BRC Food Safety ข้อ 7 Personnel Part 2

ข้อกำหนด BRC Global Standard for Food Safety Ver 6 พร้อมแนวทางการเตรียมรับการตรวจประเมิน (จะทะยอยลง จนกว่าจะครบนะคะ แล้วรวมเล่มให้ ดาวน์โหลดที่หลังคะ)

บทความโดย This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

7.3

Medical screening การคัดกรองทางการแพทย์

Statement of Intent

The company shall ensure that procedures are in place to ensure that employees, agency staff, contractors or visitors are not a source of transmission of food-borne diseases to products.

บริษัท ต้อง มั่นใจว่ามีระเบียบปฎิบัติอยู่ เพื่อที่จะมั่นใจว่าพนักงาน, พนักงานรับเหมา, ผู้รับเหมา หรือ ผู้เยี่ยมชม ไม่ได้เป็นสาเหตุของการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผลิตภัณฑ์

7.3.1

The company shall have a procedure which enables notification by employees, including temporary employees, of any relevant infection, disease or condition with which they may have been in contact or be suffering from.

บริษัทต้องมีระเบียบปฎิบัติ เพื่อให้มีการแจ้งโดยพนักงาน รวมถึงพนักงานชั่วคราวเมื่อมีการป่วย ,ติดเชื้อโรค หรืออาจสัมผัสกับเชื้อโรคจากแหล่งต่าง ๆ

การแจ้งเมื่อเจ็บป่วย

การแจ้งควรอยู่ในระบบอบรมปฐมนิเทศ ควรมีการกำหนดหัวข้อของการเจ็บป่วย ติดเชื้อ ไว้ เป็นเอกสาร แบบสอบถามทางสุขภาพ การตรวจสอบทดสอบ ตามความเสี่ยงของงาน หากใช้แบบสอบถาม หรือ ใช้วิธีซักถาม ควรต้องทำโดยผู้มีความสามารถ พยาบาล หมอ ตามกฏหมาย

7.3.2

Where there may be a risk to product safety, visitors and contractors shall be required to complete a health questionnaire or otherwise confirm that they are not suffering from a condition which may put product safety at risk, prior to entering the raw material, preparation, processing, packing and storage areas.

ในกรณีที่มีความเสียงต่อความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ , ผู้เยี่ยมชมและผู้รับเหมาต้องให้ข้อมูลในแบบสอบถามสุขภาพ หรือ ใช้วิธีอื่นใดในการยืนยันว่าไม่ได้รับผลกระทบจากสภาวะที่อาจทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดความเสี่ยง, ก่อนเข้าพื้นที่เก็บวัตถุดิบ เตรียม กระบวนการ บรรจุ และ จัดเก็บ

แบบสอบถามสำหรับผู้เยี่ยมชม

บริษัทต้องทำให้ความมั่นใจว่าผู้เข้าชมและผู้รับเหมาที่เข้ามาในพื้นที่ที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์หรือผู้ที่อยู่ภายใต้การทำงานที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงไปยังผลิตภัณฑ์ มีการคัดกรองโดยใช้แบบสอบถามที่เหมาะสม ซึ่งต้องมีแบบสอบถามสุขภาพสำหรับผู้เยี่ยมชมตามความถี่ เช่น มาบ่อยๆหรือนานๆมาที ครอบคลุมผู้รับเหมาทั้งหมดเช่น พนักงานจากบริษัทควบคุมสัตว์พาหะ ผู้ตรวจสอบ,พนักงาน,ลูกค้า ควรมี procedureรองรับการปฏิบัติ และทวนสอบโดยผู้ที่มีอำนาจ

7.3.3

There shall be documentededprocedures for employees, contractors and visitors, relating to action to be taken where they may be suffering from or have been in contact with an infectious disease. Expert medical advice shall be sought where required.

ต้องมีระเบียบปฎิบัติที่จัดทำเป็นเอกสาร สำหรับพนักงาน, ผู้รับเหมา และ ผู้เยี่ยมชม ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องทำเมื่ออาจเกิดป่วยติดเชื้อ หรือได้รับการติดต่อสัมผัสเชื้อโรค. ต้องหาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เมื่อต้องการ

Infaction disease

ต้องมีขั้นตอนในการเกิดการเจ็บป่วยแล้วทำอย่างไร เมื่อมีการแจ้งว่าได้เกิดเจ็บป่วย ติดเชื้อ เขาเหล่านั้นต้องได้รับการจัดการที่เกี่ยวกับการป้องกันการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ เช่น แยกไปปฏิบัติงานที่ไม่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์

7.4

Proactive clothing Employees or visitors to production areas เสื้อผ้าป้องกัน – พนักงานหรือผู้เยี่ยมชมที่จะเข้าพื้นที่ผลิต

Statement of Intent

Suitable company-issued protective clothing shall be worn by employees, contractors or visitors working in or entering production areas.

