Login Form

BRC Food Safety ข้อ 3 part 3 ความปลอดภัยของอาหารและระบบการจัดการคุณภาพ

3.7

Corrective action

FUNDAMENTAL Statement of Intent

The company shall be able to demonstrate that they use the information fromidentified failures in the food safety and quality management system to makenecessary corrections and prevent recurrence.

บริษัทต้องสามารถแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ข้อมูลจากความล้มเหลวของการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยอาหารเพื่อจัดทำการแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำตามความจำเป็น

3.7.1

The company shall have a documentedprocedure for handling non-conformances identified within the scope of this Standard to include:

•clear documentededation of the non-conformity

•assessment of consequences by a suitably competent and authorised person

•identification of the corrective action to address the immediate issue

•identification of an appropriate timescale for correction

•identification of personnel with appropriate authority responsible for corrective action

•verification that the corrective action has been implemented and is effective

•identification of the root cause of the non-conformity and implementation of any necessary corrective action.

บริษัทต้องมีเอกสารระเบียบปฏิบัติสำหรับการจัดการสิ่งที่ไม่สอดคล้องในขอบเขตของ standard นี้โดย

จัดทำสิ่งที่ไม่สอดคล้องให้เป็นเอกสารอย่างชัดเจน

ประเมินผลกระทบโดยผู้ที่มีความสามารถและมีอำนาจหน้าที่

บ่งชี้กิจกรรมการแก้ไขต้องกระทำทันที

บ่งชี้กรอบเวลาในการแก้ไขที่เหมาะสม

บ่งชี้บุคคลที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมการแก้ไข

การทวนสอบปฏิบัติการแก้ไขว่าได้มีการนำไปปฏิบัติและมีประสิทธิผล

การบ่งชี้สาเหตุของสิ่งที่ไม่สอดคล้องและการนำไปปฏิบัติการแก้ไขที่จำเป็น

การจัดการแก้ไขป้องกัน

ต้องมีระเบียบปฏิบัติสำหรับการควบคุมข้อบกพร่อง ทั้งหมดของข้อบกพร่อง เช่น จากผลิตภัณฑ์ จากการตรวจติดตามภายใน การตรวจให้การรับรองระบบ ข้อร้องเรียนของลูกค้า ต้องได้รับการแก้ไข

เรื่องที่ต้องกังวนมากๆ ในกรณีที่อาจต้องมีการ recall สินค้า ความรวดเร็วของ การแก้ไขป้องกันสำคัญ ๆ สิ่งที่ต้องอยู่ในบันทึก คือ รายละเอียดปัญหา รายละเอียดของการแก้ไขเฉพาะหน้า การแก้ไขระยะยาว รายละเอียดของการทวนสอบว่าได้มีการทำสำเร็จและได้ผล รายละเอียดของการวิเคราะห์รากเหตุและกิจกรรมที่ตามมา

3.8

Control of non-conforming product

of Intent

The company shall ensure that any out-of-specification product is effectively managedto prevent release.

องค์กรต้องมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ตกสเป็ค ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิผลเพื่อป้องกันการปล่อย

3.8.1

There shall be documentedprocedures for managing non-conforming products which include:

•the requirement for staff to identify and report potentially non-conforming product

•clear identification of non-conforming product, e.g. direct labelling or the use of IT systems

•secure storage to prevent accidental release, e.g. isolation areas

•referral to the brand owner where required

•defined responsibilities for decision making on the use or disposal of products appropriate to the issue, e.g. destruction, reworking, downgrading to an alternative label or acceptance by concession

•records of the decision on the use or disposal of the product

•records of destruction where product is destroyed for food safety reasons.

ต้องมีเอกสารระเบียบปฏิบัติสำหรับการจัดการผลิตภัณฑ์ไม่สอดคล้องที่ซึ่งประกอบด้วย

ข้อกำหนดที่ให้พนักงานทำการบ่งชี้และรายงานผลิตภัณฑ์ที่มีนัยยะไม่สอดคล้อง

การบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องอย่างชัดเจนเช่นการติดป้ายบ่งชี้หรือใช้ระบบสารสนเทศ

การจัดเก็บอย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันการหลุดรอดโดยไม่ตั้งใจเช่น แยกเก็บพื้นที่

บันทึกการทำลายพร้อมระบุเหตุผลของความไม่ปลอดภัย

การรายงานต่อเจ้าของแบรนด์เมื่อจำเป็น

กำหนดหน้าที่ในการสรุปผลการตัดสินใจในการใช้หรือ กำจัด ผลิตภัณฑ์ตามความเหมาะสมเช่นทำลายการนำมาผลิตใหม่ลดเกรดการเปลี่ยนฉลากการยอมรับแบบพิเศษ

