Checklist สำหรับเตรียมความพร้อมด้านเอกสาร ISO22000

      
                                                                                                                            เพื่อให้ท่านที่กำลังสนใจ ที่กำลังจะขอการรับรอง หรือ internal auditor ของ มาตราฐาน ISO22000:2005 : Food safety Management System ประเมิน ตรวจสอบ องค์กรท่านว่าพร้อมหรือยัง หรือต้องทำอะไรเพิ่ม หากต้องขอการรับรองมาตรฐานนี้ ?

ลองใช้ checklist ด้านล่าง ตรวจสอบองค์กรท่านเบื้องต้นดูก่อน เอกสาร บันทึกที่ ระบบ ISO22000 ต้องการคือ ?

 

               รายการ Check ความพร้อมเบื้องต้นของ ISO22000:2005

 

ข้อกำหนด รายละเอียดของข้อกำหนด รูปแบบ ผลการตรวจสอบ
มี ไม่มี
4.1 สิ่งที่ต้องระบุหรือแสดงไว้ก็คือ ขอบเขตที่ประยุกต์ใช้ระบบ FSMS เช่นผลิตภัณฑ์ , กลุ่มผลิตภัณฑ์,กระบวนการผลิต และสถานที่ผลิต รวมทั้งหากมีการจ้างผลิตข้างนอก ก็ให้ระบุและกำหนดมาตรการควบคุมด้วย เช่นกัน เอกสาร    
4.2 มีการจัดทำนโยบายด้านอาหารปลอดภัยและวัตถุประสงค์ด้าน Food safety เอกสาร    
4.2.2 การควบคุมเอกสาร เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน    
4.2.3 การควบคุมบันทึก เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน    
5.5 มีการแต่งตั้ง Food Safety team Leader และ Food Safety Team เอกสาร    
5.6.1 การสื่อสารภายนอกเพื่อสื่อสารในข้อมูลด้านอาหารปลอดภัย โดยผลของการสื่อสารต้องมีการบันทึกไว้ บันทึก    
-       บันทึกการสื่อสารกับผู้ขายผู้รับเหมา เช่น การประชุมรวมกัน การทำจดหมายแจ้ง การระบุรายละเอียดใน P.O Free GMO เป็นต้น
-       บันทึกการสื่อสารกับลูกค้า หรือผู้บริโภค เช่น ฉลากสินค้า การตกลง spec สินค้าร่วมกัน การแจ้งอายุการจัดเก็บ ระบุเรื่องของสภาวะการจัดเก็บ หรือการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ เอกสาร Proforma Invoice เป็นต้น 
-       บันทึกการสื่อสารในแง่ของกฎหมาย/หน่วยงานราชการ/โรงงานข้างๆ เช่น ใบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ( ร.3 / ร.4 ), การออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์(ร.4). เป็นต้น
5.7 การเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน    
5.8.1 General บันทึกการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร บันทึก *    
6.2.1 - บุคคลากรที่ปฏิบัติงานแล้วมีผลกระทบกับความปลอดภัยของอาหาร จะต้องมีทักษะความสามารถ และวุฒิการศึกษา การฝึกอบรม ทักษะและประสบการณ์ ที่เหมาะสมเช่น การกำหนดคุณสมบัติ ของแต่ละตำแหน่งงานไว้ เช่น Food Safety team Leader ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น บันทึก    
- หากมีผู้เชียวชาญจากภายนอกเพื่อการพัฒนา ประยุกต์ใช้ การนำไปปฏิบัติหรือการประเมิน ของระบบ FSMS นั้นต้องบันทึกของ agreement หรือข้อตกลง ซึ่งระบุถึงความรับผิดชอบและอำนาจในการดำเนินการไว้
6.2.2 จัดเก็บบันทึกที่แสดงถึงทักษะความสามารถ และวุฒิการศึกษา การฝึกอบรม ทักษะและประสบการณ์ ที่เหมาะสม บันทึก    
เช่น บันทึกการฝึกอบรม ประวัติการศึกษา ใบ certificate ทีได้จากการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องของ Food safety ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนข้อกำหนด ISO22000:2005 , GMP& HACCP
7.2.2 -PRP นั้นต้องได้รับการอนุมัติจาก Food safety Team บันทึก    
