Login Form

ISO9001 ความสามารถ

บริษัทประกอบด้วยคน องค์กรจะดีไม่ดีอยู่ ที่คนในองค์กร การสร้างคนคือการปลูกฝังสิ่งที่เป็นแก่นของกลยุทธ์ (กลยุทธ์คือทางเลือกที่เป็นรูปธรรมเ พื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งอาจหมายถึง แผนงาน ระบบ ระเบียบ วิธีการ )  สมรรถนะหรือความสามารถ ที่เป็นสมรรถนะพื้นฐานในการทำงานต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่เรียนรู้ได้โดยบังเอิญ

เนื่องจากแต่ละงานต้องการสมรรถนะในการทำงานที่ต่างกัน จึงต้องกำหนดให้ชัดเจน และต้องสร้างระบบให้เกิดการเรียนรู้สมรรถนะที่จำเป็นนี้ 

การสร้างคนเหมือนการปลูกต้นไม้ ที่ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สมรรถนะ พร้อมให้โอกาสในการเรียนรู้ การสร้างความสามารถจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่องค์กรต้องใส่ใจ  ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO9001 ข้อ 6.2.1 และ 6.2.2 ได้ให้ข้อกำหนดในการบริหารความสามารถ บทความนี้อธิบายสรุปรวมถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ ... 

ข้อกำหนดว่าอย่างไร

ข้อกำหนดเริ่มต้นที่ องค์กรต้องทำการกำหนดความสามารถที่จำเป็น

 

อะไรคือความสามารถที่จำเป็น

ข้อกำหนด ISO9000:2005 กำหนดว่า "ความสามารถ คือ "แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะ"  คำว่า แสดงให้เห็นเป็นประเด็นที่สำคัญครับ

ความรู้ คือ "ข้อมูล ข่าวสารที่ได้เรียนรู้และสามารถจำได้เมื่อต้องการใช้งาน"

ทักษะ คือ "การประยุกต์ใช้ความรู้ในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้ผล"

จากนิยามท่านจะเห็นได้ว่า การกำหนดความสามารถที่จำเป็นคือ "การกำหนดสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่จำเป็น"

นั่นหมายถึง การที่ท่านทำโดยการส่งแบบสอบถาม เพื่อถามพนักว่าอยากอบรมเรื่องอะไร ไม่ใช่สิ่งที่มาตรฐาน ISO9001 ต้องการแน่นอน

 ต้องพิจารณาอะไรบ้างเมื่อทำการกำหนดความสามารถ

มีคำถามมากมาย ที่ท่านต้องมีคำตอบก่อนเริ่มวางระบบการบริหารความสามารถ

  • ตำแหน่งงานอะไรบ้างที่ต้องระบุความสามารถ ( ไม่ใช่ทุกตำแหน่งที่ต้องกำหนดตามมาตรฐาน ISO9001:2008)
  • ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ ต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้
  • ความรู้และทักษะอะไรบ้าง ที่ผู้ดำรงตำแหน่งต้องรู้ ต้องมีมาก่อนทำงาน
  • ความรู้และทักษะอะไรบ้าง ที่ผู้ดำรงตำแหน่งต้องไม่ต้องรู้ ไม่ต้องมีมาก่อนทำงาน ก็ทำงานได้
  • เมื่อใดที่ผู้ดำรงตำแหน่ง ต้องผ่านการอบรมเพื่อให้มีความรู้ ทักษะตามที่กำหนดไว้
  • มีอย่างอื่นอีกบ้างไหม ถ้ามีแล้วจะช่วยให้ทำงานในหน้าที่ได้ดีขึ้น

     

แล้วตำแหน่งงานไหนบ้างที่ต้องกำหนด

มาตรฐาน ISO 9001 ข้อ 6.2.2 กำหนดว่าสำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่มีผลกระทบต่อการสอดคล้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์

แปลว่าไม่ทุกคน ที่ถูกบังคับให้กำหนด (ที่เหลือภาคสมัครใจ)

