Login Form

FSSC22000 เหมือนหรือต่างกับ ISO22000:2005 อย่างไร ?

FSSC22000 เหมือนกับ ISO22000:2005 อย่างไร ?

ในการประยุกต์ใช้มาตรฐาน FSSC22000 นั้นมีข้อกำหนดที่ท่านต้องทำให้สอดคล้อง ไว้ที่ Part I requirement to obtain Certification ในส่วนที่ 3 เรื่องข้อกำหนดสำหรับระบบความปลอดภัยในอาหาร ซึ่งจะกำหนดไว้ทั้งหมด 4 เรื่องด้วยกัน 

 

FSSC22000 diagram rev 3

ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างของข้อกำหนด FSSC22000

 

ส่วนที่เหมือนกันของ  ISO22000:2005 กับ FSSC22000 ?

ข้อที่ 3.1 ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร

นั้นให้ใช้ตามข้อกำหนดของ ISO22000:2005 ซึ่งก็หมายความว่าข้อกำหนดต่างๆที่ท่านได้มีการประยุกต์ใช้อยู่แล้วสำหรับ ISO22000:2005 ก็สามารถใช้ต่อเนื่องได้ ส่วนท่านที่ยังไม่ได้การรับรอง ISO22000:2005 มาก่อน ก็ต้องศึกษาว่าข้อกำหนด ISO22000:2005 มีอะไรบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนด FSSC22000 ข้อที่ 3.1

ส่วนที่ต่างกันของ  ISO22000:2005 กับ FSSC22000 ?

 

 ข้อที่ 3.2 ในข้อกำหนดของ FSSC22000 เรื่องของโปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐาน Prerequisite programmes

ระบุว่าหากท่านประยุกต์ใช้ข้อกำหนด 7.2 ตาม ISO22000 นั้น ต้องมีการพิจารณานำไปใช้ของข้อกำหนดเฉพาะต่อ sector นั้นๆ ที่อ้างอิงไว้ในข้อกำหนดนี้คือ สำหรับกลุ่มสินค้าที่เป็น Category C D E L (ซึ่งก็คือ โรงงานที่ผลิตอาหาร เช่น อาหารทะเลแช่แข็ง ไก่สดและแปรรูป ผลไม้อบแห้ง  ขนมปัง เครื่องเทศ จะเป็น นั้น ให้ประยุกใช้ ข้อกำหนดของ ISO/TS 22002-1 (ข้อกำหนดขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ผลิตอาหาร) ซึ่งเดิมเคยใช้ PAS220 แต่มีได้การยกเลิกไป

ส่วนกลุ่มสินค้าที่เป็น CategoryM  เช่น ผู้ผลิตกระป๋อง ขวดพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ให้ประยุกต์ใช้ข้อกำหนด PAS223  (ข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ )  โดยอนาคตอันใกล้ PAS223 จะถูกยกเลิกแล้วใช้ ISO/TS 22002-4 was published in 2013 ภายใน 1 พฤศจิกายน 2557 นี้

และท่านก็ยังคงต้องพิจารณา ซึ่งข้อกำหนดเฉพาะพิจารณาได้จาก ข้อกำหนดกฎหมายต่างๆ เช่น กลุ่มเนื้อสัตว์ ซึ่งจะมีข้อกำหนดของแต่กลุ่มสินค้านั้นๆ ซึ่งท่านก็ต้องอ้างอิงตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ กลุ่มของอาหารที่มาจากสัตว์น้ำ ก็ต้องอ้างอิงข้อกำหนดด้านโปรแกรมสุขลักษณะขั้นพื้นฐานของกรมประมง เป็นต้น ข้อกำหนดเฉพาะที่มีอ้างอิงไว้หรือมีแนวปฎิบัติที่เขียนไว้ เช่น codex ต่างๆ หรือ มอก.ที่ไม่ได้เป็นเครื่องหมายบังคับต่างๆ ข้อกำหนดของลูกค้า เช่น น้ำที่ท่านใช้ในการล้างมือต้องเป็นน้ำอุ่น เป็นต้น ท้ายที่สุดทั้งหมดให้ท่านจัดทำเป็นเอกสารไว้

ข้อที่ 3.3 เป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้

  1. ข้อกำหนดสำหรับงานบริการ เช่น กิจกรรมสาธารณูปโภคต่างๆ งานขนส่ง งานซ่อมบำรุง โดยท่านต้องมี

