Login Form

การสอนงาน

บริษัทจะเก่งเท่ากับระดับความสามารถของคนในองค์กรนั้นๆ เราต้องใช้การสอนงานเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโต พัฒนา และปรับปรุง องค์กร การจะเปลี่ยนบริษัท ให้สามารถรับมือกับการแข่งขันได้ทุกรูปแบบได้ ต้องมีพนักงานที่มี ความรู้ และทักษะ อย่างเหมาะสม ในการสอนงานจึง ต้องระลึกไว้เสมอ ว่าคุณสอนงานให้ เกิด ความสำเร็จ ความก้าวหน้า ความเข้าใจในงานอย่างลึกซึ้งต่อความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ก่อให้เกิดอำนาจในการตัดสินใจ เกิดการกระจายอำนาจ เพิ่มความสามารถให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาต่อไปได้

การสอนงาน จริงๆแล้ว ไม่ใช่มีแต่การสอนในห้องเรียน จริงๆแล้วมีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย เช่น

  • การสอน แบบให้กำลังใจ : ไม่ใช่ปลอบใจ แต่เป็นการช่วยให้เขาปรับตัว ช่วยให้เขาก้าวหน้า
  • การสอนแบบ หว่านล้อม ชักจูง : เขารู้อยู่แล้ว คนๆนั้นมีความสามารถทำงานสูงแต่ขาดแรงจูงใจ หรือเต็มใจ
  • การให้ความกระจ่าง :เป็นการ Feed back รายบุคคล เพื่อให้เกิดความปรับปรุงผลการทำงานที่คาดหวัง และมีพฤติกรรมที่อยากเห็น

การอบรมเป็นเรื่องของ Life time learning มากกว่าการให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมในห้องแอร์

องค์กรต้องกระตุ้นให้พนักงานมีความหิวกระหายที่ อยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยากเปลี่ยนแปลงไปหาสิ่งที่ดีกว่าทุกวัน ไม่รอให้ใครมาป้อนความรู้ใส่ปากในห้องฝึกอบรม เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาอย่างแท้จริงในการทำให้พนักงานอยากเรียนรู้ สิ่งใหม่ ทดลองสิ่งใหม่ๆ กล้าทำผิด

การปรับปรุงหน้างาน เป็นเรื่องของการเรียนรู้ ไม่ใช่ทำตัวเป็นแบบนกเอี้ยงรอให้คนมาป้อนอาหาร ดังนั้นเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาในการทำให้เกิดการปรับปรุงในกิจกรรม หน่วยงานนั้นๆ เพื่อให้พนักงานสามารถ ตั้งคำถาม สังเกต ทดลอง รอผล และสรุปเรียนรู้

การสอนงานแนะนำงานที่ชัดเจนคือ บอกเป็นข้อๆเลยว่า ข้อที่หนึ่งต้องทำอย่างไร ข้อที่สองต้องทำอย่างไร นอกจากนี้ให้มีการอธิบายถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการ พร้อมทั้งอธิบายถึงขอบเขตในการทำงาน และอำนาจในการตัดสินใจ การสอนงานแบบนี้เป็นการสร้างความสบายใจให้กับพนักงาน มีความมั่นใจในสิ่งที่ทำและสนุกกับการทำงาน

ความรู้แบบไหนเรียกว่าดี

ความรู้ที่ดี ต้องมาจากการ กระทำไม่ใช่ตัวอักษรที่ปรากฏในตำรา ความรู้ที่มาจากการทำงานจริง การนำความรู้ไปปฏิบัติ ก่อให้เกิดทักษะ เมื่อได้ทีการทดลองปฏิบัติไปซักระยะ ในเรื่องของระดับการเรียนรู้ทักษะการทำงาน ทักษะในการทำงานไม่สามารถใช่คำตอบแบบว่า ใช่ไม่ใช่ มีไม่มี แต่ระดับของทักษะจะมีความต่อเนื่อง หากเราจะแบ่งระดับทักษะ เราจะแบ่งได้อย่างไรบ้าง

ระดับของทักษะ

1. ไม่รู้อะไรเลย ถามก็ไม่เข้าใจ ให้ทำก็ทำไม่เป็น เรียกว่าอยู่ในระดับที่ต้องจับมือทำ
2. รู้และเข้าใจแต่ทำไม่เป็น พวกนี้รู้จากตำรา เข้าใจเนื้อหา รู้เรื่องตามทฤษฎี แต่ทำเองไม่เป็น ลงมือทำก็ทำไม่ได้
3. ทำเป็น ทำเองได้ ไม่ต้องให้ใครสอน เมื่อได้รับคำสั่งก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ แต่อาจจะไม่รู้ทฤษฎี และไม่เข้าใจถึงหลักการดีพอที่จะสอนให้ใครก็ทำได้
4. ทำได้และสอนเป็น อันนี้เป็นทักษะในระดับที่รู้ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง และสอนผู้อื่นได้อีก

ระดับทักษะที่ถือว่าดี

ระดับทักษะที่ถือว่าดีคือต้องเป็นทักษะที่สามารถเอาไปสอนผู้อื่นได้ คนที่สอนผู้อื่นได้จะต้องเป็นคนที่เรียกได้ว่ามีรอบรู้ในสิ่งที่ตัวเองสอน สามารถตอบคำถามต่างๆได้ ถ้าจะให้คนในองค์กรท่านมีความสามารถ ทักษะดี ก็ต้องฝึกจนถึงระดับที่เขาสามารถเป็นผู้สอนให้ได้

การสอนงานต้องเริ่มจากการเรียนทฤษฎี แล้วค่อยๆปฏิบัติ ไปเรื่อยๆจนคล่อง แล้วค่อยขยับไปขั้นตอนต่อไปที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอน ผู้ฝึกต้องคอยตรวจงานและบอกวิธีการรวมถึงคำตอบที่ถูกต้อง

 

ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ISO9001:2008 , 6.2.2

end

Online

มี 136 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์