Login Form

ISO/TS 16949 ความแตกต่างระหว่าง Preventive & Predictive Maintenance

ISO/TS 16949 ความแตกต่างระหว่าง Preventive  & Predictive Maintenance

 

TS 16949 ได้ให้คำนิยามอะไรไว้

อะไรคือนิยามของ predictive maintenance /preventive

คำจำกัดความ คำนิยามที่ระบุไว้ในหัวข้อ 3.1 ของข้อกำหนด ISO/TS 16949:2002 ระบุว่า

3.1.7 Predictive maintenance

Activities based on process data aimed at the avoidance of maintenance problems by prediction of likely failure modes

3.1.7 การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์

กิจกรรมการใช้ข้อมูลจากกระบวน การ มาดำเนินการวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยพยากรณ์โอกาสที่จะเกิดการสูญเสีย หน้าที่การทำงานของเครื่องจักร

3.1.8 Preventive maintenance

Planned action to eliminate causes of equipment failure and unscheduled interruptions to production , as an output of the manufacturing process design

3.1.8 การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

กิจกรรมที่ได้วางแผนไว้ เพื่อกำจัดสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย และหยุดผลิต โดยที่ไม่ได้ กำหนดไว้ล่วงหน้ากิจกรรมนี้เป็นผลที่ได ้จากการออกแบบกระบวนการผลิต
อะไรคือความแตกต่างหลัก

Predictive Maintenance คือการคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักร จากผลการวัดโดยใช้เครื่องมือจะสามารถทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถคาดคะเน ทำนาย พยากรณ์อาการชำรุดในปัจจุบันเพื่อสามารถจัดวางแผน เพื่อทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรในอนาคต ซึ่งแตกต่างจาก preventive maintenance ที่ซึ่งทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นโดยอาจได้มาจาก ประสบการณ์ หรือคู่มือการใช้งานของเครื่องจักรนั้นๆ

การกระทำการ predictive ตามนิยามของ TS16949 ไม่สามารถใช้ระบบประสาทสัมผัส เช่น การใช้สายตา ใช้จมูกดมกลิ่นไหม้ การใช้หูฟังเสียงที่ดังผิดปรกติได้  ทั้งนี้เนื่องจากประสาทสัมผัสแต่ละคนมีความแตกต่างกัน

predictive ตามนิยามนี้ต้องเป็นการใช้ process data เพื่อการพยากรณ์ ดังนั้นต้องมีการวัดค่า ตัวเลขและมีการเปรียบเทียบข้อมูลตัวเลข เพื่อประมาณกำหนดการและ ส่วนการชำรุดที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถทำการจัดเตรียมล่วงหน้าสำหรับ แรงงาน ชิ้นส่วน อะไหล่ แผนการผลิตที่อาจมีผลกระทบได้อย่างแม่นยำ

จุดอ่อนของ preventive maintenance

การทำ preventive maintenance ยังคงไม่สามารถขจัดปัญหาการชำรุดเครื่องจักรโดยไม่คาดคิดได้ แม้ว่าจะทำการบำรุงรักษาตามแผนแล้วก็ตาม มากกว่านั้นจากการบำรุงรักษาตามเวลา เราอาจมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนบางชิ้นโดยไม่จำเป็นทั้งนี้ เนื่องจากสภาพการใช้งานมีความแตกต่าง มากกว่านั้นการถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนสามารถทำให้การเสียหายจากการถอดประกอบได

จุดอ่อนของ predictive maintenance

การทำการ predictive นี้ ต้องใช้เครื่องมือวัดที่ทันสมัย ใช้ทักษะของผู้ตรวจสอบและผู้ชำนาญการในวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการตรวจวัดและวิเคราะห์สูง  ด้วยเหตุผลนี้การบำรุงรักษาแบบพยากรณ์ล่วงหน้านี้ เหมาะสำหรับโรงงานที่มีเครื่องจักรซับซ้อน ต้องการความเชื่อถือในกระบวนการผลิตสูงในแง่การผลิตทันเวลา หรือเครื่องจักรนั้นเป็นเครื่องจักรที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการ หยุดพัก