แล้วใครบ้างล่ะ ที่ทำงานแล้วมีผลกระทบต่อการสอดคล้องกับข้อกำหนดผลิตภัณฑ์

  • จากภาพข้างต้น ตำแหน่งงานที่ทำงานมีผลกระทบต่อการสอดคล้องข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ ( Product Reqirememt) คือตำแหน่งงานที่อยู่ระหว่าง Customer Requirement ----> Customer Satisfaction โดนหมด
  • กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องจากวงแคบสุด ตรงที่สุด คือ ผู้ที่ทำงานในส่วนงาน QC, Production, Engineering, Technical, Sale... 
  • สรุปได้ว่า กลุ่มคนหลัก ที่ต้องมีการกำหนดความสามารถเป็นอย่างดี คือกลุ่มคนที่เกี่ยวพันกับข้อกำหนด ข้อ 7.0, 8.0 กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำตามข้อกำหนดของ product realization และ measurement. 
  • ตัวอย่างอื่นๆ ตามข้างล่างนี้

แล้วต้องมีระเบียบปฏิบัติในเรื่องนี้หรือไม่

มาตรฐาน ISO9001:2008 มิได้กำหนดว่าองค์กรต้องมีระเบียบปฏิบัติในเรื่องนี้

หากท่านเป็นองค์กรขนาดเล็กๆ ระบุไว้ใน QM ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีครับ

 ใครควรเป็นผู้กำหนด ความรู้ / ทักษะ

สำหรับมาตรฐาน ISO9001:2008 กรอบในเรื่องนี้เป็นความรู้ ทักษะที่จำเป็นในการทำงานในกรณีที่การปฏิบัติงานนั้นมีผลกระทบต่อการสอดคล้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์  ดังนั้นผู้ที่กำหนดความรู้ทักษะควรจะเป็นผู้บังคับบัญชาสำหรับผู้ดำรง ตำแหน่งนั้นเท่านั้น ไม่ควรให้คนอื่นโดยเฉพาะส่วนงานบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบมาระบุให้ เพราะส่วนงานบุคคลมักไม่รู้รายละเอียดว่าความรู้ อะไรที่จำเป็น ทักษะอะไรที่จำเป็น

ทำเองหรือหาลอกดี

แต่ละองค์กร ไม่เหมือนกัน แม้ว่าชื่อตำแหน่งจะเหมือนกัน เนื่องจากแต่ละองค์กรไม่เหมือนกันทำให้ต้องการคนที่ไม่เหมือนกันด้วย

หากคุณลอกจากองค์กรอื่น อาจทำให้คุณหลงทางได้ เพราะแต่ละองค์กรมีลักษณะงานที่ต่างกัน มีปรัชญาในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน

ขั้นตอนการจัดทำ

หากขนาดขององค์กรท่านมีขนาดไม่เล็ก ท่านอาจต้องมีระบบมีขั้นตอน (เหตุผล เพราะบริษัทเล็กๆ คนเป็น TOP หรือมือขวาTOP จะรู้งาน รู้จุดอ่อน จุดแข็ง รู้ว่าองค์ต้องการอะไร และมีอำนาจในการบังคับบัญชา สั่งการที่ดีพอควร หากมีความรู้และเวลาเพียงพอ กำหนดเองจะดีกว่า) การกำหนดความสามารถทำให้คนรู้สึกกลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย จำเป็นต้องทำอย่างระมัดระวัง

  1. ทำแผนงานงานกำหนดกรอบเวลา
  2. กำหนดผู้บริหารโครงการ
  3. ทำความเข้าใจโดยภาพรวมว่า ทำไมองค์กรต้องทำการระบุ ความรู้ ความสามารถ และการนำไปใช้
  4. กำหนดวิธีในการสื่อสาร กับพนักงานในองค์กร ว่าจะทำอย่างไร ไม่ว่าช่วงออกแบบระบบและการนำระบบไปใช้
  5. ทำอย่างไรให้ TOP เอาด้วย (เรื่องใหญ่ ขอบอก)
  6. เริ่้มด้วยการประชุมชี้แจง กับระดับผู้จัดการ TOP ต้องส่งสัญญาณดีๆ 
  7. แจ้งกรอบเวลา เทคนิค แบบฟอร๋ม เหตุผล และวัตถุประสงค์
  8. หลังจากนั้นให้แต่ละแผนก ฝ่ายไปดำเนินการจัดทำ
  9. กำชับ สอนให้ผู้จัดการเข้าใจว่าการกำหนดความรู้ ความสามารถ ไม่อาจให้พนักงานเป็นผู้กรอกเอง
  10. ควรจะจัดทำ ภายใต้การดูแลใกล้ชิด และรับผิดขอบจากผู้จัดการส่วนงานนั้นๆ
  11. ต้องให้ผู้จัดการเป็นผู้อนุมัติ

