SMEs กับ ISO

การประกอบธุรกิจไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อกำหนดแนวทางการเติบโตขอบธุรกิจและสนับ สนุนการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ  ธรรมชาติของธุรกิจขนาดย่อมจะมีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในการดำเนินธุรกิจที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และต้องการการตัดสินใจของผู้บริหารที่เด็ดขาด รวดเร็วทันเหตุการณ์ ซึ่ง ต่างจากองค์กรขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความผันผวนได้เฉพาะหน้าได้เช่น เดียวกับองค์กรขนาดเล็ก การใช้หลักการจัดการต้องมีความแตกต่างกันระหว่างธุรกิจขนาดย่อมกับขนาดใหญ่ สิ่งที่ผู้ตรวจประเมินต้องตระหนักรับทราบคือ "ระบบการจัดการที่เหมาะสมคือระบบการจัดการที่ย่อมาจากระบบใหญ่"

ปัญหาของธุรกิจขนาดเล็ก

  • องค์กรขนาดเล็กมีข้อจำกัดด้านจำนวน บุคลากร และความรู้ความสามารถของบุคลากรที่มีอยู่ องค์กรขนาดเล็กไม่สามารถหาบุคลากรเฉพาะด้านมาดูแลงานด้านการตลาด บัญชี วิจัย บริหารงานบุคคล ได้เทียบเท่ากับองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้คนในองค์กรต้องเป็นบุคคลที่ต้องทำหน้าที่หลายอย่าง
  • ธุรกิจขนาดเล็ก คนน้อย เถ้าแก่อาจใช้เวลากว่าร้อยละ 80 ในการลงมือปฏิบัติ เหลือเวลาในการบริหารจัดการไม่ถึงร้อยละ 20  ประเด็นสำคัญคือเมื่อองค์กรใหญ่ขึ้น เจ้าของกิจการค่อยๆเปลี่ยนสภาพมาเป็นการดูแลมากขึ้น ไม่ว่าการวางแผน ประสานงาน  ที่ซึ่งบางครั้งไม่สามารรถปรับเปลี่ยนบทบาทนี้ได้ ยังคงทำเหมือนเดิม
  • ปัญหาของการจัดการคือ ขาดการวางแผน การกำหนดแผนกลยุทธ์ การวางแผนระยะยาว ไม่มีนโยบายในการทำงานหรือการจัดทำวิธีปฏิบัติงาสน ไม่มีการเตรียมการป้องกันก่อนปัญหาเกิด
  • การจัดการคือการทำให้เกิดความสำเร็จในงานโดยที่ผู้บริหารไม่ได้ลงมือทำงานเอง แต่ใช้วิธีทำงานผ่านคนอื่น ซึ่งเมื่อองค์กรมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น อาจเกิดปัญหาการสั่งงาน การสื่อสาร  การมอบอำนาจในการตัดสินใจ  รวมถึงการสร้างคนให้ทันกับการเติบโตทางธุรกิจ
  • การบริหารจัดการที่สำคัญคือ การควบคุมกิจการ คือการกำหนดเป้าหมายจากแผนที่วางไว้ ตรวจสอบผลการปกิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ระดับการควบคุมขึ้นอยู่กับขนาดธุรกิจ  ซึงเมื่อขนาดองค์กรใหญ่โตขึ้น ระบบการการควบคุมเพื่อเตือนให้ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น

ความได้เปรียบขององค์กรขนาดเล็ก

SMEs มีต้นทุนที่สูงกว่าองค์กรขนาดใหญ่ ไม่ว่าต้นทุนการเข้าถึงความรู้ เทคโนโลยี ต้นทุนวัตถุดิบ ขนาดผลิตน้อย ทำให้ไม่สามารถประหยัดจากขนาดการผลิต จึงต้องอาศัยความได้เปรียบในด้านอื่นๆไม่ว่า การตอบสนองต่อตลาดได้รวดเร็ว เน้นตลาดเฉพาะ การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและบริหารที่รวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายน้อยในการปรับตัว

ไม่ถูกกว่า ก็ต้องแตกต่าง

sme เป็นการตัดเสื้อพอดีตัว ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี ไม่ว่าผู้ผลิตขนาดเล็กหรือใหญ่สามารถทำการเข้าถึง ทราบความต้องการลูกค้าได้โดยตรงและรวดเร็ว แต่องค์กรขนาดเล็กมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการปรับตัวมากกว่า  เนื่องจากการที่ SMEs ใช้ทุนต่ำ มีแรงงานไม่มากที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ผู้ชำนาญทั่วไป ทำให้สามารถทำงานได้หลากหลาย  มากกว่านั้นธุรกิจขนาดเล็ก ใช้เทคโนโลยีในการผลิตอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน มีราคาไม่สูง ทำให้ปรับเปลี่ยนเร็ว ปรับปรุงง่าย ธุรกิจขนาดเล็กใช้ ทุนในการปรับตัวไม่สูง โครงสร้างการบริหารที่ไม่ซับซ้อน ทำให้ตัดสินใจได้รวดเร็ว ไม่ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย จึงตัดสินใจได้เร็ว ซึ่งต่างจากองค์กรใหญ่ๆ ที่ต้องคิดมาก ต้องผ่านขัั้นตอนมากมาย เพราะหากตัดสินใจผิดพลาดหมายถึงความเสียหายธุรกิจจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงการผลิตใช้เวลานานเนื่องจากโครงสร้างใหญ่ ไม่ว่า เครื่องจักร ระบบผลิต เทคโนโลยีการผลิต การฝึกอบรมบุคลากร ขนาดเทอะทะทำให้องค์กรขนาดใหญ่ปรับตัวได้ช้า

 ดังนั้นธุรกิจขนาดเล็กจึงสามารถปรับตัวได้ อย่างเร็ว เพื่อแย่งชิงตลาดได้ล่วงหน้า รวดเร็วกว่าธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ และสามารถสร้างผลกำไรก่อนที่ธุรกิจขนาดใหญ่จะปรับตัวแข่งขันได้ และด้วยความคล่องตัวนี้ ธุรกิจขนาดย่อมยังสามารถปรับหาตลาดใหม่ๆได้เรื่อยๆ

ธุรกิจขนาดเล็กจึงต้องหาช่องทางตลาดที่ไม่ใหญ่ มาก (nich market) ที่ความต้องการตลาดมีขนาดเล็ก ที่ซึ่งองค์กรขนาดใหญ่จะไม่เข้ามาแข่งขันด้วย เนื่องจากการผลิตจำนวนมากไม่สามารถทำให้คุ้มทุน

เมื่อธุรกิจขนาดเล็กทำ ISO  ไม่ว่าอย่างไรจะต้องรักษาจุดแข็งของการเป็นองค์กรขนาดเล็กไว้ เพื่อธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขัน และขณะเดียวกันต้องมีระบบที่ช่วยลดจุดอ่อนของการเป็นองค์กรขนาดเล็ก ที่ซึ่งระบบการจัดการที่ลอกแบบมาจากธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อองค์กรขนาดเล็ก

หากท่านเป็นผู้ตรวจประเมิน ขอฝาก SMEs  ไว้ในอ้อมอก อ้อมใจด้วยนะครับ อย่าไปรังแก SMEs เลย ปัญหาเขาเยอะแล้ว !!

END