เทคนิคการตรวจสอบความปลอดภัยในอาหาร - โรงงานและบริเวณโดยรอบ

โรงงานและบริเวณรอบโรงงาน

1. สภาพแวดล้อม
ให้ทำการสังเกตลักษณะทั่วไปของพื้นที่อยู่ใกล้เคียงโรงงาน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเช่น ที่ตั้งอยู่ใกล้กับหนองน้ำ, แม่น้ำ, ท่าเรือ, แหล่งขยะ อาจเป็นแหล่งก่อเกิดปัญหาของสัตว์กัดแทะ, นก, แมลง, หรือ ปัญหาทางด้านสุขลักษณะอื่นๆ

2. การก่อสร้าง, การออกแบบ และการบำรุงรักษาโรงงาน
ตรวจสอบว่าขนาดและรูปแบบอาคาร มีความเหมาะสม, สะดวกต่อการบำรุงรักษาและการปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะให้ตรวจสอบตำแหน่งการติด ตั้งของเครื่องจักรอุปกรณ์, สถานที่จัดเก็บวัตถุดิบ, ระบบการส่องสว่าง, การระบายอากาศ และตำแหน่งของผนังและมุ้งลวด ในประเด็นการลดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์จากแบคทีเรีย, นก, พยาธิ เป็นต้น
ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของสิ่งปลูกสร้างหรือสภาพอื่นๆ เช่น การเสียหายที่ขอบหน้าต่าง, รอยแตกที่พื้น การตกร่องของประตู เป็นต้น ซึ่งความสมบูรณ์นี้อาจจะเป็นช่องทางหรือเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ได้
ตรวจสอบว่ามีการกำหนดผู้รับผิดขอบในการบำรุงรักษาอาคารและพื้นที่โดยรอบที่ ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกบางประเภท เช่น ท่าเรือ หรือพื้นที่อื่นของบริษัทที่ดูแลโดยบริษัทอื่น โดยเทศบาล หรือในกรณีเป็นพื้นที่ให้เช่าเพื่อทำการผลิต ให้ทำการตรวจสอบว่ามีกำหนดผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ในการซ่อมแซม ทำการบำรุงรักษาต่างๆเพื่อป้องกันการปนเปื้อน การป้องกันสัตว์พาหะ เป็นต้น ให้ทำการเน้นตรวจสอบทัศนคติของสถานประกอบการในการบำรุงรักษาและการทำความ สะอาด
ตรวจสอบความสะอาดของอุปกรณ์ประจำห้องน้ำ, ตรวจสอบว่ามี กระดาษชำระ, สบู่, ผ้าเช็ดมือ อย่างเพียงพอ , มีป้ายบอกตอกย้ำวิธีในการล้างมือ ให้พิจารณาสถานที่ตั้งห้องน้ำว่าง่ายต่อการตรวจตราดูแลโดยหัวหน้างานหรือไม่

3 การกำจัดขยะ
การกำจัดขยะ มูลฝอย สามารถก่อให้เกิดปัญหาในโรงงานผลิตอาหารได้ ขึ้นกับสถานที่ตั้งและการอำนวยความสะดวกที่เทศบาลจัดเตรียมไว้
ให้ทำการตรวจสอบประสิทธิผลการกำจัดขยะของสถานที่ผลิตอาหาร และทำการตรวจสอบให้มั่นใจได้ว่าไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนใน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ให้ตรวจสอบการปนเปื้อนที่เป็นไปได้กับอุปกรณ์ และ/หรือผลิตภัณฑ์ หากมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียง เช่น แม่น้ำ ลำธาร, น้ำพุ, ทะเลสาบ หรือน้ำบาดาล และมีข้อสงสัยว่ามีการปล่อยน้ำเสียใกล้กับแหล่งน้ำใช้ ให้ทำการตรวจสอบการไหลของน้ำเสียดังกล่าว
ตรวจสอบวิธีการเก็บขยะมูลฝอยหรือการชะล้างต่างๆที่ใช้กำจัดขยะจากพื้นที่ ปฏิบัติงาน ในกรณีที่พบว่ามีการใช้น้ำให้ตรวจสอบว่าหากเป็นน้ำที่นำกลับมาใช้จะมีโอกาส ทำให้ปนเปื้อนวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ได้หรือไม่ รวมทั้งโอการการปนเปื้อนจากการกระเด็น ตรวจสอบว่าจะไม่มีการนำของเสียจากโรงงานมาทำเป็นอาหารของมนุษย์ได้ เช่น ถั่วที่มีกลิ่นหืน, น้ำจากมะเขือเทศที่เสีย และ ให้ตรวจสอบการจัดการของเศษอาหาร ขยะมูลฝอยที่มียาฆ่าแมลงตกค้าง หรือสารเคมีที่ซึ่งอาจปนเปื้อนสู่อาหารสัตว์ได้

4 ไอน้ำ
ถ้ามีการใช้ไอน้ำ ให้ทำการตรวจสอบกำลังการผลิตของไอน้ำกับความต้องการใช้ไอน้ำ หากความต้องการใช้มากกำลังการผลิต จะส่งผลต่อกระบวนการผลิตและเกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในอาหารได้ หากมีการใช้ไอน้ำสัมผัสโดยตรงกับอาหาร ต้องทำตรวจสอบสารปรับคุณภาพที่เติมในเครื่องกำเนิดไอน้ำ ตรวจสอบระบบทำความเย็นเพื่อประสิทธิภาพในการกำจัดความชื้น (หยดน้ำ) และน้ำมัน ให้ตรวจสอบจุดอ่อนในระบบที่อาจมีการสะสมของหยดน้ำซึ่งก่อให้เกิดตะกอนปน เปื้อน หรือก่อให้เกิดการปนเปื้อนทางเชื้อจุลินทรีย์ได้