงขึ้น ต้นทุนที่ลดลง การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น) ความต้องการของลูกค้า ความคาดหวังโดยทั่วไปจากตลาดโดยองค์รวม ดังนั้น ขึ้นอยู่กับองค์กรที่สร้างสมดุลในการปรับปรุงประสิทธิภาพภายใน และ ความจำเป็นที่มาจากภายนอก

ในกรณีเช่นนี้ ในส่วนของการปรับปรุง ผู้ตรวจประเมินจำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องสมรรถนะในการแข่งขันของธุรกิจนั้นๆ ไม่ว่าในเรื่องความสามารถในการส่งมอบ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ การแข่งขันเรื่องต้นทุน lead time ในการผลิต

ผู้ตรวจประเมินต้องทำการประเมินว่าองค์กรนั้น ได้มีการตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงอย่างไร การปรับปรุงนั้นท้าทายแค่ไหน และการปรับปรุงดังกล่าวได้พิจจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆรวมถึงสิ่งที่ต้องการ ปรับปรุงนั้นเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดลูกค้าและข้อมูลย้อนกลับจากลูกค้าอย่างไร

หาหลักฐานการปรับปรุงได้จากที่ไหน


ผู้ตรวจประเมินมีหน้าที่พิสูจน์ทราบ หรือประเมินว่า วัตถุประสงค์ขององค์กรได้มีการกระจายสู่การปฏิบัติงานในกระบวนการที่เกี่ยว ข้องอย่างเหมาะสม รวมทั้งการสื่อสารและการติดตามผล ด้วยเหตุผลนี้ผู้ตรวจประเมินควรมองหาหลักฐานที่ซึ่งองค์กรนั้นได้มีการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการต่างๆ ในองค์กร

ปรับปรุงกระบวนการหรือปรับปรุงระบบ QMS


ผู้ตรวจประเมินไม่ควรคาดหวังว่าองค์กรนั้นสามารถที่จะทำการปรับปรุงทุกๆ กระบวนการอย่างเห็นผลได้ชัด ในการปรับปรุงใดๆจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรไม่ว่าเวลา บุคลากร หรืองบประมาณ ที่ซึ่งจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญจากผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะเมื่อมีเรื่องของผลตอบแทนการลงทุนเกี่ยวข้อง
ผู้ตรวจประเมินควรต้องหาหลักฐานในการยืนยันว่าการปรับปรุงหรือโครงการปรับ ปรุงนั้นๆตอบสนองต่อหรือเกี่ยวข้องกับ ความต้องการลูกค้า การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างไร ที่ซึ่งในกรณีนี้องค์กรควรมีนโยบาย เป้าหมายที่มุ่งสู่การปรับปรุงที่ซึ่งถ้าสิ่งนี้ไม่ชัดเจนอาจก่อให้เกิดความ ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO9001:2000
 

อย่าลืมว่าไม่มีข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO9001 ที่ระบุให้ต้องทำการตั้งเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงทุกๆกระบวนการภายในรอบเวลาหนึ่งๆ
 

ในกรณีที่ซึ่งผู้บริหารระดับสูงได้ตั้งเป้า หมายเพื่อการปรับปรุงอย่างเหมาะสมในแต่ละกระบวนการ แต่พบว่าไม่มีหลักฐานการแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุง ข้อมูลนี้ควรมีการป้อนกลับเข้าสู่การทบทวนของฝ่ายบริหาร เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถทำการตัดสินใจว่าต้องทำสิ่งใดต่อไปจึงเหมาะ สม ตัวอย่างเช่น การปรับวัตถุประสงค์ เป้าหมายใหม่ หรือ หาวิธีอื่นที่ส่งผลต่อการปรับปรุงกระบวนการ

บทความใกล้เคียง

Online

มี 102 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์