Login Form

ISO22000 : การเตรียมพร้อมและการตอบสนองสภาวะฉุกเฉิน

การเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน สามารถเกิดขึ้นกับองค์กรผู้ผลิตอาหาร ได้เช่นกันกับองค์กรประเภทอื่นๆ องค์กรต้องมีระบบในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินนี้ ไม่ว่า ไฟใหม้, น้ำท่วม, เครื่องจักรการผลิตทำงานผิดพลาด, เครื่องจักร breakdown, ระบบ IT ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเสีย, ,เกิดการโรคระบาดจากอาหารเป็นพิษ (outbreak od food poison), แม้กระทั่งพบว่ามีโอกาศในการก่อการร้ายทางชีวภาพ (Bio-terrorism) ... (ดูน่ากลัวนิ .....)

มาตรฐาน ISO22000 กำหนดอะไรบ้างในเรื่องนี้ ?

  • ข้อกำหนด ISO22000, ข้อ 5.7 กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูง ต้องเตรียมการให้พร้อมในการตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่มีนัยยะที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยด้า่นอาหารต่าง
  • ในข้อกำหนด ISO22000, ข้อ 5.8.2 การทบทวนฝ่ายบริหาร, ต้องนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเรื่อง "สภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่มีนัยยะ" มาทำการทบทวนด้วย
  • ข้อกำหนดข้อ 5.7 ของมาตรฐาน ISO22000 มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนด ISO9001:2008 ข้อ 5.2 & ข้อ 8.5.3

มีอะไรบ้างที่อาจเป็น สภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่มีนัยยะสำหรับมาตรฐาน ISO22000 ?

หัีวใจในการทำความเข้าใจในเรื่องนี้คือ "อุบัติการที่อาจเกิดขึ้น" ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยด้านอาหาร (that can impact food safety) ดังนั้นไม่ว่าอุบัติการณ์หรือ อุบัติเหตุที่อาจมีผลต่อความปลอดภัยในอาหารเช่น การเกิดไฟไหม้, น้ำท่วม, ไฟดัีบ, รถขนส่งเกิดอุบัติเหต,การปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม,เกิดการก่อการร้ายทางชีวภาพ (โดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารที่ส่งไปสหรัฐอเมริกา), เครื่องทำความเย็น, เครื่องทำความเย็น cold storage room พัง ขอย้ำว่าประเด็นความคิด วิธีการ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบความปลอดภัยในอาหารเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามระบบ ISO14001 ไม่เกี่ยวกับอาชีวอนามัยความปลอดภัย OHSAS18001 แต่เป็นการวิเคราะห์เตรียมการ วางแผนเพื่อดำเนินการจัดการกับอาหารให้ปลอดภัย ท่านควรระบุเฉพาะเหตุการณ์ ตามความน่าจะเป็นที่หากเกิดอุบัตการณ์นั้นๆแล้วจะมีผลกระทบต่อfood safetyเท่านั้น เช่น

  • เครื่องจักร breakdown ไม่ใช่ทุกสถานที่ผลิตอาหาร ทุกเครื่องจักรที่ breakdown แล้วจะมีผลต่อ food safety เสมอไป
  • น้ำไม่ไหล ไม่ใช่ว่าน้ำไม่ไหลแล้วจะมีผลต่อทุกสถานที่ผลิตอาหารเสมอไป อาจมีปัญหาสุดๆสำหรับอุตสาหกรรมที่ใ่ช้น้ำเป็นหลักและมีกระบวนการผลิตที่ต่อ เนื่อง อาจน้อยหน่อยสำหรับสถานที่ผลิตอาหารที่เป็นระบบ lot / batch และน้อยสุดๆสำหรับสถานที่ผลิตอาหารแบบแห้ง
  • อื่นๆ ...

ในการจัดทำระบบ การเตรียมพร้อมและการตอบสนองสภาวะฉุกเฉินสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีอะไรบ้าง ?

  • ข้อกำหนดกำจัดวงไว้ในประเด็นเฉพาะสภาวะฉุกเฉินที่มีผลกระทบในเรื่อง Food Safety
  • การระบุ"สภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่มีนัยยะนอก จากการพิจารณาในการปฏิบัติงานของเรา ท่านควรคำนึงถึงการเกิดเหตุในรอบๆสถานที่ผลิตด้วย ซึ่งอาจรวมถึงแหล่งวัตถุดิบ ผู้รับจ้างในการขนส่ง เป็นต้น