บันทึกการตัดสินใจ เมื่อให้นำมาใช้หรือกำจัดผลิตภัณฑ์ทิ้ง

บันทึกการทำลายเมื่อผลิตภัณฑ์มีการทำลายเนื่องจากเหตุผลของความปลอดภัยในอาหาร

การจัดการ NC product

ระเบียบปฏิบัติต้องรวมถึง:

  • พนักงานทุกคนต้องมีความตระหนักในหน้าที่การแจ้งปัญหา
  • ระบบสติกเกอร์ในการชี้บ่งNC product
  • การแยก NC product
  • การแจ้ง Brand Owner กรณีมีประเด็นเกี่ยวข้องกับ product Safety หากมีการทิ้ง ลดเกรด การทำซ้ำ มักไม่ต้องแจ้ง แล้วแต่กรณี
  • รายละเอียดหน้าที่พนักงานผู้มีอำนาจในการเคลื่อนย้าย
  • บันทึกที่ระบุ รายละเอียด จำนวน โค๊ด เหตุผล การจัดการ สรุปผล ผู้มีอำนาจตัดสินใจพร้อมวันที่
  • ผลิตภัณฑ์ on hold ต้องได้รับการตรวจสอบเป็นประจำ ว่าไม่มีการส่งมอบออกไป log sheet อาจจำเป็น
  • ข้อมูลนี้ต้องส่งให้ผู้บริหาร

3.9

Traceability

FUNDAMENTAL Statement of Intent

The company shall be able to trace all raw material product lots (includingpackaging) from their supplier through all stages of processing and despatchto their customer and vice versa.

บริษัทต้องสามารถสอบกลับทุกล็อตวัตถุดิบ(รวมถึงบรรจุภัณฑ์จากผู้ขาย) ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตและการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคและในทางกลับกัน

3.9.1

Identification of raw materials, including primary and any other relevant packaging and processing aids, intermediate/semi-processed products, part used materials, finished products and materials pending investigation shall be adequate to ensure traceability.

ต้องมีการชี้บ่งอย่างพอเพียงสำหรับวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสโดยตรงกับอาหารสารช่วยผลิตต่างๆผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการวัตถุดิบที่ใช้แล้วบางส่วนผลิตภัณฑ์และวัสดุที่เกี่ยวข้องต่างๆเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถสอบกลับได้

การชี้บ่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

  • การซื้อที่หลากหลาย การขายมีความหลากหลายหรือไม่ กระบวนการมีหลายผลิตภัณฑ์ หลายขั้นตอนหรือไม่ เนื่องจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่ซื้อ หรือ สิ่งที่ผลิต
  • ต้องมีการชี้บ่ง วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
  • ระดับการสอบย้อน แล้วแต่จะตกลงกับลูกค้า
  • หากเป็น Bulk / Pack / Silo ชี้บ่งยาก หากเกิดการปนเปื้อนต้องจัดการกับทั้งหมด
  • ระบบการสอบย้อนกลับต้องควบรวม primary Packaging เช่น บรรจุภัณฑ์ด้านนอก สารช่วยผลิต
  • การทดสอบต่อ Batch ของผลิตภัณฑ์ หรือของส่วนผสม
  • ระวัง เรื่อง ผลิตภัณฑ์ เป็น Organic สอบย้อนยาว อื่น ๆ เช่น Halal, GMO , Allergen
  • **BRC Auditor Test ระบบ (Verical Audit)
  • เลือก productที่ผลิตภายใน 2-5 เดือนก่อนวันตรวจ
  • หากมีการ claim ตาม (ข้อ 5.3) จะมีการให้ทำ Mass Balance กับสินค้านั้นให้ดูด้วย
  • การทดสอบทำทั้งสองทาง แต่ ผลิตภัณฑ์ถึง วัตถุดิบมักโดนให้ทำ

3.9.2

The company shall test the traceability system across the range of product groups to ensure traceability can be determined from raw material to finished product and vice versa, including quantity check/mass balance. This shall occur at a predetermined frequency and results shall be retained for inspection. The test shall take place at least annually. Full traceability should be achievable within four hours.

