Predictive maintenance & ISO/TS 16949 Part 3 - เทคนิคที่ 1 : Vibration monitoring and Analysis

เทคนิคที่ 1 : การติดตามการสั่นสะเทือนและวิเคราะห์ผล (Vibration monitoring and Analysis)

                อุปกรณ์ทางกลทุกชนิดที่มีการเคลื่อนที่ จะก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนขึ้นเสมอ ระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นด้วยความเร็ว, ด้วยการหมุน, การเคลื่อนที่เชิงเส้น, ฯลฯ การวิเคราะห์การสั่นสะเทือนสามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ทางกลทุกชนิด ถึงแม้ว่าสมมุติฐานโดยทั่วไป จะประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรที่มีรอบการหมุนตั้งแต่ 600 รอบต่อนาทีขึ้นไป (rpm)

                การเฝ้าติดตามลักษณะการสั่นสะเทือนของอุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อตรวจจับปัญหาหรือความล้มเหลวที่กำลังจะเกิดขึ้นและเป็นการปัองกันความเสียหายรุนแรงต่อเครื่องจักร อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ในการวิเคราะห์ถึงอุปกรณ์ทางไฟฟ้า, พื้นที่ที่เกิดความร้อนสูง, จุดที่มีการหล่อลื่น และข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ ดังนั้น การจัดการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ทั้งองค์กรจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคหลาย ๆ อย่างรวมกัน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้ครอบคลุมทุกความเสี่ยง

การสั่นสะเทือนของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตโดยทั่วไป ในภาวะปกติจะมีการสั่นสะเทือนอยู่ในค่าเฉลี่ยค่าหนึ่ง ซึ่งสามารถจับสัญญาณออกมาเป็นกราฟได้ ดังตัวอย่างกราฟแสดงการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรในอุตสาหกรรม

vibration profile predictivemaintenance part3                       

อย่างไรก็ดีการจะนำข้อมูลการสั่นสะเทือนไปใช้ประโยชน์ได้ต้องมีการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ผล โดยแยกแยะความแตกต่างระหว่างสถานะปกติ และไม่ปกติของเครื่องจักร โดยใช้กราฟลักษณะการสั่นสะเทือน

โดยทั่วไปการวิเคราะห์ความผิดปกติจะอยู่บนพื้นฐานดังนี้

  • เครื่องจักรที่มีปัญหาและมีความผิดปกติจะมีลักษณะการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ผิดปกติจากเครื่องอื่น ชนิดเดียวกัน (บนพื้นฐานของการสั่นสะเทือนมาตรฐานของเครื่องจักรนั้น)
  • เปรียบเทียบระหว่างการสั่นสะเทือนมาตรฐานของเครื่องจักรเมื่อการใช้งานผ่านระยะเวลาไป ซึ่งหากมีความผิดปกติการสั่นสะเทือนจะมีการเปลี่ยนรูปแบบ

เทคนิคการวิเคราะห์การสั่นสะเทือน

  1. Trending การวิเคราะห์ตามแนวโน้ม

ส่วนใหญ่ใช้กับกรณีที่การวัดไม่มีโหลดติดอยู่กับเครื่องจักร

  1. Comparative analysis การวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูล

เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า 2 ชุดขึ้นไป เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงในสภาวะการทำงาน โดยใช้ข้อมูล base line ตอนเริ่มต้น, รีเซ็ตหลังจากซ่อมบำรุง, ใช้ข้อมูลเปรียบเทียบในกลุ่มอุตสาหกรรม, ฯลฯ

  1. Signature analysis การวิเคราะห์โดยเทียบกับรูปแบบมาตรฐานเฉพาะ (full Fast Fourier Transform (FFT) Signature) ใช้ในการกำหนดลักษณะเฉพาะของแต่ละเครื่องจักร

แต่อย่างไรก็ดี ไม่จำเป็นเสมอไปที่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสั่นสะเทือนจะเป็นผลมาจากความเสียหายของเครื่องจักร จึงต้องพิจารณาจากทั้งขนาดและความถี่ โดยควรให้ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ผลเพื่อความถูกต้องของการวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการวัด 

ส่วนใหญ่มี 2 ประเภทคือ Transducer และ Portable Vibration Analyzers

เทคนิคนี้ การดำเนินการหากไม่มีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญควรให้ผู้รับจ้างช่วงภายนอก ที่มีความเข้าใจดีในเครื่องจักรนั้น ๆ ทำการวัดและวิเคราะห์ผลให้เพื่อความถูกต้อง และทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ตรงจุด