 ขั้นตอน

  1. มอบหมายงานให้มีผู้รับผิดชอบพิเศษ(แม่งาน) ในช่วงการจัดทำทำแผนฉุกเฉินนี่
  2. ตั้งคณะทำงานที่ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากส่วนงานหลักๆขององค์กร เืพื่อทำงานร่วมกับผู้ที่ไ้ด้รับมอบหมายในการจัดทำแผนฉุกเฉิน
  3. ทำการวิเคราะห์ ศึกษา สภาวะฉุกเฉินที่มีความเป็นไปได้กับองค์กรที่คล้ายๆกับท่าน
  4. ทำการวิเคราะห์ อันตราย ความรุนแรง ความเป็นไปได้ และทางออกที่เป็นไปได้
  5. ทำการหาตัวอย่าง วิธีการปฏิบัติจากภาครัฐ องค์กร สมาคม ในการจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉินในแต่ละประเภท
  6. ทำการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในแผนฉุกเฉิน รวมถึงนโยบาย,ขั้นตอนการปฏิบัติ(แผนฉุกเฉิน)
  7. อบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำตามแผนฉุกเฉิน
  8. ทำการปรับแผนฉุกเฉินให้ทันสมัย ปรับปรุงเมื่อมีการเกิดเหตุการณ์ที่เกือบจะฉุกเฉิน( อุบัติการณ์- near miss)

การวางแผนตอบโต้เหตุฉุกเฉินนี้ ไม่ใช่กิจกรรมที่สามารถกระทำครั้งเดียวเสร็จสิ้น เนื่องจากระบบการจัดการอาหารปลอดภัยมีการปรับเปลี่ยน กระบวนการผลิต ลูกค้า supplier ... ตลอดเวลา ดังนั้นแผนฉุกเฉินนี้ต้องได้รับการทบทวนและปรับให้ทันสมัยซึ่งรวมถึงการอบรม ซ้ำให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง

รูแแบบการระบุ สถานการณ์ฉุกเฉินและมาตรการตอบโต้ ควรเป็นอย่างไร ?

  • เนื่องจากข้อกำหนด iso22000, 5.7 ระบุดังนี้ " Top management shall establish, implement and maintain procedures to manage potential emergency situations and accidents ....." แปลว่าเราต้องมีการจัดทำแผนงาน ขั้นตอน โปรแกรม ระเบียบปฏิบัติบางอย่าง ในการจัดการกับสถาวะฉุกเฉิน ... เมื่อมีคำว่าจัดการ แปลว่าไม่สามารถปล่อยตามยถากรรม แล้วแต่ดวง คิดเอาเอง ฝันเอา ไม่ได้่! เรื่องนี้ต้องเป็นเอกสารที่ชัดเจนและกระจาย สื่อสารให้กับผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี "
  • ท่านอาจต้องระบุในรายละเอียดมากๆ หากกระบวนการผลิตของท่านยาว ซับซ้อน คนเยอะ ... อาจไม่กี่บรรทัดสำหรับสถานที่ผลิตอาหารที่กระบวนการผลิตสั้น คนน้อยๆ เครืื่องจักรน้อยๆ
  • บางสถานที่ผลิตต้องระวังหากเกิด เหตุฉุกเฉิน ระหว่างการผลิต บางแห่งระหว่างการจัดเก็บ บางแห่งขนส่ง บางแห่งเพาะปลูก เพาะเลี้ยง บางแห่ง......
  • ดูตัวอย่างการกำหนด action taken ในรูปแบบง่ายๆครับ ....เจตนารมณ์ของข้อกำหนดข้อนี้ (หัวใจ) คือ Action to be Taken องค์กรเล็กๆ รูปแบบนี้อาจพอเพียง แต่ควรจะมีรายละเอียดมากกว่านี้ในประเด็นที่มีผลกระทบต่อความปลอดภ้ยอาหาร และในส่วนหน้าที่ ว่าเป็นหน้าที่ของใครหากเกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้น
  • ขณะเดียวกันในบางองค์กรโดยเฉพาะ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Food security สำหรับองค์กรที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ีไปสหรัฐอเมริกา ท่านอาจต้องมีระบบ ระเบียบ การ monitor การตรวจสอบ .. ในการจัดการกับ Food security ต่างหากที่เฉพาะเจาะจงเป็นเรื่องๆไป...
  • ISO22000, ข้อกำหนดข้อ 5.7 นี้เป็นเรื่องของการบังคับให้คิดเรื่องความเป็นไปได้ที่อาจเกิดปัญหา ( serious abnormal , incident, accident) หลังจากนั้นเราต้องคิดมาตรการป้องกัน (การป้องกันในเรื่องอาหารปลอดภัยคือ เกือบทั้งหมดของ ข้อ 7 +8 ครับ) รวมถึงในกรณีที่ป้องกันไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุแล้วเราต้องทำอะไร .. ใช่ ! เมื่อเราป้องกันไม่ได้แล้ว หากโชคร้าย เกิดเหตนั้นๆขึ้นุแล้ว ใครต้องทำอะไร อย่างไร นี่คือเจตนารมณ์ของข้อกำหนด ISO22000 ข้อ 5.7  เรื่องเล็กทำเล็ก เรื่องใหญ่ทำใหญ่ ครับ.......

emergency iso22000

  ควรรวบเอาระบบ recall / withdrawal เข้าไว้ในระบบเดียวกันไหม ?

