1.ถ้าสารปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ (Bata-agronist,Nitrofuran,Antibiotic ทั้งหลาย ที่กฎหมายกำหนดค่า MRL) ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ เนื้อสัตว์เป็น CCP (หากมองกันตาม Decision Tree เพราะมาจากเนื้อสัตว์ ไม่มี process ไหนกำจัด/ลดอันตรายดังกล่าวลงได้ ) แต่ตอนทำ HACCP ส่งกรมฯ และทำ BRC ทีมงานไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะต้องตรวจวัดสารดังกล่าว ซึ่งค่าตรวจวัดแพงมากๆ เพราะมีสารดังกล่าวตามกฎหมายเป็นร้อยๆตัว แต่ละตัวค่าตรวจหลัก 1,000 ขึ้น ทีมงานเลยให้เป็น PRP โดยใช้มาตรการการซื้อจาก Supplier ที่ได้รับการควบคุมจากกรมประมง + กรมปศุสัตว์จะได้ไหม
ขอแยกตอบคำถามนี้
A . ใช้มาตรการการซื้อจาก Supplier ที่ได้รับการควบคุมจากกรมประมง + กรมปศุสัตว์จะได้ไหมครับ
ได้แน่นอนครับ
ในขั้นตอนการเพาะปลูก เพาะเลี้ยง นั้นเป็นประเด็นปัญหาสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศเรา เพราะเรามักเป็นแหล่งต้นทางของวัตถุดิบ การจัดการจุดวิกฤตินี้คือการบริหารจัดการกระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบอย่างมี ประสิทธิภาพ ไม่ว่าการขึ้นทะเบียนรายชื่อ ประวัิติ ผลงาน การทำสัญญากับเกษตรกรรายย่อยให้ปลูกพืชตามเมล็ดพันธ์ที่แจกให้ มีการกำกับดูแลการใช้ปุ๋ยและยากำจัดแมลงอย่างเคร่งครัด สนับสนุนการใช้สารสกัดจากสมุนไพร การกำหนดพื้นที่เพาะปลูก (เช่นไม่ใกล้สถานที่ทิ้งสิ่งปฏิกูล ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เืพื่อลดโอกาศปนเปื้อนทั้งสารเคมีและเศษแก้ว เศษโลหะ) เพื่อลดอันตรายไมว่าเืพื่อลดอันตรายที่มากับวัตถุดิบ โดยใช้โปรแกรมการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบอย่างเข้มงวดเพื่อที่ไม่ต้องจัดการโดย HACCP โดยมีมาตรการควบคุมแบบ PRP ตามตัวอย่างข้างล่างนี้
ตัวอย่างที่ 1
ตารางที่ 2
จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าการเก็บตัวอย่างเพื่อทดสอบเป็นวิธีแบบหนึ่งของมาตรการควบคุม
B เรื่องการตรวจและค่าตรวจ
แต่ตอนทำ HACCP ส่งกรมฯ และทำ BRC ทีมงานไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะต้องตรวจวัดสารดังกล่าว ซึ่งค่าตรวจวัดแพงมากๆ เพราะมีสารดังกล่าวตามกฎหมายเป็นร้อยๆตัว แต่ละตัวค่าตรวจหลัก 1,000 ขึ้น
อันนี้เป็นคนละเรื่อง กฏหมายจะมีการกำหนดปริมาณสารพิษที่อนุญาติให้มีตกค้างในอาหาร ประเทศไทยจะเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 71,98
การใช้ระบบ HACCP, ISO22000, BRC ล้วนแล้วแต่เน้นการป้องกันเชิงระบบเพื่อให้อาหารปลอดภัย แต่ค่าต่างๆที่กำหนดปริมาณสารพิษที่อนุญาติไว้ ไม่ว่าอย่างไรเราจำ เป็นต้องตรวจสอบ (Food Inspection/Testing)โดยเฉพาะการผลิตอาหารเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริการและญี่ปุ่นที่กำหนดค่าไว้อย่างเข้มงวด หากไม่มีผลทดสอบ โอกาสถูกตีกลับมีความเป็นไปได้สูง การตรวจทดสอบนี้มักกระทำที่ผลิตภัณฑ์สุดท้าย
ในส่วนการตรวจรับมักใช้การตรวจสอบค่าทั่วๆไป เพื่อ monitor ค่าบางค่าเท่านั้นเช่นการใช้ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหาร กลุ่มฟอสเฟตและคารบาเมต ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ผลิตขึ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ในส่วนพิษ ในส่วนพิษจากโลหะหนักไม่ว่า อลูมิเนียม คัดเมียม ปรอท ตะกั่ว ปรอท สารหนู จำเป็นต้องใช้วิธีการทดสอบแบบ การเผาเพื่อนำเถ้าไปวิเคราะห์โลหะหนัก และการวิเคราะห์แ่ร่ธาติโดยเครื่องสเปกโฟโตมิเตอร์ ซึี่งหมายความว่าทำบ่อยๆไม่ได้ ใช้ เวลานานกว่าจะรู้ผล และใช้ตังอย่างมาก เราคงไม่ทดสอบค่าโลหะหนักกันบ่อยๆ นานๆทำทีกับวัตถุดิบอาจมีความเป็นไปได้แต่เป็นวัตถุุประสงค์เพื่อmonitor หรือเพื่อพิสูจน์ทราบบางอย่างเท่านั้น นอกนั้นตรวจที่ผลิตภัณฑ์สำเร็จ
