การออกแบบและพัฒนา ISO9001:2008

 

อะไรคือการออกแบบและพัฒนาตามความหมายของ ISO9001:2008

ข้อกำหนดได้ให้คำนิยามว่า เป็นการเปลี่ยนข้อกำหนด เป็น คุณลักษณะเฉพาะ / สเป็ค แปลว่าหากเราเป็นผู้กำหนดลักษณะเฉพาะหรือ สเป็ค แปลว่าเรามีออกแบบ

 

 

ทำไมการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดจึงประสบความล้มเหลว

ก่อนที่เราจะเข้าใจว่า กระบวนการการออกแบบที่ดีเป็นอย่างไร เราควรพิจารณาถึงสาเหตุของความล้มเหลวของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด สาเหตุอาจมีหลายหลายประการ เช่น

• การที่ผู้บริหารพยายามผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดตามความคิดของตนเอง โดยไม่สนใจข้อมูลจากการวิจัยตลาด

• การคาดการณ์ขนาดของตลาดสูงเกินไป

• ผลิตภัณฑ์ได้รับการออกแบบไม่ดีนัก

• การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้อง ไม่โฆษณาเพียงพอ หรือตั้งราคาผิดพลาด

• ต้นทุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สูงกว่าที่ประมาณการไว้

• คู่แข่งตอบโต้กลับอย่างรุนแรงกว่าที่คาดคิด

สรุป : คุณจะเห็นได้ว่า การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความสำคัญมากต่อความเป็นความตายขององค์กร และมีความสัมพันธ์กับกระบวนการอื่นๆขององค์กรอีกมากมาย การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ใช้ทั้งเวลา งบประมาณ หากออกแบบและผลิตแล้ว ขายไม่ได้ ใช้ไม่ดี มีปัญหา อาจสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อบริษัท ..

 

 

กระบวนการในการออกแบบในแต่ละองค์กรมีความคล้ายหรือเหมือนกันหรือไม่


เราทราบกันดีว่า มาตรฐาน ISO9001 สามารถประยุกต์ใช้กับหลายหลายประเภทธุรกิจ การประยุกต์ใช้ข้อกำหนด ISO9001:2008 ข้อ 7.3 ต้องเหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ


ดังนั้นก่อนจะถามว่ารูปแบบหรือระบบการออกแบบในมุมมอง ISO9001:2008 มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร คุณควรทราบว่า ประเภทการออกแบบมีอะไรบ้าง เมื่อคุณทราบว่าประเภทของการออกแบบมีมากมายหลายประเภท คงไม่สงสัยว่า ทำไมรูปแบบกระบวนการในการออกแบบในแต่ละองค์กรจึงมีความหลากหลาย
 

ประเภทของการออกแบบโดยทั่วๆไปมีดังนี้
 

1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่ สถาปัตยกรรมทั่วไป สถาปัตยกรรมโครงสร้าง สถาปัตยกรรมภายในงานออกแบบภูมิทัศน์ งานออกแบบผังเมือง
 

2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่ งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ งานออกแบบครุภัณฑ์ งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์ งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี งานออกแบบเครื่องแต่งกาย งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ
 

3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่ งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า งานออกแบบเครื่องยนต์ งานออกแบบเครื่องจักรกล งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ
 

4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่ งานตกแต่งภายใน (Interior Design) งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design) งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design) งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display) การจัดนิทรรศการ (Exhibition) การจัดบอร์ด การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ
 

5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design)
เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ฯลฯ 

คุณจะเห็นได้ว่า ในแต่ละรูปแบบของการออกแบบ มีความต้องการ มีหัวใจของงานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นแทบมีความเป็นไปไม่ได้ที่จะมีกระบวนการออกแบบที่เหมือนๆกันในแต่ละ รูปแบบธุรกิจ

 

 

ขั้นตอนการออกแบบมีอะไรบ้าง

1. Idea Generation : ทำการค้นหาความคิดต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ และมองหาลู่ทางที่จะขายผลิตภัณฑ์นั้น ซึ่งแหล่งที่มาของแนวความคิด อาจมาจาก ลูกค้า, (ความต้องการ ความไม่พอใจในผลิตภัณฑ์เดิม) , คู่แข่งขัน, คนกลาง (ผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่ง), ผู้บริหาร, พนักงานขาย, พนักงานในบริษัท, ข้อมุลวิจัย เผยแพร่จากส่วนราชการ, มหาวิทยาลัย ฯลฯ


2. Idea Screening :พิจารณาเลือกความคิดที่เหมาะสมที่สุด โดย การประเมินโอกาสทางการตลาด (Evaluating Opportunities) ทำการ พิจารณาตลาดเป้าหมาย ขนาดของตลาด ยอดขาย การแข่งขัน รายได้ ต้นทุน กำไร ทำการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น แง่กฎหมาย ,ฐานะทางการเงินที่ต้องใช้ในการลงทุนใหม่, กระบวนการผลิต, แหล่งวัตถุดิบ ฯลฯ โดยพิจารณาประกอบกับเป้าหมายของกิจการ ความสามารถ และทรัพยากรที่มีขององค์กร