ในบางครั้งเรื่องฉุกเฉินนี้ กว่าจะรู้่ ผลิตภัณฑ์ของเราได้มีการกระจายไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับการจัดการกับสภาวะฉุกเฉินประเภทนี้จะมีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่อง การเรียกคืนถอดถอนผลิตภัณฑ์เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจัดการให้อาหารที่ต้องสงสัยนั้นมีอันตรายต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ISO22000 กำหนดเรื่องนี้ไว้เป็นคนละข้อ กล่าวคือ 5.7 สำหรับการจัดการสภาวะฉุกเฉิน และ ข้อกำหนดISO22000 ข้อ 7.10.4 withdraw เป็นข้อกำหนดในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และมากกว่านั้นเป็นเรื่องคนละประเด็นของการจัดการ ( เรื่อง emergency เป็นเรื่องระวังตัว เป็นระบบบริหารที่ต้องมีการเตรีมพร้อมไว้เสมอ แต่ในส่วน recall เป็นเรื่องของการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยจากท้องตลาดและจัดการกับ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยนั้น !!! )

ISO 22000 สั่งการ กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูง ต้องใส่ใจในการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อม เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร แต่ข้อกำหนด iso22000 ข้อ 7.10.4 เป็นเรื่องของการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยที่ได้จำหน่ายหรือส่งมอบไป แล้ว( 7.10.4) ดังนั้นไม่ควรจับมารวมกันครับ (เพื่อป้องกันเราเองจะงง !! ใช่! ผมเขียนไม่ผิดหรอก กันคุณงง ไม่เชื่อลองดู)

เรื่องฉุกเฉินต้องซ้อมไหม ?

ไม่ต้องครับ เหตุผลชัดเจนมากเพราะ ISO22000 ไม่ได้สั่งครับ ไม่ ต้องฝึก ไม่ต้องซ้อม (drill)เหมือนกับเรื่อง withdrawal / recall ครับ มากกว่านั้นเราซ้อมจริงๆไม่ได้หรอก (ในเรื่องเหตุฉุกเฉินนี้เป็นการซ้อมคิด โดยการวางแผน เป็นจอมวางแผน !)

ไม่เหมือน ISO 14001 ที่ต้องซ้อมวิ่งหนี ซ้อมรวมพล ซ้อม .... จนถึง ดับไฟหรอกครับ

หัีวใจในเรื่องนี้คือ เราต้องมีวิธีการ มีแนวทาง ว่าใครต้่องทำอะไรเมื่อเกิดสภาวะฉุกเฉินตามนิยามที่ระบุขึ้น เช่น "อุตสาหกรรมแช่เยือกแข็งที่ไฟดับมากกว่า XX ชั่วโมงสำหรับสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่มีเครื่องปั้่นไฟ" เพราะอาจมีผลต่อผลิตภัณฑ์ที่เก็บในห้อง cold storage ทั้งหมด( เชื้อ growth !) เพราะเืมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน สิ่งแรกจะเกิดคือ panic!! ปั่นป่วนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ในช่วงเวลานั้นอาจเกิดความไม่รอบคอบ ไม่รัดกุม เกิดอาการหลุด ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาหารที่ผลิตได้ แต่ละองค์กรต่างกันแบบสุดๆครับในข้อกำหนดข้อนี้ บางที่ต้องระวังเรื่องเครื่องจักร บางที่ต้องเรื่องคน บางที่ต้องวัตถุดิบ บางที่ต้องระวังการจัดเก็บ บางที่ ....

" แผนตอบโต้ตอบสนองเหตุฉุกเฉินคือแผนในลิ้นชักที่ต้องมีพร้อม เวลาที่เราเกิดปัญหาและใช้เมื่อยามจำเป็น เป็นการคิดไว้ก่อน เป็นการกำหนดไว้ก่อน เพื่อป้องกันการปั่นป่วน สับสน ในองค์กร ไม่งั้นไม่เรียกฉุกเฉิน"

ผู้ตรวจประเมิน ตรวจเรื่องนี้อย่างไร ?

ผู้ตรวจประเมินจะทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุในแผน เพื่อหาข้อมูลว่า

  • แผนการจัดการเหตุฉุกเฉินนั้นครอบคลุมอุบัติการณ์ตามความเสี่ยงของสถานที่ผลิตนั้นหรือไม่
  • ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหรือไม่ว่าหน้าที่ ความสำคัญของกิจกรรมนั้นๆคืออะไร ( สังเกตุได้ว่าเรื่องนี้ต้องแจ้ง บอกกล่าว อบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องด้วย)

ข้อกำหนด ISO22000:2005

5.7 การเตรียมพร้อมและการตอบสนองสภาวะฉุกเฉิน (Emergency preparedness and response)

ผู้บริหารระดับสูงต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติและธำรงรักษาไว้ซึ่งขั้นตอนปฏิบัติในเรื่องการจัดการการเกิด สภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่มีนัยยะ (potential emergency situations and accidents) ที่ซึ่งอาจมีผลต่อความปลอดภัยในอาหาร และที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาทขององค์กรในห่วงโซ่อาหาร

บทความใกล้เคียง

Online

มี 35 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์