-การดำเนินการ verified และเมื่อเกิดการปรับปรุง PRP ต่างๆ นั้น ต้องมีการบันทึกไว้ เช่น การกำหนดแผนการทำความสะอาดบริเวณเครื่องบรรจุทุกวัน บันทึกสำหรับการ verified นี้คือ การบันทึกผลการตรวจสอบความสะอาดอาทิตย์ละหนึ่งครั้งเป็นต้น 
7.2.2 -PRP นั้นต้องมีการทำเป็นเอกสาร โดยลักษณะของเอกสารดังกล่าวต้องแสดงได้ว่าแต่ละ PRP นั้นถูกจัดการอย่างไร เช่น ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ความถี่ในการดำเนินการ ลักษณะการดำเนินการ มีการทวนสอบอย่างไร แบบฟอร์มอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง เอกสาร    
7.3.1 ข้อมูล เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งจำเป็นต่อการวิเคราะห์อันตรายนั้น จะต้องได้รับการ รวบรวม คงไว้ และปรับปรุงในอนาคตต่อไปนั้น ต้องมีการบันทึกไว้   เช่น ประกาศกระทรวงต่างๆ ผลการ validate ต่างๆ ใบ Certificate ต่างๆ ของวัตถุดิบที่นำมาอ้างอิง เหล่านี้ถือเป็นบันทึกของสำหรับจุดนี้เช่นกัน บันทึก    
7.3.3.1 วัตถุดิบต่างๆ ส่วนผสม และวัสดุที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติกที่รองด้านในก่อนบรรจุลงกล่อง ถังพลาสติกสีฟ้าที่ดองผัก เป็นต้น ต้องมีการจัดทำเป็นเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายละเอียดของ ส่วนผสมมีอะไรบ้าง อันตรายทางเคมี จุลินทรีย์ ทางกายภาพมีอะไรบ้าง มีแหล่งที่มา ซึ่งอาจจะทำลักษณะเหมือน Product description แล้วแต่เหมาะสม เอกสาร    
7.3.3.2 คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ ต้องมีการบรรยายไว้เป็นเอกสาร ซึ่งรู้จักกันดีในลักษณะของ Product description ตามระบบ HACCP เอกสาร    
7.3.4 การนำไปใช้ ต้องมีการบรรยายเป็นเอกสาร เพื่อการเป็นส่วนขยายให้กับการวิเคราะห์อันตรายต่อไป เอกสาร    
7.3.5.1 การทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิการผลิต ต้องมีบันทึกไว้ บันทึก    
7.4.2.1 ต้องมีการชี้บ่งและจัดทำเป็นบันทึก ของอันตรายทั้งหมดต่อความปลอดภัยอาหาร ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดขี้นในตาม ชนิดของผลิตภัณฑ์ ชนิดของกระบวนการผลิต และโครงสร้าง อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่จริง บันทึก    
7.4.2.3 การพิจารณาเพื่อการชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์สำหรับระดับที่ยอมรับได้ รวมทั้งผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ต้องถูกบันทึก บันทึก    
7.4.3 การประเมินอันตรายของอาหารปลอดภัยนั้นต้องมีการจัดทำเป็นบันทึก บันทึก    
7.4.4 การเลือกและประเมินของมาตรการควบคุม นั้น วิธีการและพารามิเตอร์ที่ใช้ สำหรับการจัดกลุ่ม ต้องอธิบายเป็นเอกสาร รวมทั้งผลของการประเมินจะต้องมีการบันทึกไว้ เอกสาร บันทึก    
7.5 oPRPs ต้องมีการจัดทำเป็นเอกสาร รวมทั้งมีบันทึกของการติดตาม เอกสาร และ บันทึก    
7.6.1 HACCP Plan ต้องมีการจัดทำเป็นเอกสาร เอกสาร    
7.6.3 สำหรับหลักการ วิธีการ อัตราส่วน หรืออย่างไรก็ได้ สำหรับการเลือก ค่า CL นั้นต้องจัดทำเป็นเอกสาร เช่น ผลการ Validate ต่างๆ ข้อมูลของค่า aw ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อในแต่ละช่วงค่า aw เหล่านี้ก็ถือได้ว่าเป็นเอกสารสำหรับข้อนี้ได้เช่นกัน เอกสาร    
7.6.4 ระบบสำหรับการติดตามจุด CCP นั้น บันทึก    
-ระบบการติดตามต้องเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง วิธีการทำงาน รวมทั้งบันทึกที่ครอบคลุม
7.8 การจัดทำแผนการทวนสอบ ซึ่งในแผนดังกล่าวต้องระบุในเรื่องของ จุดประสงค์ วิธีการ ความถี่ และผู้รับผิดชอบในแผนทวนสอบนั้นๆ แผน    