3. Concept Development and Testing : การพัฒนาแนวความคิด (Concept Development) โดยการสร้างความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ทำการระบุว่าใครเป็นผู้ใช้ ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าอะไร ใช้ในโอกาสใด และกำหนดตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) ทำการทดสอบแนวความคิด (Concept Testing) โดยนำนำความคิดที่ได้พัฒนาไว้ ไปทดสอบกับผู้บริโภค ในประเด็น ความความเข้าใจ ลูกค้าเล็งเห็นประโยชน์หรือไม่ ลูกค้าคิดจะใช้หรือไม่

4. Marketing Strategy Development : กำหนด (เลือก) ตลาดเป้าหมาย ขนาดของตลาด (Market Size) โครงสร้างของตลาด (Customer Profile) การวางตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) กำหนดส่วนประสมทางการตลาด (4 P’s) พยากรณ์ยอดขาย กำหนดเป้าหมายกำไร ส่วนครองตลาดและกำหนดงบประมาณที่ต้องใช้ระยะสั้น (ปีแรกของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่)ระยะยาว

5. Business Analysis : ประมาณการยอดขาย ต้นทุน กำไร พิจารณาภารกิจหลัก นโยบาย วัตถุประสงค์ของกิจการ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไร Financial Analyses (Break-even Analysis, Net Present Value, Return on Investment, etc.)

6. Product Development : ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เป็นการแปรรูปแนวคิดของผลิตภัณฑ์มาเป็นสินค้าที่พร้อมที่จะนำไปทดสอบตลาด โดยจะเริ่มผลิต ผลิตภัณฑ์ต้นแบบขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาเพียงวัน สัปดาห์ เดือน ปี หรือหลาย ๆ ปีก็ได้ มีการเปลี่ยนจากแนวความคิด (Concept) ที่เป็นคำบรรยาย ภาพวาด แบบจำลอง ให้เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนจริง (Prototype) ทำการพิจารณาความเป็นไปได้ในเชิงเทคนิคและเชิงการค้า รวมถึงการทดสอบคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ (Product Attributes) ได้แก่ สี ขนาด น้ำหนัก รูปร่าง ประสิทธิภาพในการทำงาน ความปลอดภัยในการใช้งาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยเฉพาะปัจจัยด้านจิตวิทยา ความรับรู้ ความรุ้สึกต่างๆ

7. Test Marketing : จัดทำแผนการทดสอบตลาด โดยเหมือนแผนการตลาดจริง แต่จำกัดขอบเขตให้แคบลง ทดลองนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดที่กำหนดไว้สำหรับทดสอบ โดยพิจารณาถึง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายจริง สภาพการแข่งขันและอิทธิพลของคู่แข่ง ระยะเวลาที่ทดสอบตลาด หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบตลาดมาใช้ปรับแผนการตลาด ก่อนการนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในตลาดจริง


8. Commercialization : ตัดสินใจ เมื่อไร? (เวลาที่จะเริ่มนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด) ที่ไหน? (สถานที่ทางภูมิศาสตร์ : ตลาดระดับท้องถิ่น ตลาดระดับประเทศ หรือตลาดระหว่างประเทศ รวมทั้งแผนการขยายตลาด) ให้ใคร? (พิจารณากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อกำหนดส่วนประสมการตลาดด้านราคา ช่องทาง และการส่งเสริม โดยเน้นกลุ่มนำสมัย ผู้ที่ใช้บ่อย และผู้นำทางความคิด) อย่างไร? (กลยุทธ์ทางการตลาดและงบประมาณ)

จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนการนำผลิตภัณฑ์สู่ท้องตลาดมีความสัมพันธ์กับ ข้อกำหนดISO9001 ข้ออื่นๆ ด้วยเช่น ความพึงพอใจลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูล การทบทวนฝ่ายบริหาร  กระบวนการตลาด กระบวนการขาย กระบวนการกระจายสินค้า เป็นต้น

design flow

ในแง่ product design มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการแข่งขันอย่างไร

การออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพในมุมมองลูกต้า คือการสร้างความแตกต่างทางด้านผลิตภัณฑ์ (Competitive product differentiation) ไม่ว่า

• รูปลักษณะ (Features)
• คุณภาพการทำงาน (Performance quality)
• คุณภาพในมาตรฐานการผลิต (Conformance quality)
• ความทนทาน (Durability)
• ความไว้ใจได้ (Reliability)
• ความสามารถซ่อมแซมได้ (Repair ability)
• รูปแบบ (Style)

 การออกแบบคือการสร้างความแตกต่างให้กับผลิต ถัณฑ์ที่ผลิตเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น รูปแบบการออกแบบจึงขึ้นอยู่กับความต้องการลูกค้า หากท่านออกแบบผลิตภัณฑ์และนำเข้าสู่ท้องตลาดโดยตรง ภายใต้ brandname ของท่านหรือเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า แต่ละราย เป็นรูปแบบการผลิตแบบ mass production หรือ made to order

Share