 ข้อควรระวัง

ช่วงกำหนด ความรู้ ความสามารถครั้งแรกนี้เป็นเรื่องที่ต้องระวัง ล้มเหลวหรือสำเร็จอยู่ที่ช่วงนี้

ให้คนมีส่วนร่วมมากที่สุด ไม่ว่าช่วงออกแบบ ทบทวน ทดลองใช้ (เพื่อให้คนยอมรับและลดการต่อต้านไง)

ห้ามมีใครนั่งเทียน คิดเอา เดาเอา เขียนกว้างๆ : ไม่มีวันที่คน คนหนึ่งจะรู้ไปหมด หากไม่มีประสบการณ์ในการทำงานหน้าที่นั้นโดยตรง มาก่อน และรู้ว่าตำแหน่งงานนั้นๆ ต้องมีความรู้ ทักษะที่จำเป็นอะไรบ้าง การโยนงานให้ฝ่ายบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่ระบุหรือให้ DCC เป็นผู้มีหน้าที่ในการระบุ เป็นความคิดที่ซื่อบื้อมาก

ห้ามให้พนักงานในระดับปฏิบัติการเขียนเอง : ทำไม เพราะพนักงานไม่ใช่ผู้จัดการ เพราะ ฉะนั้น อาจไม่รู้ว่าอะไรคือ ความรู้ ทักษะที่จำเป็นขององค์กร ไม่รู้ว่าอะไรเป็นปัญหาขององค์กร  มากกว่านั้นเพราะเขาจะเขียนให้เหมาะแค่ตัวเขาเท่านั้น

ห้ามให้พนักงานที่ดำรงตำแหน่งนั้นเขียนเอง : ปัญหา หากพนักงานเขียนในตำแหน่งตนเอง พนักงานมักไม่รู้ว่าผู้บังคับบัญชาต้องการอะไร จากตำแหน่งงานนั้นๆ ถึงรู้ก็จะไม่เขียน เพราะเสี่ยงต่อความมั่นคงในอาชีพตัวเอง

ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ที่ต้องทำการกำหนด ก็คือ ผู้บังคับบัญชา ในแต่ละลำดับ  โดยเราต้องสอบถามผู้บังคับบัญชาของตำแหน่งนั้นๆ ว่าผู้ดำรงตำแหน่งงานนั้นต้องมีความรู้ ทักษะอะไรบ้างที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน

ข้อควรระวังในเรื่องนี้ คือ หากองค์กรเรามีแต่ผู้จัดการตัวปลอมหรือเป็นแค่ตำแหน่งในนามบัตร ที่ซึ่งชีวิตนี้เขาไม่เคยจัดการอะไรเลย ท่านจำเป็นต้องมีวิธีสอนงานเขาหรือข่วยเขา (หรือไม่ก็ไล่เขาออกไปจากบริษัทซะ)

 พอได้ความรู้ความสามารถแล้วอย่างไรต่อ

พอเราได้ความรู้ความสามารถประจำตำแหน่งแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อคือ การสรุปเป็นหลักสูตร และวิธีการอบรม

ตัวอย่าง

 

ตำแหน่ง ความรู้ / ทักษะ ชื่อหลักสูตร
วิธีการ
ช่างเทคนิคแม่พิมพ์

ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต

ปฐมนิเทศพนักงานฝ่ายผลิต Class Room
 
การตรวจสอบและบำรุงรักษาแม่พิมพ์แบบ Preventive
QP -123 OJT
 
สามารถตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์ได้ QC (in process)
QP-432 OJT
  ขบวนการขึ้นรูปพลาสติก (การฉีดพลาสติก, ข้อบกพร่อง, การแก้ปัญหาชิ้นงานฉีด) NA OJT
  ใช้เครื่องจักรเฉพาะทางชั้นสูง (EDM, Wire cut) WI - 123 OJT
  สามารถประเมินเวลาการทำงานและต้นทุนการผลิตแม่พิมพ QP 999 OJT
 