บริษัทต้องจัดให้มีเครื่องแต่งกายที่เหมาะสม ให้พนักงาน,ผู้รับเหมา, หรือผู้เยี่ยมชม สวมใส่ ในการทำงานหรือเมื่อเข้าสู่พื้นที่ผลิต

7.4.1

The company shalldocumenteded and communicate to all employees, contractors or visitors the rules regarding the wearing of protective clothing in specified work areas (e.g. high-care or low-risk areas). This shall also include policies relating to the wearing of protective clothing away from the production environment (e.g. removal before entering toilets, use of canteen and smoking areas).

บริษัทต้องจัดทำเอกสารและสื่อสารไปยังพนักงานทุกคน,ผู้รับเหมา หรือ ผู้เยี่ยมชม เกี่ยวกับกฎด้านการสวมใส่เครื่องแต่งกายเฉพาะกับงาน (เช่น พื้นที่ high care และ low–risk)

สิ่งนี้ ต้องรวมนโยบายการนำเครื่องแต่งกายออกนอกสภาพแวดล้อมที่ผลิต (เช่น ถอดเครื่องแต่งกายเมื่อไปห้องน้ำ การไปรับประทานอาหาร และสูบบุหรี)

นโยบายเครื่องแต่งกาย

บริษัทต้องมีเอกสารนโยบายเครื่องแต่งกายซึ่งแล้วแต่ความเสี่ยง (ทั้ง จุลินทรย์ กายภาพ และ สารก่อภูมิแพ้) ระเบียบปฏิบัติควรครอบคลุม:

  • อะไรต้องสวม
  • จะใส่ จะถอดอย่างไรที่ไหน เก็บอย่างไร ข้อกำหนดพื้นที่เฉพาะ ตามข้อห้ามข้อ 7.4.4
  • การถอดก่อนเข้าห้องน้ำ
  • การเข้าห้องอาหาร และ สูบบุหรี่
  • ที่ใดที่มีความเสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยงระหว่างการผลิตปกติ
  • ผลิตในภาวะมิดชิด เสี่ยงต่ำ มีการแยกพื้นที่จากการผลิต ไม่ผ่านเข้า open production area.
  • เมื่อเข้าพื้นที่ผลิต ระหว่างผลิต ใดๆ

7.4.2

Protective clothing shall be available that:

•is provided in sufficient numbers for each employee

•is of suitable design to prevent contamination of the product (as a minimum containing no external pockets above the waist or sewn on buttons)

•fully contains all scalp hair to prevent product contamination

•includes snoods for beards and moustaches where required to prevent product contamination.

เครื่องแต่งกายต้องมีอยู่ซึ่ง :

จัดให้จำนวนที่เพียงพอกับแต่ละพนักงาน

ได้มีการออกแบบเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ (อย่างน้อยที่สุด ห้ามมีกระเป๋าบริเวณด้านนอกเหนือเอว หรือมีเย็บกระดุม)

มีการปิดคลุมผมมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์

รวมถึงการสวมที่คลุมหนวดเครา เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์

การออกแบบเสื่อคลุม

บริษัทต้องพิจารณาการออกแบบเสื่อคลุมเพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสำหรับกระบวนการ ขั้นต่ำต้อง

  • เครื่องแต่งกายตั้งแต่เอวขึ้นไปห้ามมีกระเป๋า
  • อนุญาตให้มีกระเป๋าใส่ปากกาขนาดเล็กๆ เหนือแขนได้
  • หมวก/เน็ตคลุมผมสามารถเก็บผมได้หมด ขั้นตอนการขนส่งก่อนเข้าสู่ห้องแต่งตัวต้องสามารถป้องกันอันตรายได้ เช่น พับใส่ถุง บรรจุในกล่อง เป็นต้น
  • รองเท้าสำหรับพื้นที่ผลิตต้องอยู่ในสภาพที่ดี

7.4.3

Laundering of protective clothing shall take place by an approved contracted or in-house laundry using defined and verified criteria to validate the effectiveness of the laundering process. Washing of workwear by the employee is exceptional but shall be acceptable where the protective clothing is to protect the employee from the products handled and the clothing is worn in enclosed product or low-risk areas only.