อะไรบ้างที่เราสามารถทำการตรวจวัดเพื่อการพยากรณ์

  • การเฝ้าระวังระดับสัญญาณความสั่นสะเทือน (Vibration Analysis)
  • การเฝ้าระวังโดยการวิเคราะห์สารหล่อลื่น(Oil Wear Particle analysis)
  • การเฝ้าระวังโดยการถ่ายภาพ รวมทั้งคลื่นความร้อน(Thermography / temperature monitoring)
  • การเฝ้าระวังการสึกหรอหรือรอยแตกร้าว ( Thickness tester, Ultrasonic , X-ray)

ซึ่งการจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธี พร้อมๆกัน ขึ้นอยู่กัยชนิดของเครื่องจักรนั้นๆในการเฝ้าระวัง ตามหลักการเฝ้าระวังที่ซึ่งมักเป็น 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบหล่อลื่น ระบบทางกล และระบบทางไฟฟ้า ที่ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของเครื่องจักรในการชำรุดเสียหายโดยไม่คาดคิด

เครื่องจักรไหนที่ควรต้องทำการ predictive maintenance

ในการตัดสินใจในการทำการ predic maintenance ท่านควร

1. กำหนดลำดับความสำคัญของเครื่องจักรเช่น

  1. มีกฏหมายควบคุมความปลอดภัยและ/หรือสิ่งแวดล้อม หรือไม่ เช่น หม้อไอน้ำ ภาชนะรับแรงดันพร้อมระบบท่อทาง หากเกิดการเสียหายอาจส่งให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน
  2. เครื่องจักร ประเภท A เป็นเครื่องจักรที่ไม่มี standby หากเกิดการเสียหายต้องทำการหยุดผลิตแน่นอน
  3. เครื่องจักร ประเภท B เป็นเครื่องจักรที่ไม่มี stanby หากเกิดการเสียหายจะหยุดการผลิตบางส่วน
  4. เครื่องจักร ประเภท C เป็นเครื่องจักร ที่ ..........

ท่านอาจทำการระบุเครื่องจักรวิกฤติในมุมมองของการ เสียหายของเครื่องจักรในแง่ process capability โดยเฉพาะในแง่ ระดับการเสียหายของโรงงานเช่นหากเกิดการเสียหายขึ้นต่อเครื่องจักรนั้นๆ จะส่งผลต่อ การหบุดกระบวนการผลิตนั้นนานเท่าไหร่ หรือเครื่องจักรนั้นๆจะหยุดทำงานนานเท่าไหร่

2. ทำการวิเคราะห์ โอกาสเกิดการเสียหายของเครื่องจักร, การมีอยู่ของspare part, ความสามารถของช่างซ่อมบำรุง, สถิติการเสียหายที่ผ่านมา พร้อมกำหนดระบบวิธีการซ่อมบำรุงที่เหมาะสม

Back to the basic

ข้อกำหนดของTS16949 ไม่ได้บังคับว่าต้องทำ predictive หรือ preventive maintenance ทุกๆเครื่องจักร การบำรุงรักษาแบบ breakdown maintenance ยังคงยอมรับได้ สำหรับเครื่องจักรที่ซึ่งไม่สลับซับซ้อน และมีชิ้นส่วนอะไหลพร้อมเสมอหรือสามารถสั่งซื้อได้อย่างทันทีทันใด

การบำรุงรักษาจะเข้มงวดขนาดไหนขึ้นอยู่กับองค์กรของ ท่านว่าเป็นองค์กร ที่พึ่งพาเครื่องจักรมากน้อยหรือไม่ ประเภทของเครื่องจักรที่ท่านใช้ ระบบบำรุงรักษาของท่านเป็นระบบสนับสนุนประเภทหนึ่งมีค่าใช้จ่าย ดังนั้นเหมือนกับกระบวนการทั่วๆไปที่ท่านต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเสีย หายที่เกิดขึ้น เทียบกับค่าใช้จ่ายที่เสียไปเพื่อลด operational machine downtime.

Online

มี 23 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์