การตรวจสอบทดสอบแบบนี้ใช้หลักการสุ่ม และการวิเคราะห์่ืทางเคมีเป็นการทดสอบแบบทำลาย ดังนั้นเราไม่สามารถใช้ต้วอย่างทั้งหมดในการวิเคราะห์ได้ เราจำเป็นต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างต้องมีปริมาณมากพอหรือตามแต่ข้อกำหนดกฏหมายหรืิอข้อกำหนด ลูกค้า การเตรียมตัวอย่างนั้นทำได้โดยการบด การกวนหรือผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ที่แนะนำได้คือนำวัตถุดิบหลายๆ ตัวมารวมกันผสมให้เป็นเนื้อเดียวและทดสอบที่เดียว เพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ที่แน่ๆ การทดสอบวัตถุดิบแบบนี้มีไว้เพื่อป้ิองกัน หากเกิดปัญหาจะไ้ด้รู้ก่อนเืพราะหากทดสอบที่ผลิตภัณฑ์หากค่าเกินจะเกิดความ เสียหายมาก
2.สาร Pesticide ในผักต่างๆ หากต้องตรวจตามประเทศปลายทาง บริษัทคงขายไม่ได้แน่ๆ แล้วจะประเมินอย่างไร ควบคุมอย่างไร ใช้เป็น PRP เหมือนข้อ1 ได้ไหม
สำหรับเรื่องนี้ มาตรฐาน ISO22000 เป็น PRP ตามปกติเหมือน HACCP-Codex แน่นอนครับ
3.การ Verifile + Validate ขั้นตอนดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของมาตรการการควบคุมตามข้อ 1 จะทำอย่างไรดี
เอาอย่างนี้
การ ver + var ในเรื่องการควบคุมผู้ส่งมอบทำไม่ได้หรอก ผมไม่มองว่าการทดสอบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตาม spec ที่กำหนดจะต้องกำหนดเป็น oPRP หรือ CCP แต่อย่างไร
แต่หากอยาก เอาอย่างนี้ครับ รวบขั้นตอนการตรวจรับวัตถุดิบซึ่งมีการตรวจพินิจ การทดสอบค่าบางค่าและกระบวนการล้าง เป็น "combine of control measure" อย่างนี้ดีและเหมาะครับ
จริงๆแล้วการลดสารพิษตรงนี้ เป็นเรื่องของการล้างครับ......
ยกตัวอย่าง....
การล้างผักผลไม้ สามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น
ลดปริมาณสารพิษ ร้อยละ 54 - 63 โดยวิธี
การแช่น้ำสะอาด 15 นาที หรือล้างน้ำใต้น้ำไหลผ่าน 2 นาที หรือล้วงด้วยน้ำยาล้างผักเข้มข้น 0.3%
ลดปริมาณสารพิษ ร้อยละ 50 โดย
ลวกผักหรือล้างผักด้วยน้ำร้อนแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 15 นาที ( หากเป็นน้ำอุ่นสามารถลดได้ถึง 80-90 %)
ล้างด้วยน้ำส้มสายชูเข้มข้น 0.5% ลดสารพิษได้ 60-84%
ทำการปอกเปลือกหรือลอกชั้นนอกของผักออก (หากลอกออกหลายชั้นจะปลอดภัยกว่าเช่นลอกออก 4-5 ชั้น)
การล้างผักเป็น มาตรการควบคุมชนิดหนึ่งที่ซึ่งสามารถทำการ verify/validationได้ ไม่ว่ากับมาตรฐาน HACCP-Codex, ISO22000, BRC โดยvalidate จากค่าสารพิษต่างๆที่คงเหลือ
สำหรับมาตรฐาน ISO22000 การล้างผักผลไม้นี้ อาจเป็น oPRP หรือ CCP แล้วแต่เหตุผล ความเหมาะสมในแต่ละองค์กร ....
4. ตอนนี้เราสุ่มตรวจเป็นบางสารที่กรมฯบอกให้ตรวจ/สามารถตรวจได้ แต่ไม่ได้ตรวจครบทุกสารตามที่อย.ออกประกาศ + ประเทศปลายทางระบุ MRL ผิดไหม
ไม่ผิดหรอก หากเป็นการตรวจวัตถุดิบ การตรวจสอบวัตถุดิบควรมีการกระทำเพื่อ monitor บางค่า
ผิดครับ หากหมายถึงว่าที่ผลิตภัณฑ์สุดท้าย เราไม่ได้มีการทดสอบ ตรวจสอบ สุ่มตรวจเืพื่อยืนยันการสอดคล้องกับข้อกำหนดกฏหมาย/ข้อกำหนดลูกค้าเลย แนะนำให้ทำการทดสอบบ้างครับ ตามความถี่ที่เหมาะสมหรือเท่าที่เราจะไม่มีปัญหาในการส่งของออกครับ
- END -