Login Form

การออกแบบระบบตรวจเฝ้าระวัง HACCP (MONITORING SYSTEM) - ความถี่ในการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring)

ความถี่ในการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring)

การตรวจเฝ้าระวัง ( Monitoring) สามารถทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องก็ได้. แต่การติดตามอย่างต่อเนื่องนั้นดีกว่าในการสร้างความน่าเชื่อถือของกระบวน การ
ตัวอย่างของการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring)อย่างต่อเนื่องรวมถึง

  • การวัดเวลาและอุณหภูมิในกระบวนการฆ่าเชื้อ หรือ retorting
  • การตรวจสอบแต่ละถุง ของเครื่องเทศผักขมสับแช่แข็งด้วยเครื่องตรวจจับโลหะ
  • การตรวจสอบการปิดภาชนะขวดแก้วโดยผ่านเครื่องตรวจ  

การตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring)อย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิผล ต้องมีการทบทวน/ประเมินผลการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring)เป็นระยะๆ
ความถี่ในการทบทวนผลการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring)จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบเมื่อ เกิดการค่าเบี่ยงเบนไปจากค่าวิกฤติ

ในกรณีที่มีการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) แบบไม่ต่อเนื่อง การกำหนดความถี่ในการตรวจเฝ้าระวังต้องได้รับการพิจารณาจากประวัติการเกิด ปัญหาของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ เมื่อมีการตรวจพบปัญหา ความถี่ในการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring)อาจต้องมีปรับเพิ่มขึ้นจนกว่ารากเหตุของปัญหาได้รับการแก้ไข
คำถามต่อไปนี้จะช่วยในการพิจารณากำหนดความถี่ที่ถูกต้อง : 

  • ลักษณะ ระยะเวลาที่กระบวนการอาจเกิดการเบี่ยงเบน แปรปรวน
  • ค่าเผื่อระหว่างค่าควบคุม (Operation limit) กับ ค่าวิกฤติ ( Critical limit)
  • มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดการเบี่ยงเบนไปจากค่าวิกฤติ 

บทความใกล้เคียง

Online

มี 20 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์