7.8 ผลของการ Verified ต้องบันทึกไว้ บันทึก    
7.9 บันทึกต่างๆที่สนับสนุนการสอบกลับได้ต้องถูกจัดเก็บ เช่น บันทึกผลการตรวจรับวัตถุดิบ ใบเบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิต เป็นต้น บันทึก    
7.10.1 การแก้ไข (Corrections): คือ การดำเนินการแก้ไขต่อสิ่งที่ไม่สอดคล้อง ซึ่งสามารถทำร่วมกะกับ Corrective action ได้ เช่น การ rework การ re-grade เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน    
7.10.2 การดำเนินการแก้ไข (Corrective actions): การดำเนินการแก้ไขที่สาเหตุ สิ่งที่ไม่สอดคล้องหรือเหตุการณ์อื่นๆที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งสาเหตุอาจมีได้หลายๆสาเหตุ corrective action นั้นนับรวมถึงการป้องกันปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน    
7.10.3 handling of potentially unsafe products เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน    
การดำเนินการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย
7.10.3.1 การควบคุมและบุคคลที่รับผิดชอบและมีอำนาจ สำหรับการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยต้องมีการจัดทำเป็นเอกสาร จัดทำเป็นเอกสาร    
7.10.4 การเพิกถอนผลิตภัณฑ์ (Withdrawals) เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน    
การเพิกถอนผลิตภัณฑ์ ซึ้งรวมทั้งการเรียกคืนผลิตภัณฑ์
8.2 ก่อนที่จะเริ่มนำเอามาตรการควบคุมไปประยุกต์ใช้ /เมื่อมีการเปลี่ยนมาตรการควบคุม เช่น process parameter เปลี่ยน วัตถุดิบเปลี่ยน เทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยน เป็นต้น ต้องทำการ Validate ก่อน -    
8.3 การควบคุมเครื่องมือติดตามและตรวจวัด บันทึก    
-       ถ้าไม่มีมาตรฐานอ้างอิง ทฤษฎีที่ใช้เพื่อ Calibrate หรือทวนสอบต้องมีการบันทึกไว้
-       กรณีที่อุปกรณ์เครื่องมือวัดไม่สอดคล้องตามค่าที่กำหนด ต้องมีการดำเนินการที่เหมาะสมต่อเครื่องมือดังกล่าว รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่กระทบ ผลของการดำเนินการต่างๆ รวมทั้งการประเมินผลนั้นต้องมีการบันทึกไว้
-       เมื่อมีการใช้การติดตามและตรวจวัดที่เฉพาะ ความสามารถของโปรแกรม computer นั้นต้องถูกยืนยันก่อนที่จะเริ่มใช้ และมีการ reconfirm ตามเหมาะสม
8.4.1 การตรวจติดตามคุณภาพภายใน เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน    
8.4.3 การวิเคราะห์ผลของกิจกรรมทวนสอบต่างๆนั้นและผลของกิจกรรมทวนสอบเองต้องมีการบันทึก บันทึก    
8.5.2 การ Updating ระบบ FSMS นั้นต้องมีการบันทึก และรายงาน ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อการปรับปรุงระบบนั้นได้จาก บันทึก    
- ข้อมูลที่ได้จากการสื่อสารต่างๆ ทั้งผลของการสื่อสารจากภายนอกรวมทั้งการสื่อสารภายใน
-ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและมีความเหมาะสม พอเพียงและมีประสิทธิผลต่อระบบ FSMS
- ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งได้จากผลของการทวนสอบกิจกรรม
- รวมทั้งผลของการตัดสินใจจากการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
ซึ่งรูปแบบของบันทึกที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนข้อนี้คือ การปรับปรุง HACCP Plan ใหม่ การปรับเพิ่มความถี่ของแผนการทำความสะอาด ซึ่งเกิดจากผลการ Swab test แล้วมีค่าเกินมาตรฐาน ต่างๆเหล่านี้ถือเป็นบันทึกที่เกิดจากการ update ระบบ

