Login Form

การประเมินประสิทธิผลการอบรม

ความรู้ ทักษะ แต่ละเรื่อง แต่ละองค์กร แตกต่างกัน
เรามีความเข้มงวดกับ ความรู้ ทักษะ คนที่ไม่เหมือนกัน
เพราะแต่ละองค์กรต้องการ คนเก่ง ที่ไม่ใช่แบบเดียวกัน

คนเป็นหัวใจขององค์กรในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและการพัฒนา
ดังนั้นความเข้าใจ ในเรื่องนี่ จึงสำคัญ
เพราะองค์กรแต่ละองค์กร ต่างกัน
เพราะแต่ละฝ่ายแผนก ต่างกัน
เพราะหัวข้ออบรมในแต่ละหัวข้อมีวัตถุประสงค์ที่ ต่างกัน
แต่ต้องประเมินผลเหมือนกัน
แล้วประเมินอย่างไรดี !!!
......................

อะไรคือการประเมินผล

การประเมินผลคือการคำนึงถึง ผล ( ลัพธ์ )
หรือกล่าวได้ว่า การประเมินผลในที่นี่คือการประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินการ ......
หากเป็นการอบรม ก่อนการจัดอบรมเราต้องการให้เกิดผลอะไร เช่น ให้รู้ ใหทำงานอย่างระวัง ให้สามารถทำได้ ให้ปรับตั้งเครื่องจักรเป็น
ดังนั้นหลังอบรมเราต้องประเมินผลลัพธ์การอบรมว่า แล้วรู้แล้วหรือยัง แล้วทำงานอย่างระวังหรือยัง แล้วทำได้หรือยัง แล้วทำเป็นหรือยัง

แนวทางการประเมินผลลัพธ์ของการอบรม

1. พิจจารณาว่าต้องมีการประเมินผลหรือไม่ ...
หากหัวข้อการอบรมนั้น เกี่ยวข้องกับ ความรู้ ทักษะ ที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ ตามข้อกำหนด ISO9001:2008 ; 6.2.2 a แปลว่าต้องมีการประเมินตามข้อ 6.2.2 c
หากการอบรมนั้นๆไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถใดๆ หรือมิำได้จัดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาใดๆขององค์กร ก็ไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดในการประเมินผลลัพธ์

2. ระบุผลลัพธ์ที่ต้องการ
ผลลัพธ์นี้ได้มาจากการวิเคราะห์ความต้องการและวัตถุประสงค์การอบรม

โดยทั่้วไปผลลัพธ์แบ่งเป็น 2 ชนิด

2.1. เชิงตัวเลข
เช่น อัตราการเกิดของเสีย, ค่า productivity ในแผนกงาน ,จำนวนชิ้นงานที่ทำได้, ความเร็วในการผลิต , อัตราการเกิดอุบัติเหตุ

2.2 เชิงพฤติกรรม
เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล เช่น การฝ่าฝืนกฏระเบียบ , ความรู้

3.พิจารณา ระยะเวลา และรูปแบบในการเก็บข้อมูลเพื่อการประเมิน

การสร้างคน การพัฒนาคน การฝึกคน
เป็นการใช้เวลา เหมือนปลูกต้นไม้
เราไม่สามารถเนรมิตให้ออกดอกออกผลชั่วข้ามคืน
ดังนั้น ระยะเวลา ตั้งแต่อบรม จนถึง ประเมิน
อาจ เป็น หลายๆ เดือน ก็ไม่เห็นแปลก หรืออาจหลังอบรมทันทีก็มี
แต่อย่าลืม ว่ากว่าเราจะได้เห็นผล กว่าสิ่งที่เราลงทุนทำการอบรมจะออก ดอก ออกผล มักใช้เวลาครับ

สรุป

ค่า KPI สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิผลการอบรมได้

มาตรฐานในการทำงาน( QP, SOP, WI, ค่าสมรรถนะในการผลิต, ความเร็วในการประกอบ, อัตราการเกิด defect ...) สามารถใช้เป็นเกณฑ์ ในการประเมินประสิทธิผลการอบรมได้

 

Online

มี 28 ผู้มาเยือน และ สมาชิกหนึ่งคน ออนไลน์