บริษัทต้องมีการทดสอบระบบการสอบกลับของกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการสอบกลับสามารถทำได้จากวัตถุดิบไปถึงผลิตภัณฑ์และทำได้ในทางกลับกัน,และต้องรวมการตรวจสอบปริมาณและสมดุลมวล. สิ่งนี้ต้องโดยต้องมีการทดสอบระบบตามความถี่ที่ได้กำหนดไว้และผลการทดสอบต้องได้รับการจัดเก็บ เพื่อการตรวจสอบ การทดสอบนี้ต้องดำเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง การสอบกลับทั้งระบบต้องเสร็จภายในสี่ชั่วโมง

ทดสอบระบบสอบย้อนกลับ

Trace Test คือ การหาจุดอ่อนเพื่อปรับปรุง ดังนั้นการหาจุดอ่อนให้เจอเป็นเรื่องสำคัญ ต้องมีการทดสอบ สองด้าน ทั้งไปข้างหน้าและย้อนกลับ ทั้งผู้ส่งมอบที่ส่งมอบวัตถุดิบ และลูกค้ารายที่บริษัทส่งสินค้าให้ การทดสอบต้องอยู่ในเวลาที่กำหนด หากล่าช้าต้องมีการหาจุดอ่อนเพื่อปรับปรุง เวลาที่กำหนดคือ 4 ชั่วโมงไม่เกี่ยวกับการทำ mass balance

Mass Balance ยากที่จะทำได้ 100 %แต่มีไว้เพื่อหาเหตุ หาธรรมชาติของการแปรปรวน

วิธีการ เช่น สุ่มเลือก Batch ของ ชนิดของวัตถุดิบที่สนใจ, จากนั้นหาปริมาณ จาก batch นั้น ดูได้จากสูตรที่ผลิต ดูแผนผลิต คำนวณปริมาณที่ใช้ และคำนวณปริมาณที่ไม่ได้ใช้

และตรวจสอบที่ warehouse เปรียบเทียบกับยอดที่ผลิตได้ จะทราบว่าขาด หาย หรือเกิน จากจุดตั้งต้นเท่าไหร่

3.9.3

 

Where rework or any reworking operation is performed, traceability shall be maintained.

ในกรณีที่มีกระบวนการทำใหม่หรือการนำกลับมาทำใหม่การสอบกลับต้องได้รับการดำรงไว้

Rework

ดูว่ามีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ในด้านใดบ้าง ซึ่งต้องยังคงรักษาความปลอดภัย,คุณภาพ และความถูกต้องตามกฏหมายของผลิตภัณฑ์

3.10  

Complaint handling

of Intent

Customer complaints shall be handled effectively and information used to reduce recurring complaint levels.

ข้อร้องเรียนจากลูกค้าต้องได้รับการจัดการอย่างมีมีประสิทธิผลและได้มีการใช้ข้อมูลนี้เพื่อลดการเกิดขึ้นซ้ำ

3.10.1

All complaints shall be recorded, investigated and the results of the investigation and root cause of the issue recorded where sufficient information is provided. Actions appropriate to the seriousness and frequency of the problems identified shall be carried out promptly and effectively by appropriately trained staff.

ข้อร้องเรียนจากลูกค้าต้องได้รับการบันทึก สอบสวน และผลของการสอบสวนรวมถึงรากเหตุต้องได้รับการบันทึกโดยมีข้อมูลอย่างเพียงพอเท่าที่มี

ต้องมีการดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อปัญหาที่มีความร้ายแรงและมีความถี่ของปัญหาที่ระบุอย่างทันทีและมีประสิทธิผล โดยพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม

Documenteded and Action

ควรมีการหารากเหตุให้เจอและทำการกำจัด จะมากหรือน้อยแล้วแต่ปริมาณของที่จะเคลม

คนที่ทำหน้าที่นี้ ต้องเป็นคน Proactive ที่มองในมุม ความรุนแรงและความสำคัญ ของเรื่องที่รับร้องเรียน ความรวดเร็วในการรับเรื่อง การใส่ใจ การให้ความสำคัญ   มองปัญหาในเชิงรุก และมุ่งป้องกันปัญหาในส่วนที่เหลือ

ผู้รับผิดชอบ ต้อง ระวังเรื่องกำหนดเวลาที่ลูกค้าตกลงให้ตอบภายในเวลาที่กำหนด

3.10.2

Complaint data shall be analysed for significant trends and used to implement ongoing improvements to product safety, legality and quality, and to avoid recurrence. This analysis shall be made available to relevant staff.

ข้อมูลข้อร้องเรียนต้องได้รับการวิเคราะห์ สำหรับแนวโน้มที่สำคัญและใช้สำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย กฎหมายและคุณภาพ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ.

การวิเคราะห์นี้ต้องทำให้มีอยู่ไว้สำหรับพนักงานที่เกี่ยวข้อง

แนวโน้ม

ต้องมีการวิเคราะห์แนวโน้ม ต้องดู ratio เพื่อหากะ หาสายการผลิต หาพื้นที่ผลิต

และต้องมีการกระจายข้อมูลนี้ให้มากที่สุดสู่พนักงานจะได้ร่วมป้องกัน

3.11

Management of incidents, product withdrawal and product recall

of Intent

The company shall have a plan and system in place to effectively manage incidents and enable the effective withdrawal and recall of products should this be required.