-          มีการกำหนดข้อกำหนดที่เฉพาะสำหรับงานบริการต่างๆ เช่น งานรับบริการขนส่ง ผู้ที่มารับบริการต้องได้รับการรับรองมาตราฐาน ISO9001 ต้องมีรถสำรองกรณีเกิดฉุกเฉิน ซึ่งรูปแบบของเอกสารที่เตรียมไวอาจจะเป็น contract agreement เป็นสัญญาของการจ้างงานบริการก็ได้

-          ต้องมีการจัดทำเป็นเอกสาร เพื่อให้สามารถใช้ในการวิเคราะห์อันตรายในขั้นตอนของ HACCP ได้

-          ต้องดูแลและปฏิบัติให้สอดคล้องตามข้อกำหนดเฉพาะ PRPs ของ sector นั้น ๆ ตามที่กล่าวไว้ใน

ข้อ 3.2 ของข้อกำหนด FSSC อ้างอิงตามข้อกำหนด ISO22000 ข้อที่ 7.2.3.f และ 7.3.3

  1. การควบคุมดูแลบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับข้อปฏิบัติของความปลอดภัยของอาหาร

องค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร ต้องมั่นใจว่าประสิทธิภาพในการควบคุม ดูแลบุคคลากร ว่าได้มีการดำเนินการสอดคล้องตามข้อกำหนดทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และ ได้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงานนั้นๆ เช่นพนักงานคลังสินค้าสำเร็จรูปต้องสวมรองเท้าที่ สวมหมวก สวมชุดตามที่กำหนด ล้างมือก่อนเข้าทำงาน ท่านดูและและควบคุมให้พนักงานคลังสินค้าสำเร็จรูปปฏิบัติได้สอดคล้องตามที่กล่าวข้างต้นได้อย่างไร ? นั้นคือสิ่งที่ข้อกำหนดนี้อยากให้กำหนดไว้ เป็นต้น

อ้างอิงข้อกำหนด ISO22000 ข้อที่ 6.2.2

  1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจง

องค์กรที่จะขอการรับรองนั้นต้องมั่นใจว่าข้อกำหนดของการส่วนผสมและวัตถุต่างๆนั้นได้มีกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ครบถ้วน เช่น กระทรวงสาธารณะสุข ประกาศฯ ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) ห้ามใช้สีในอาหารบางชนิด ได้แก่ ผักและผลไม้สด เนื้อสัตว์ปรุงแต่งรส บะหมี่ กะปิ กุ้งแห้ง ลูกชิ้น น้ำพริก กุนเชียง ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าข้อกำหนดของส่วนผสมและวัตถุที่ใช้ในการผลิตสอดคล้องตาม ประกาศดังกล่าว นั้นคือสิ่งที่ท่านต้องเตรียมไว้

  1. การรับการตรวจโดยมีการแจ้งล่วงหน้าแต่ไม่มีโปรแกรมของการตรวจ สำหรับองค์กรที่ได้รับการรับรอง

หน่วยงานที่ให้การรับรององค์กรท่านจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจในลักษณะ “ Risk base program of office audit ” ซึ่งจะมีการแจ้งก่อนล่วงหน้าแต่รายละเอียดการตรวจจะไม่มีกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งการตรวจดังกล่าวตามข้อกำหนดของ GFSI

ซึ่งก็หมายความว่า เป็นข้อกำหนดหนึ่งที่ท่านจะต้องปฏิบัติตาม โดยมีการตรวจนอกรอบจากที่ CB ท่านตรวจอยู่แล้วตามปกติ ซึ่งขึ้นกับความเสี่ยงในสินค้าต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นมีการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ปีกที่ผ่านมา องค์กรท่านอาจจะได้รับการสุ่มตรวจ แต่ก็สบายใจได้อย่างว่า CB ท่านจะเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจครั้งนั้นๆ

  1. การจัดการกับปัจจัยการผลิตต่างๆ

องค์กรต้องประยุกต์ใช้ระบบที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ของ ปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เพื่อที่จะรับรองว่าสินค้ามีความปลอดภัย โดยการวิเคราะห์ต่างๆต้องดำเนินการได้เทียบเท่ากับมาตรฐาน ISO17025

ยกตัวอย่างเช่น มีการสุ่มตรวจด้านเชื้อจุลินทรีย์ อย่างน้อยที่สุดหากห้องปฏิบัติการท่านไม่ได้รับการรับรอง ISO17025 แต่วิธีการที่ใช้ก็ต้องอยู่ในระดับที่เทียบเท่ากับข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน ISO17025

 

ข้อที่ 3.4 เอกสารอ้างอิง ต่างๆ

 

เพื่อ update ตัวท่านเองได้ที่  http://www.fssc22000.com/documents/home.xml?lang=en

 

Online

มี 30 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์