3 ขั้นตอนในการจัดทำ Food Security Plan

การจัดทำ Food Security Plan มีความแตกต่างจากระเบียบปฏิบัติทั่วๆไป ขั้นตอนในการจัดทำ มีอยู่ 3 ขั้นตอนง่ายๆดังนี้..

ขั้นตอนที่ 1 – Food Security Assessment


ควรมีการกำหนด มอบหมายหน้าที่ อย่างชัดเจนว่าใครบ้างที่รับผิดชอบในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยในอาหาร ขององค์กร คุณสามารถการมอบหมายงานนี้เป็นเพียงบุคคล คนเดียวหรือทีมงานที่ประกอบด้วยตัวแทนหลากหลาย
คุณสามารถใช้วิธีการต่างๆในการวิเคราะห์ เนื่องจากเป้าหมายคือการค้นหาช่องโหว่ หรือภัยคุกคามที่มีนัยยะ ดังนั้นไม่ว่าเครื่องมือหรือวิธีการใดๆก็สามารถใช้ได้ตราบใดที่หาช่องโหว่ใน องค์กร เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันได้อย่างเหมาะสม
เอกสารการประเมินนี้ถือได้ว่าเป็นเอกสารสำคัญท่านอาจจำเป็นต้องเก็บเป็นความลับ เพราะว่าตัวเอกสารนี้อาจเป็นช่องโหว่เสียเอง

ขั้นตอนที่ 2 – จัดทำ Food Security Plan


การจัดทำแผนรักษาความปลอดภัยในอาหาร ต้องมุ่งเน้นเพื่อชี้บ่งมาตรการป้องกันในการลดความเสี่ยงในแต่ละภัยคุกคาม ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ความเสี่ยง Food Security Assessment ในการจัดทำ Food Security Plan นี้ ควรมีการกำหนดให้ครอบคลุมทุกประเด็นปัจจัยในองค์กร

ขั้นตอนที่ 3 – นำแผนไปปฏิบัติ

 

เมื่อมีการจัดทำ Food Security Plan เสร็จ เราควรที่จะทำการทดสอบและทดลองนำไปปฏิบัติ ในการดำเนินไปปฏิบัติรวมถึง การมอบหมายความรับผิดชอบ ให้การฝึกอบรม ทำการฝึก drill จัดทำรายการชื่อผู้ติดต่อ และ recall plan

การกำหนดผู้รับผิดชอบ : การกำหนดผู้รับผิดชอบรักษาความปลอดภัย ควรจะกำหนดเป็นแบบลายลักษณ์อักษร คุณควรมอบหมายงานโดยรวม สำหรับการรักษาความปลอดภัยอาหาร ให้กับพนักงานคนหนึ่ง ที่มีความเข้าใจในความจำเป็นข้อกำหนดของมาตรการการรักษาความปลอดภัยในองค์กร

อบรมบุคลากรในข้อกำหนดของแผนรักษาความปลอดภัย : ทำการอบรมให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับแผนทั้งหมด วัตถุประสงค์หลักของการฝึกอบรม คือให้พนักงานเกิด ความตระหนัก ในความรับผิดชอบของตนต่อระบบรักษาความปลอดภัยอาหาร
หัวข้ออบรมควรรวมถึง การติดบัตรและวิธีการควบคุมการเข้าถึงการเข้าถึงพื้นที่ควบคุมต่างๆ มาตรการป้องกันเฉพาะและวิธีการรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัย ความเข้าใจในภัยคุกคามต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนโดยเจตนา รวมถึงเหตุผลในมาตรการป้องกัน จะทำให้พนักงานให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการและเพิ่มประสิทธิผลโดย รวมของแผน.

ทำการฝึกและปรับปรุงแผน : การฝึกเป็นประจำจะเป็นการทดสอบและทวนสอบประสิทธิผลของแผน และก่อให้เกิดการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนแผนและนโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในการปรับ ปรุงให้ทันสมัย รวมถึงบางครั้งเราจำเป็นต้องปรับแผนให้เข้ากับภาวการณ์เปลี่ยนแปลง

จัดทำรายชื่อติดต่อ : รายชื่อ หน่วยงานรัฐบาล ตำรวจ รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการระบุไว้ในแผน รายการนี้ควรจะปรับปรุงเป็นประจำ รวมถึงวิธีการแจ้งควรระบุรายละเอียดไว้ในแผน.

จัดทำแผนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ : รายละเอียดในแผนเรียกคืนผลิตภัณฑ์ ควรมีการระบุรายละเอียดวิธีการในการเรียกคืนไว้ว่าจากร้านค้าหรือผู้บริโภค การจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่เรา


Share