Login Form

HACCP system verification

HACCP : HACCP system verification
การทวนสอบ verification HACCP ทั้งระบบมีสองประเภทคือ
  1. การทวนสอบระบบ HACCP
  2. การทดสอบผลิตภัณฑ์
1.0 การทวนสอบระบบ HACCP
 
การทวนสอบ HACCP ทั้งระบบต้องมีการจัดทำ นอกจากการ verify ในแต่ละ CCPs ความถี่ในการทวนสอบชนิดนี้มักจะเป็นปีละครั้งหรือเมื่อพบว่าระบบ HACCP ล้มเหลวหรือ HACCP Plan มีการเปลี่ยนแปลง
 
เป็นหน้าที่ใคร
 
ทีมงานHAACP มักได้รับมอบหมายในการทำการทวนสอบนี้ แต่ไม่ว่าอย่างไรผู้ที่หน้าที่verify ระบบHACCP นี้ควรเป็นคนละคนกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำ HACCP Plan เพื่่อป้องกันการเกิดอคติและสามารถได้มุมมองในการปรับปรุงระบบ HACCP
สำหรับองค์กรขนาดเล็ก อาจใช้บุคคลากรหรือองค์กรภายนอกที่มีความสามารถในการทวนสอบนี้
การทวนสอบ HACCP system verification นี้ เป็นการกระทำเชิงระบบ ทั้งการตรวจสอบพื้นที่งานและบันทึก ผู้ที่กระทำการทวนสอบนี้ต้องไม่เป็นผู้เดียวกับผู้ที่กระทำการ monitoring
ความถี่ที่เหมาะสมในการทำการ HACCP system verification นี้ ควรเพียงพอที่จะทำให้มั่นใจว่า HACCP Plan ได้มีการปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแล้วแต่ความซับซ้อนของกระบวนการผลิตในแต่ละองค์กร
 
การตรวจติดตามภายใน (Audit)
 
การตรวจติดตามภายใน มักเป็นวิธีที่ใช้เรียกกันในการทำ verification HACCP System การตรวจติดตามภายในใช้หลักการเดียวกันกับมาตรฐานอื่นๆ เช่น ISO9001 ISO14001ที่องค์กรต้องจัดให้มีีการตรวจติดตามภายใน
การตรวจติดตาม เป็นการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานจริงกับระเบียบปฏิบัติ , HACCP Plan และ prerequisite program การตรวจติดตาม (Food Audit) ไม่เหมือนกับการทำ (Food Inspection) การทำ food inspection เป็นรูปแบบในอดีตที่เน้นผลิตภัณฑ์เป็นหลักและมองเป็นจุดๆ แต่การตรวจติดตามเป็นการตรวจทาน ทบทวนทุกอย่าง จากความมุ่งมั่นของผู้บริหารจนถึงการปฏิบัติของพนักงาน
ใน การตรวจติดตามภายใน องค์กรต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพราะเมื่อใช้คำว่าการตรวจติดตาม ทำให้แนวทางการตรวจติดตามไม่คลุมเครือ ผู้ตรวจประเมินรู้วิธีและวัตถุประสงค์การตรวจติดตาม
 
การจัดทำระบบตรวจติดตาม
 
ระบบ การตรวจติดตาม ควรระบุถึง ขอบเขตการตรวจประเมิน ข้อกำหนดการวางแผนการตรวจติดตาม ข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน การติดตามและการแก้้ไขป้องกัน รวมถึงบันทึกที่จะเป็น
สำหรับองค์กรที่จัดทำ ระบบ ISO 9001 มาก่อนระบบ HACCP ต้องทำให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์ของการตรวจติดตามได้มีการระบุอย่างชัดเจน รายการคำถามได้มีการจัดทำอย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์นี้ และผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ครวจติดตามต้องมีความรู้ในเรื่อง HACCP กระบวนการผลิต ข้อกำหนดกฏหมาย และ อันตรายในอาหารที่มี
การ ใช้รายการคำถาม บางองค์กรเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของตนจะนำรายการคำถามของลูกค้ามา ใช้ บางองค์กรจัดทำขึ้นเอง บางองค์กรใช้รายการคำถามทั่วๆ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งสิ้น
 
วัตถุประสงค์ / กิจกรรมหลักของ การ verification HACCP System
กิจกรรมอะไรบ้างในการกระทำการ HACCP system verification Activities
 
ทำการ check
  • Check ความถูกต้อง ของการระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์และแผนผัง
  • Check ว่าในแต่ละ CCPs มีการ monitor ตามที่ระบุใน HACCP Plan หรือไม่
  • check ว่า กระบวนการได้มีการปกิบัติ ควบคุม ภายใต้ค่า CL ที่ระบุ
  • Check ว่า บันทึีกได้มีการจัดทำ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามกรอบเวลาที่กำหนด
 
ทำการทบทวนบันทึก
  • กิจกรรม monitoring ได้มีการะทำตามที่ได้มีการระบุใน HACCP Plan
  • กิจกรรม monitoring ได้มีการกระทำตามความถึ่ที่ระบุใน HACCP Plan
  • กิจกรรมการแก้ไขได้มีการกระทำ เมื่อผลการ monitoring แสดงให้เห็นว่ามีการเบี่ยงเบนไปจากที่กำหนด
  • เครื่องมือวัดได้มีการสอบเทียบตามความถี่ที่ระบุใน HACCP Plan
รูปแบบการหาหลักฐานการตรวจติดตาม
 
ในการตรวจประเมิน วิธีการหาประจักษพยานหลักฐานการสอดคล้องกับ HACCP Plan หรือ prerequisite program มีความแตกต่างกัน ผู้ตรวจประเมินจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เทคนิคในการหาหลักฐานนี้

haccp audit

 

การตรวจติดตามโดย 3rd Party
 
รูปแบบการตรวจประเมินของบุคคลภายนอก จะประกอบด้วย
  • Technical Review ของการดำเนินการวิเคราะห์อันตรายและแต่ละ element ของ HACCP
  • On-site review เพื่อทวนสอบแผนผังต่างๆ
  • ตรวจสอบ บันทึกการ monitoring, correction ในแต่ละ CCPs
  • สัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการ monitoring, verification ในแต่ละ CCPs
  • ตรวจสอบ บันทึกการ verification
  • ทำการตรวจสังเกตุการณ์การปกิบัติการว่าได้มีการปฏิบัติตาม HACCP Plan หรือไม่
 
 
2.0 การทำการทดสอบ Microbiological ที่ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย
 
การทำการทดสอบจากห้อง LAB แม้ว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมในการ monitoring ประจำวัน หรือใช้ในการควบคุมการผลิตแต่สามารถใช้ในการ verification HACCP System ได้เป็นอย่างดี ผลการทดสอบนี้ สามารถใช้ในการยืนยันว่าภาพรวมของกระบวนการภายใต้ ระบบ HACCP นั้นอยู่ภายใต้การควบคุม
 
แบบฟอร์ม HACCP Verification
สำหรับองค์กร SMEs การทำรายการและบันทึกการทำ Verification ไว้ในที่เดียวกันเป็นแนวทางที่น่าสนใจ

haccp verification

บทความใกล้เคียง

Online

มี 19 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์