สามารถวางระบบการบำรุงรักษา และการแก้ไขปัญหาของแม่พิมพ์และเครื่องจักรในการผลิต
NA OJT
 
สามารถใช้ CAD&CAE ในการออกแบบแม่พิมพ์
NA OJT

 

พอได้ ชื่อหลักสูตร และวิธีการอบรมแล้วอย่างไรต่อ

ท่านควรต้องทำการระบุ ระยะเวลาที่ต้องผ่านการอบรมหรือประเมินทักษะ

ตัวอย่าง

 

ตำแหน่ง ความรู้ / ทักษะ ชื่อหลักสูตร
วิธีการ
ระยะเวลา
ช่างเทคนิคแม่พิมพ์

ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต

ปฐมนิเทศพนักงานฝ่ายผลิต Class Room สัปดาห์แรก
 
สามารถตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์ได้ QC (in process)
QP-432 OJT ภายใน 1 เดือน
 
การตรวจสอบและบำรุงรักษาแม่พิมพ์แบบ Preventive
QP -123 OJT ภายใน 1 เดือน
  ขบวนการขึ้นรูปพลาสติก (การฉีดพลาสติก, ข้อบกพร่อง, การแก้ปัญหาชิ้นงานฉีด) NA OJT ภายใน 2 เดือน
  สามารถประเมินเวลาการทำงานและต้นทุนการผลิตแม่พิมพ์ QP 999 OJT ภายใน 3 เดือน

 

อะไรคือ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้

  • แปลว่า บางองค์กรอาจไม่จำเป็นต้องมีแผนอบรม หรือทำการอบรมใดๆ !!!
  • แปลว่า เมื่อท่านพบปัญหาในการผลิต มีของเสีย เกิดความผิดพลาด ไม่ได้ตามเป้าหมาย ท่านต้องทำการอบรมหรือดำเนินการอื่นใด
  • หากท่านมีวิธีในการยืนยัน ว่าพนักงานของท่านที่ดำรงตำแหน่งนั้นๆ มีความรู้ ทักษะที่เพียงพอ ก็อาจเพียงพอ เพราะนี่คือสิ่งที่เราต้องการ คือให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอในการดำรงตำแหน่งงานนั้นๆ
  • เป็นเรื่องที่ท่านต้องพิจารณาเองว่า ต้องมีระบบ ระเบียบปฏิบัติ ในเรื่องการจัดอบรมหรือไม่อย่างไร ซึ่งแล้วแต่ขนาดขององค์กรท่าน
  • ข้อกำหนดนี้เหมาะมากๆ กับองค์กรขนาดเล็ก หรือองค์กรมีลักษณะการทำงานเป็นโครงการ ที่มักจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเป็นโครงการ โครงการไป

     

 

อะไรคือ "ทำการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการที่ได้กระทำ"

  • ISO 9001:2008 บอกเราว่า การอบรมในกรอบQMS ไม่ไร้สาระ ที่ต้องมีการประเมินผลคือการอบรมหรือดำเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการสอด คล้องผลิตภัณฑ์ ประเมินเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ทักษะ ที่เราระบุเท่านั้น หากมีการอบรมที่ไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ต่อการดำรงตำแหน่งนั้นๆ ไม่ช่วยในการทำงานให้ดีขึ้น ก็ไม่เกี่ยว ไม่ต้องประเมิน
  • ISO 9001:2008 บอกเราว่า การอบรมมีค่าใช้จ่ายและเสียเวลา ดังนั้นระบบควรที่จะ Focus ไปที่ความรู้ และทักษะ ที่มีผลต่อการดำรงตำแหน่งนั้นๆ หรืออาจรวมกับการดำรงตำแหน่งในอนาคต ( Training Road Map)
  • ISO 9001:2008 บอกเราว่า หลังจากที่เราได้ให้ความรู้หรือให้ฝึกอะไรให้กับพนักงานแล้ว ต้องมีระบบในการตรวจสอบ ประเมินว่า พนักงานที่ดำรงตำแหน่งนั้น มีความรู้เท่าที่เรากำหนดหรือยัง มีทักษะเท่าที่กำหนดหรือยัง

