HACCP: Verification of CCPs
- รายละเอียด
-
ฮิต: 10587
HACCP: Verification of CCPs
ตามคำนิยามแล้ว CCPs เป็นหัวใจของ ระบบ HACCP Plan ในการควบคุมมีอันตรายในอาหาร ด้วยเหตุผลนี้ กิจกรรมและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ต้องได้รับการรับรอง, ยืนยันและปฏิบัิติตามอย่างเข้มงวด
ในการกระทำการ Verification ในแต่ละ CCPs นั้นประกอบด้วย
- Verification of CLs, CCP Monitoring and Corrective Action
- การทบทวนบันทึกในแต่ละ CCPs
- การสอบเทียบ
การทวนสอบค่า Cls, CCPs monitoring และ Corrective Actions
ทุกๆ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ CCPs จำเป็นต้องทำให้มั่นใจว่า ได้มีการกระทำที่สอดคล้องกับ HAACP Plan ซึ่งหมายถึงการกำหนหน้าที่ความรับผิดชอบได้มีการระบุ และได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุใน HACCP Plan กิจกรรม การ monitoring มีความถี่อย่างเหมาะสม กิจกรรมการแก้ไขได้มีการกำหนดและปฏิบัติตาม
ในการทวนสอบว่ากิจกรรมการ Monitoring กระทำอย่่างเหมาะสมหรือไม่ เราสามารถกระทำโดยการสุ่มทดสอบ เพื่อเป็นการยืนยันว่ากิจกรรมที่กระทำในการ monitoring เพียงพอหรือไม่ เช่น การทำ swap test ในเรื่องการล้างมือ หรือ การทำความสะอาดเครื่องจักร
การสุ่มตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบ นี้ยังอาจเป็นส่วนหนึ่งของระบบการตรวจรับวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ ( Incoming inspection) การทดสอบนี้เป็นการพิสูจน์ทราบว่า ซัพพลายเออร์ได้มีการกระทำตามระเบียบความปลอดภัยอาหารหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบผลการทดสอบวัตถุดิบ กับ สเป็คของวัตถุดิบนั้นๆ
ในระบบความปลอดภัยในอาหาร มีหลักการว่า "หากเราไม่สามารถทำการ Monitoringได้ เราควรชดเชยโดยการ verification"
ตรวจทาน บันทึกที่เกี่ยวข้องกับ CCPs
การทวนสอบ ตรวจทาน เอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับ CCPs เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงบันทึกอื่นๆ เช่น บันทึกการ monitoring, การ corrective action, บันทึกการสอบเทียบ และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ CCPs นั้นๆ
บันทึกต้องได้รับการทวนสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ได้มีกิจกรรมได้มีการกระทำ ตามที่ระบุใน HACCP Plan เช่น
- บันทึกที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการ monitoring ;ได้มีการกระทำตามระเบียบปฏิบัติและความถี่ ที่เหมาะสม หน้าที่ความรับผิดชอบได้กำหนดอย่างชัดเจน บันทึกที่ี่เกี่ยวข้องได้รับการลงข้อมูลอย่างครบถ้วน
- การทบทวนบันทึกการสอบเทียบ ; การทบทวนบันทึกการสอบเทียบ รวมถึงการตรวจทาน วันที่และวิธีการในการสอบเทียบ รวมถึงผลการสอบเทียบ (ผ่าน / ตก) บันทึกการสอบเทียบต้องได้รับการจัดเก็บ การทบทวนเอกสารประเภทนี้ มักทำพร้อมกับการตรวจติดตามภายใน
- การแก้ไข ; ในกรณีที่ค่า CLs มีการเบี่ยงเบนไปจากค่ากำหนด ค่า CLs กิจกรรมการแก้ไขมีการนำไปปฏิบัติ รวมถึงกิจกรรมการตัดสินใจที่ได้ตัดสินใจไปต้องได้รับการบันทึก
การสอบเทียบ
ประสิทธิผลของการ monitoring ค่า CLs ขั้นอยู่กับ ความแม่นยำ เที่ยงตรง ของเครื่องมือวัด
แม้ว่ากระบวนการสอบเทียบ มักเป็นส่วนหนึ่งชองระบบโปรแกรมพื้นฐาน ( prerequisite program) แต่ในการสอบเทียบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ HACCP Plan การสอบเทียบจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องทวนสอบตามระบบ HACCP
เราทำการสอบเทียบ เพื่อทำการทวนสอบความแม่นยำ เที่ยงตรง สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดในแ่ต่ละ CCPs หากเราไม่สอบเทียบเราจะไม่ทราบว่าผลการวัดจากเครื่องมือที่ออกมานั้น แม่นยำ เที่ยงตรง น่าเชื่อถือหรือไ่ม่
ในการสอบเทียบนั้น หากผลการสอบเทียบเครื่องมือแล้วพบว่า
เครื่องมือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แสดงว่าผลที่ได้จากการ monitoringที่ผ่านมา (นับจากการสอบเทียบครั้งหลังสุดที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน) ไม่น่าเชื่อถือ
เมื่อค่า Monitoring ไม่น่าเชื่อถือ จะทำให้ CLs /CCP ไม่น่าเชื่อถือไปด้วย
ดังนั้นการกำหนดความถี่ในการสอบเทียบนั้นนอกจากคำนึงถึง Sensitivity แล้ว ต้องคำนึงผลที่ตามมาของการคลาดเคลื่อนของเครื่่องมือวัดนั้นๆด้วย
ข้อคิด
ในแต่ละ CCPs มีบันทึกอยู่ 2 ชนิด คือ บันทึกค่า monitoring และ บันทึกการกิจกรรมการแก้ไข ตัวบันทึกเองไม่มีประโยชน์ต่อองค์กร จนกว่ามีบางคนทำการตรวจทานเอกสารนั้น ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน QA/QC ก็ตาม
วัตถุประสงค์การตรวจทานนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้มีการปฏิบัติตาม HACCP Plan แต่ละ CCPs มีการปฏิบัติตามและอยู่ภายใต้เกณฑ์กำหนด ซึ่งเช่นกันเป็นการตรวจทานว่า กิจกรรมการแก้ไขได้มีการกระทำสำหรับการเบี่ยงเบนต่างๆ ตามเนวทางที่กำหนดและปลอดภัย
ใน กรอบของเวลากำหนด ผู้ที่รับผิดชอบต้องทำการตรวจทาน ลงรายนามและลงวันที่ในการยืนย้นความถูกต้องและสมบูรณ์ ในระหว่างการตรวจทานบันทึกนี้ หากพบประเด็นการผิดพลาด ต้องออกรายงานสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
ความหมายของตรวจทานเอกสารนี้ มักมีชื่อเรียกทั่วไป คือการ Review หรือ approved บันทึกที่เกี่ยวข้องกับ CCPs นั้นๆ (รอบเวลา ในการตรวจทานเอกสารนี้ซ้ำ อาจเป็น รายวัน รายสัปดาห์ หรือก่อนสรุป lot/batch แล้วแต่ประเภท/ชนิดของการผลิต )
แผนการ Verification บันทึกที่เกี่ยวข้องกับ CCPs
วิธีการง่ายๆในการกำหนดแผนการ verify ตามรูปแบบตารางข้างล่างนี้ เป็นแนวทางในการวางแผนการ verification ที่ดี
ระบุวิธีการ Verification ในแต่ละ CCPs
โดยทั่วไปกิจกรรม Verification ในแต่ละ CCPs มักมีการระบุอยู่ใน HACCP Plan อยู่แล้ว ดังนั้นท่านไม่ต้องระบุ กิจกรรม verification เพิ่มเติม