Login Form

On Job Training

การอบรมแบบที่เรียกว่า OJT เป็นวิธีการอบรมที่สำคัญมากๆสำหรับบริษัท และสำคัญมากๆในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO9001

การอบรมแบบ OJT มีกี่แบบ

การอบรมแบบ OJT แบ่งแยกได้เพียงสองแบบคือ 

1. อบรม OJT แบบมีแบบแผน (Planned OJT) หรือมีโครงสร้าง (Structured OJT) หรือ เป็นทางการ (Formal OJT) มีลักษณะดังนี้

  • กำหนดผู้รับผิดชอบให้ใครทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอน
  • ผู้ฝึกสอนจะต้องประเมินหรือถูกฝึกอบรมให้มีความพร้อมในการสอนงานก่อน
  • มีการวางแผนการสอนงาน ทั้งเนื้อหา ขั้นตอน แผนงานและการประเมินผล
  • ลำดับขั้นตอนตามแผนการสอน และระบุขั้นตอนสำคัญที่ต้องย้ำเน้น
  • มีการประเมินผลด้วยหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และจัดเก็บเป็นบันทึก
  • รูปแบบ เนื้อหา วิธีการปฏิบัติและบันทึกที่ใช้ในการสอนงานถูกจัดเก็บและทบทวนตามความเหมาะสม

2. อบรม OJT แบบไม่มี่การวางแผน (Unplanned OJT) หรือไม่มีโครงสร้าง (Unstructured OJT) หรือ ไม่เป็นทางการ (Informal OJT) มีลักษณะดังนี้

  • โดยมากจะไม่มีการกำหนดให้ใครทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนชัดเจน ใครว่างก็สอน เป็นต้น
  • ผู้ฝึกสอนมักจะคัดเลือกจากพนักงานเก่าที่มีประสบการณ์และทำงานมานาน
  • ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า และไม่มีบันทึกของผลการประเมินฝึกอบรมที่ชัดเจน
  • เนื่องจากไม่ได้วางแผนการสอน จึงมักไม่เรียงลำดับขั้นตอนการสอน
  • ใช้ประสบการณ์และให้ลองทำดู ตัดสินใจบนพื้นฐานของความรู้สึกของผู้ฝึกสอน
  • โดยมาก การทบทวนรูปแบบ เนื้อหา วิธีการปฏิบัติงานของการสอนงานจะดำเนินการตามความรู้สึก หรือความสามารถของผู้ฝึกสอนที่ไม่ซ้ำกัน

อบรม OJT แบบไหนดี

ไม่น่าถาม

การทำอะไรตามยถากรรมกับ การทำแบบมีแบบแผนย่อมมีผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน

อะไรที่ทำแบบตามยถากรรม มักตรงข้ามกับสิ่งที่เรียกว่าบริหารจัดการ

การทำ OJT ของทุกๆองค์กรที่ทำมักเป็นลักษณะที่ไม่เป็นทางการ เช่น หัวหน้างานสอนงานลูกน้องในหน่วยงานของตนเอง, การถ่ายทอดงานระหว่างเพื่อนร่วมกัน, แบบครูพักลักจำ หน่วยงานไหนได้หัวหน้างานดีก็ดี หัวหน้างานนั้นลาออกบริษัทก็แย่ไป

 

เมื่อไรเราจึงจะต้องทำ OJT

  • เมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาเริ่มทำงานร่วมกับองค์กร
  • เมื่อมีพนักงานเก่าถูกปรับย้ายไปสู่ตำแหน่งใหม่
  • เมื่อเป้าหมายสมรรถนะต่างๆที่กำหนด ไม่บรรลุ
  • เมื่อพนักงานขาดความรู้ / ทักษะ / ความสามารถในตำแหน่งงานเดิม
  • เมื่อลักษณะงานหรือความรับผิดชอบในงาน เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
  • เมื่อองค์กรต้องการเก่งขึ้น ดีขึ้น ต้นทุนลดลง(ก็เลยต้องทำให้คนในองค์กรเก่งขึ้น ดีขึ้น คนสามารถทำงานได้เร็วขึ้น ทำได้หลายๆอย่าง ทดแทนสับเปลี่ยนกันได้)
  • เมื่อเทคโนโลยีของงานที่รับผิดชอบถูกปรับเปลี่ยนให้แตกต่างไปจากเดิม เช่น มีเครื่องจักรใหม่, เทคนิคใหม่ ฯลฯ



 

Online

มี 15 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์