โรงงานอาหาร ควรตรวจไวรัสตับ A หรือ B ดี ?

การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่เสียค่าใช้จ่าย ก่อนจะจ่ายไม่ว่าให้พนักงานจ่ายหรือบริษัทต้องจ่าย ควรต้องมีเหตุมีผลเแห่งการเสียค่าใช้จ่ายนี้ ควรต้องมีที่มาทีี่ไปมีความรู้ หากเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นไม่ว่าเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหรก็ต้องทำกับการตรวจสุขภาพและเช่นกันในทางกลับกันเราไม่ควรต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่มขั้นตอนเมื่อสิ่งนั้นไม่จำเป็น

ดังนั้นก่อนจะคุยกันเรื่องการตรวจโรคว่าต้องตรวจหรือไม่อย่างไร  ให้ดูที่มาที่ไป เหตุและผล ทางวิทยาศาสตร์ กฏหมายกันก่อนนะครับ ว่าอาหารถูกแพร่เชื้อโรคจากคนอย่างไร


1. ผู้สัมผัสอาหารสามารถแพร่โรคได้อย่างไร
1. กรณีที่เป็นพาหะของโรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น ผู้สัมผัสอาหารมีเชื้อโรคไทฟอยด์อยู่ในตัว แต่ไม่แสดงอาการ
2. ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัส ได้แก่

– โรคอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ ซึ่งสามารถติดต่อได้ หากไม่ล้างมือให้สะอาดหลังออกจากห้องส้วมแล้วใช้มือหยิบจับอาหาร

– วันโรค หวัด ตับอักเสบชนิดเอ สามารถติดต่อได้ทางน้ำมูก น้ำลาย ในกรณี ที่ไอจาม หรือพูดคุยรดอาหาร

3. ในกรณีที่มีบาดแผล ฝี หนอง เชื้อโรคในบาดแผลอาจจะปนเปื้อนลงในอาหารระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ขณะที่ใช้มือที่เป็นแผลหยิบจับอาหาร
4. ในกรณีที่มีผู้สัมผัสอาหารมีสุขภาพดี ไม่เป็นพาหะของโรค แต่มีพฤติกรรมในการปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหารไม่ถูกต้อง เช่น ไอ จามรดอาหาร ใช้มือหยิบจับอาหาร ก็อาจทำให้อาหารถูกปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคและสิ่งสกปรกได้
2 เวลาไอจาม พูดคุย สามารถแพร่เชื้อโรคได้ไกลแค่ไหน
การศึกษาใหม่พบว่า การไอ (cough) หรือจาม (sneeze) แต่ละครั้งจะทำให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก (droplets / aerosols) ฟุ้งกระจายไปในอากาศได้นานกว่า 1 ชั่วโมง
การแพร่เชื้อโรคผ่านได้ทางไหนบ้าง
(1). ผ่านการสัมผัสโดยตรง เนื่องจาก "น้ำมูก-น้ำลาย-เสมหะ" ของคนป่วยปนเปื้อนผ่านมือไปป้ายตามเครื่องมือของใช้ต่างๆ
(2). ผ่านละอองฝอยจากการจามหรือไอ ซึ่งละอองฝอยขนาดใหญ่จะลอยฟุ้งในอากาศได้ไม่นาน แต่ละอองฝอยขนาดเล็กจะลอยอยู่ได้นาน การศึกษาหลายรายงานพบว่า ละอองฝอยขนาดเล็กลอยฟุ้งในอากาศได้นานหลายชั่วโมงจนถึงหลายวัน
การไอแต่ละครั้งจะทำให้เกิดกระแสลมเร็ว 50 mph (ไมล์/ชั่วโมง), แพร่กระจาย 3,000 ละอองฝอย (droplets), ทำให้เชื้อกระจายไปได้หลายฟุต (ประมาณ 1.8 เมตร) โดยทั่วไปใช้ระดับการควบคุมระยะที่ 3 ฟุต ( 1 เมตร)
การจามแต่ละครั้งจะทำให้เกิดกระแสลมเร็วมากกว่า 100 mph (ไมล์/ชั่วโมง) แพร่กระจาย 40,000 ละอองฝอย (droplets), ทำให้เชื้อกระจายไปได้หลายฟุต (ประมาณ 1.8 เมตร)โดยทั่วไปใช้ระดับการควบคุมระยะที่ 3 ฟุต ( 1 เมตร)
(3). การติดเชื้อที่แพร่กระจายในอากาศ

3. กฏกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร พรบ 2522 กำหนดเรื่องนี้ไว้อย่างไร
กฏกระทรวง กำหนดว่า
ต้องไม่ใช้ จ้าง วาน คนไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือน หรือคนซึ่งเป็นพาหะของโรคหรือซึ่งเป็นโรคดังต่อไปนี้ ปฏิบัติงานในสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
(ก) โรคเรื้อน , (ข) วัณโรคในระยะอันตราย, (ค) โรคติดยาเสพติด, (ง) โรคพิษสุราเรื้อรัง, (จ) โรคเท้าช้าง, (ฉ) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ,
และต้อง รับคนงานที่ปรุงหรือผลิตอาหารเฉพาะผู้มีใบรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าไม่เป็นโรคตาม ข้างต้นและ ต้องจัดให้คนงานได้รับการตรวจร่างกาย โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และให้เก็บเอกสารการตรวจร่างกายไว้เป็นหลักฐาน

4. เมืองนอกเขาว่าอย่างไรเรื่องการตรวจโรคนี้
ไปดู Food Code 2009 ของ FDA ตามแนบ ข้อบังคับที่2-201.11 กำหนดให้ว่า พนักงานที่ทำงานสัมผัสอาหารต้อง ได้รับการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยจากเชื้อ Salmonella Typhi, Shigella spp, Escherichia coli และ ไวรัส A

5. ไวรัสต่างจาก แบคทีเรีย เชื้อรา อย่างไร
ไวรัส ไม่เหมือนแบคที่เรียหรือรา , ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนในอาหาร และไม่ได้ทำให้อาหารเสีเป็นพิษ เนื่องจากการไม่เจริญในอาหาร ด้วยเหตุนี้ ไวรัสมีโอกาสต่ำมากที่จะปนเปื้อนในห่วงโซ่การจัดหาอาหารและมักมีอายุสั้นและทำลายด้วยความสภาวะแวดล้อมได้ง่าย ซึ่งต่างจากกลไกการทำให้เกิดการเน่าเสียของจุลินทรีย์ หรือก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย

6. ไวรัสตับ Aกับ ไวรัส B ต่างกันอย่างไร
เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สามารถติดต่อทาง เลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง ซึ่งต่างจาก ไวรัสตับอักเสบเอ
เชื้อไวรัสตับอักเสปเอ ติดต่อได้โดยการรับประทาน อาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าทางลำไส้และไปเจริญเติบโตในเซลล์ ตับ ขับออกมาทางน้ำดีและปนมากับอุจจาระ เชื้อไวรัสมีความคงทนต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในน้ำและที่ชื้นเป็นเวลาหลายเดือน
ไวรัสตับเอจะถูกทำลายโดยการต้มให้เดือดหรือความร้อนที่มากกว่า 85 องศาเซลเซียสขึ้นไป ด้วยเหตุผลนี้ จึงอาจมีการแพร่กระจายไวรัสตับอักเสบชนิด เอ มาจากผู้ที่ชอบทานหอยดิบๆหรือลวกสุกๆดิบๆ ที่มาจากแหล่งน้ำไม่สะอาด

ไวรัสตับอักเสบบี จะติดต่อกันได้โดยการ สัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ป่วยตับอักเสบหรือผู้เป็นพาหะเท่านั้น เชื้อไวรัสนี้ไม่สามารถอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในแม่น้ำลำคลอง ที่พื้นห้อง หรือที่ชื้น ได้ และที่สำคัญอาจต้อง กรีดเลือดกรอกใส่อาหาร (ลาบเลือด)ในปริมาณมากขนาดเอ็ดเวอร์ดดูดคอเบลล่า และต้องฟันผุ มีเลือดออกตามไรฟัน จึงค่อยบรรจบกันจนมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคทางอาหาร

สรุป
ด้วยเหตุผลความปลอดภัยในอาหาร ให้ตรวจ ไวรัสตับ A (Hepatitis A ) ส่วน B ไม่ต้อง ซึ่งเป็นไปตามหลักการ หลักวิทยาศาสตร์และกฏหมายบ้านเรารวมถึงบ้านนอก(USA) ครับ หากบริษัทรวยและจ่ายตังค่าตรวจให้พนักงานก็ตามสบายครับ เหมือนตรวจสุขภาพดูแลเอาใจใส่พนักงานครับ พนักงานจะได้มีขวัญกำลังใจ ได้รับการดูแลสุขภาพส่วนตัวจากบริษัทครับ ส่วนความปลอดภัยในอาหารนั้นแทบไม่เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบีครับ ที่ตรวจกันมากเพราะโรงพยาบาลไม่เข้าใจครับ หรืออยากมีรายได้มั้ง