  

คำนิยาม

       1)     เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Documented procedure) : ขั้นตอนการปฏิบัติงานใดๆที่ถูกจัดทำเป็นเอกสาร  เช่น การจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นตามข้อกำหนด ตาม ข้อกำหนดของ ISO9001 ซึ่งการจัดทำเป็นเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้นก็จะมีการกำหนดรูปแบบในการเขียน ซึ่งคุณจะคุ้ยเคยกันดี เช่นเริ่มที่ เรื่องของขอบข่า คำนิยามศัพท์ ขั้นตอนการทำงาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง /บันทึกที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

    2)   ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure ) : เป็นวิธีการ /แนวทางปฎิบัติ ซึ่งทำให้กิจกรรมหรือกระบวนการดำเนินไปได้ ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้นจะเป็นเอกสารหรือไม่ก็ได้ เช่น  ขั้นตอนการตรวจรับวัตถุดิบ มีพนักงานอยู่ 2 ท่านมีการปฏิบัติเป็นปกติ คือ รับบิลล์ส่งของ ตรวจนับจำนวน แจ้ง QA หากผลการตรวจผ่านก็เก็บเขาคลัง ไม่ผ่านก็ Hold ส่งคืนผู้ขายเป็นต้น อย่างนี้ก็เรียกว่าขั้นตอนการปฏิบัติงาน ต้องทำเป็นเอกสารไว้ไหม ไม่จำเป็น   

      3)   เอกสาร : ( Document ) : คือ ข้อมูลและ ตัวกลาง (media)ที่สนับสนุนต่างๆ เช่น บันทึก ,ข้อกำหนดต่างๆ , เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน, drawing , รายงาน, มาตรฐานซึ่ง media สามารถอยู่ได้ทั้งในรูปของ กระดาษ , แม่เหล็ก หรือ แผ่นดิสด์ , รูปภาพ และ Master ตัวอย่าง

     4)   แผน : Plan วางแผนงาน /แผนงาน เช่น แผนการทำ Internal audit , แผนการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร

       5) โปรแกรม : program แผนที่มีการวางไว้แล้ว มีการกำหนดกรอปเรื่องของเวลาที่ชัดเจน และมีจุดประสงค์เรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมการทำความสะอาด โปรแกรมการควบคุมสัตว์พาหะ

6) บันทึก : Record คือเอกสารที่แสดงผลที่ได้กระทำไปแล้ว หรือเป็นการแสดงหลักฐานของกิจกรรมดังกล่าวว่าได้ถูกดำเนินการแล้ว เช่น เอกสารที่แสดงการสอบกลับได้ เอกสารที่แสดงว่าได้มีการทวนสอบการดำเนินการแก้ไขและป้องกัน โดยทั่วไปนั้น

 
Check ความพร้อมด้านเอกสาร ISO22000:2005