การซักเครื่องแต่งกายต้องดำเนินการโดยผู้รับเหมาที่ผ่านการอนุมัติหรือซักโดยบริษัท และมีการพิสูจน์ยืนยันรับรอง ประสิทธิผลกระบวนการซัก การซักเครื่องแต่งกายโดยพนักงานเป็นข้อยกเว้น แต่ต้องยอมรับได้ในกรณีที่มีเสื้อคลุมสำหรับกันพนักงานจากการสัมผัสผลิตภัณฑ์ และ เครื่องแต่งกายที่ใส่ในพื้นที่ enclosed product หรือ low risk เท่านั้น

การซักรีด

หากใช้บริษัทภายนอกเพื่อซักต้องได้รับการควบคุมตาม 3.5.3 และต้องมีระบบในการอนุมัติและประเมินติดตามต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการอยู่ภายใต้การควบคุม

  • หากเป็นพื้นที่ low risk ควรมีแบบสอบถามและติดตามได้จากข้อร้องเรียน
  • หากซักรีดเองต้องได้รับการควบคุมโดยใช้หลักการ HACCP เพื่อควบคุมและตรวจสอบข้อมูลเช่นอุณหภูมิ ผงซักฟอก เวลา อะไรที่ห้ามซักด้วยกัน การทำให้แห้ง การตรวจสอบด้วยสายตา การ validate
  • ซักที่บ้าน สำหรับ low risk เช่น pack เช่น preparation areaเช่นเดียวกันกับซักเอง วิธีการซัก วิธีในการขนเครื่องแต่งกายมาบริษัท หน้าที่บริษัทในการติดตามประสิทธิผล มักทำโดยการตรวจสอบด้วยสายตา ข้อกำหนดอุณหภูมิและการรีดร้อน

7.4.4

Where protective clothing for high-care or high-risk areas is provided by a contracted laundry, this shall be audited either directly or by a third party, or should have a relevant certification. The laundry must operate procedures which ensure:

•effective cleaning of the protective clothing

•clothes are commercially sterile following the washing and drying process

•adequate segregation between dirty and cleaned clothes

•cleaned clothes are protected from contamination until delivered to the site, e.g. by the use of covers or bags.

ในกรณีที่เครื่องแต่งการสำหรับพื้นที่ high-care or high-risk ได้รับการซักรีดโดยผู้รับจ้างช่วงซักรีด, สิ่งนี้ต้องได้รับการตรวจประเมินไม่ว่าทำเองหรือให้บุคคลที่สามทำการตรวจประเมิน, หรือ ควรที่มีใบรับรอง .ผู้ซักรีดต้องทำตามขั้นตอนเพื่อทำให้มั่นใจ:

ประสิทธิผลการทำความสะอาดเครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายได้รับการฆ่าเชื้อทั่วไปหลังจากซักล้างและการทำแห้ง

การแยกเครื่องแต่งกายอย่างเพียงพอระหว่างชุดที่สกปรกและสะอาด

เครื่องแต่งกายที่สะอาดได้รับการป้องกันการปนเปื้อนจนกว่าจัดส่งถึงที่หมาย เช่น การมีการปิดคลุมหรือการใส่ถุง

เครื่องแต่งกายสำหรับ High Care หรือ High Risk

ต้องระบุขั้นตอนการซัก และ การประเมินผล ถ้าอยู่ในพื้นที่นี้ต้องซักแบบ Comerccial Sterile อุณหภูมิ > 65 °C for 10 นาที หรือ 71 °C for 3 นาที ต้องมีระบบการแยกซักเสื้อผ้าสกปรกมาก/สกปรกน้อยและต้องมีระบบการป้องกันก่อนขนส่ง เช่น หุ้มด้วยถุงพลาสติก

7.4.5

If gloves are used, they shall be replaced regularly. Where appropriate, gloves shall be suitable for food use, of a disposable type, of a distinctive colour (blue where possible), be intact and not shed loose fibres.

หากมีการสวมใส่ถุงมือ ถุงมือต้องมีการเปลี่ยนสม่ำเสมอ.ตามความเหมาะสม, ถุงมือต้องเหมาะกับการใช้งานอุตสาหกรรมอาหาร, ใช้ครั้งเดียวทิ้ง, มีสีที่แตกต่าง (สีน้ำเงิน ถ้าเป็นไปได้) ,คงทนและไม่มีการหลุดลุ่ยของเส้นใย

ถุงมือ

ถุงมือเป็นแหล่งปนเปื้อนทางด้านกายภาพ เลือกให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ สีต่างกัน ต้องมีระบบการตรวจสอบ และเปลี่ยนบ่อยๆ

7.4.6

Where items of personal protective clothing that are not suitable for laundering are provided (such as chain mail, gloves andaprons), these shall be cleaned and sanitised at a frequency based on risk.

หากมีการใช้รายการของเครื่องแต่งการที่ไม่เหมาะต่อการซักรีด (เช่น สายคล้อง ถุงมือ หรือผ้ากันเปื้อน),ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อตามความถี่ที่ขึ้นอยู่กับความเสี่ยง

เครื่องแต่งกายที่ซักไม่ได้

ต้องมีเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับเครื่องแต่งกายที่ซักไม่ได้ เช่น รองเท้า สายคล้อง ถุงมือ หรือผ้ากันเปื้อน โดยต้องระบุวิธีการและความถี่ตามความเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนของสินค้านั้นๆ