อะไรคือประเมินผล

  • การประเมินผล เราต้องดูที่ผล ของการอบรมหรือฝึกงานหรือ ดูงาน หรือการมอบหมายงานให้ทำ 
  • เราระบุว่า พนักงานต้องทราบ อะไรบางสิ่ง ...... เราต้องประเมินว่า ทราบหรือยัง!
  • เราระบุว่า แสดงความเข้าใจ...... เราต้องประเมินว่า เข้าใจหรือยัง!
  • เราระบุว่า ทำการตรวจสอบการส่งมอบผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม ...... เราต้องประเมินว่า เหมาะสมหรือยัง!

เรามีหลักเกณฑ์ วิธีการอย่างไรในการประเมินประสิทธิผล

  • ชีวิตง่ายขึ้นหากเรามี กำหนดมาตรฐานในการทำงานหรือเกณฑ์มาตรฐานในการทำงาน ที่ชัดเจน
  • หากบริษัทท่านขาดทั้งระเบียบปฏิบัติ หรือคู่มือในการทำงาน หรือค่าKPI ดีๆ หรือ ค่าความสามารถในการผลิต( Standard Time) หรือเกณฑ์ในการทำงานทีดีๆ แปลว่าเรื่องนี้ง่ายมาก
  • หากบริษัทท่านไม่มีข้างต้น เหนื่อยแน่ๆ !!

     

การประเมินความรู้

หากท่านต้องการให้พนักงานมีความรู้ ดังนั้นท่านต้องทดสอบความรู้ ซึ่งกระทำโดยการสอบข้อเขียน หรือสอบปากเปล่า

หากท่านต้องการให้พนักงานท่านมีความสามารถในการคำนวณ ท่านอาจคิดโจทย์ให้เขาแก้ มี module ให้ทดสอบ

หากเป็นเรื่องความรู้ ท่านต้องมี รายการความรู้ และ บันทึกว่า เขา้รู้อะไรบ้างและใครเป็นผู้ประเมิน

ตัวอย่าง

รายการตรวจสอบการอบรมด้านความปลอดภัยอาหาร

พนักงานชื่อ …………………………………… เริ่มทำงานวันที่…………………………………

 

ทักษะความชำนาญด้านความปลอดภัยอาหาร

ผลการประเมิน
  • สวมชุดฟอร์มหรือชุดป้องกันอื่นๆเพื่อการปฏิบัติงานที่ถูกสุขลักษณะอย่างเคร่งครัด

 

  • รักษาและปฏิบัติตามมาตรฐานการล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ

 

  • รักษาและปฏิบัติตามสุขลักษณะส่วนบุคลที่กำหนด

 

  • กรณีมีการเจ็บป่วยหรือบาดแผล ปฏิบัติตามวิธีที่ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันผลกระทบต่อความปลอดภัยอาหาร

 

  • หลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะในระหว่างการผลิตอาหาร

 

  • สามารถแสดงให้เห็นถึงวิธีการปฏิบัติงานด้านอาหารที่มีความปลอดภัยต่ออาหาร

 

  • รักษาสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนบุคคลในสภาพที่สะอาดและถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ

 

  • เชื่อในเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาหาร

 

  • รักษาความสะอาดของพื้นที่ปฏิบัติงาน

 

  หัวหน้างาน / ผู้จัดการ…………………………………… วันที่…………………………………

 

การประเมินทักษะ

หากท่านต้องการให้เขาสามารถทำงาน ..... เป็นเรื่องของทักษะ ไม่ใช่้ความรู้ ดังนั้นต้องให้เขาทำ และมีคนประเมิน

ได้หากระบุว่า ต้องทำการตรวจสอบ ..... ,ต้องทำการวางแผนการผลิต .... ดังนั้นท่านต้องทดสอบโดยให้เขาทำให้ดู หรือ ดูระหว่างที่เขาทำงาน หรือดูผลของงานที่เขาทำ หัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ประเมิน

 

โดยรวม

ความรู้ ใช้แบบทดสอบ

ทักษะ ใช้ skill map

ตัวอย่าง skill matrix

Online

มี 36 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์