บริษัทต้องมิแผนและระบบการจัดการกับอุบัติการณ์และสามารถทำการถอดถอนและเรียกคืนผลิตภัณฑ์เมื่อจำเป็นอย่างมีประสิทธิผล

3.11.1

The company shall have documentedprocedures designed to report and effectively manage incidents and potential emergency situations that impact food safety, legality or quality. This shall include consideration of contingency plans to maintain business continuity. Incidents may include:

•disruption to key services such as water, energy, transport, refrigeration processes, staff availability and communications

•events such as fire, flood or natural disaster

•malicious contamination or sabotage.

Where products which have been released from the site may be affected by an incident, consideration shall be given to the need to withdraw or recall products.

บริษัทต้องจัดทำเอกสารระเบียบปฏิบัติ ที่ออกแบบเพื่อการรายงานและจัดการอุบัติการณ์และสถานการณ์อุบัติที่มีนัยยะที่ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยในอาหาร กฎหมาย และ คุณภาพ.

สิ่งนี้ต้องรวมถึงการจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อธำรงรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจ.

อุบัติการณ์ประกอบด้วย

การหยุดชะงักของการบริการหลักเช่นน้ำพลังงานการขนส่งการทำความเย็น การมีอยู่ของพนักงานปฏิบัติงานและการสื่อสาร

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เช่นไฟไหม้น้ำท่วมหรือภัยธรรมชาติ

การปนเปื้อนที่เกิดจากการตั้งใจหรือการก่อวินาศกรรม

เมื่อผลิตภัณฑ์ที่ตรวจปล่อยจากสถานประกอบการพบว่าอาจมีผลกระทบจากอุบัติการณ์,ต้องมีการพิจารณาถึงการถอดถอนหรือเรียกคืนสินค้า

Documentedincident and emergency procedure

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงสู่ผู้บริโภคและธุรกิจ

หลักการคือ ต้องรวดเร็ว และ ข้อมูลส่งถึงผู้รับผิดชอบสั่งการโดยเร็วเอกสารควรประกอบด้วย

  • ประเภทของปัญหา ฝนตก น้ำท่วม ไฟดับ ไฟไหม้
  • หนทางสำหรับรองรับ บรรเทา ผู้รับเหมาช่วง แหล่งพลังงานสำรองอื่น หรือการขนส่งอื่นๆ
  • ใครเป็นผู้รับผิดชอง มีอำนาจหน้าที่สั่งการ ตัดสินใจ เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจากผลกระทบ
  • วิธีในการสื่อสาร ทั้งภายนอก ทั้งภายในเวลาทำงาน เช่น อีเมลล์ โทรศัพย์
  • แผนการกู้ภัย บรรเทา เยียวยา ธุรกิจ และ การรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจ
  • ต้องมีการทบทวน ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • เรื่องนี้อาจต้องคุยกับลูกค้ากำหนดการวางแผนแก้วิกฤติการณ์

3.11.2

The company shall have a documented product withdrawal and recall procedure. This shall include as a minimum:

•identification of key personnel constituting the recall management team, with clearly identified responsibilities

•guidelines for deciding whether a product needs to be recalled or withdrawn and the records to be maintained

•an up-to-date list of key contacts or reference to the location of such a list, e.g. recall management team, emergency services, suppliers, customers, Certification Body, regulatory authority

•a communication plan including the provision of information to customers, consumers and regulatory authorities in a timely manner

•details of external agencies providing advice and support as necessary, e.g. specialist laboratories, regulatory authority and legal expertise

•a plan to handle the logistics of product traceability, recovery or disposal of affected product and stock reconciliation.

The procedureshall be capable of being operated at any time.

บริษัทต้องมีเอกสารระเบียบปฏิบัติการถอดถอนและเรียกคืนสินค้า

สิ่งนี้ อย่างน้อย ต้องประกอบด้วยดังนี้

การกำหนดพนักงานคนสำคัญของทีมที่ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน

แนวทางการตัดสินใจเมื่อผลิตภัณฑ์จำเป็นถูกเรียกคืนหรือถอนคืนและบันทึกต้องคงไว้

รายชื่อบุคคลากรที่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบันเช่นทีมที่บริหารจัดการเหตุการณ์งานบริการฉุกเฉินผู้ส่งมอบลูกค้าหน่วยรับรอง

เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย

แผนสื่อสารรวมทั้งการจัดหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าผู้บริโภคและเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม

รายละเอียดหน่วยงานภายนอกที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนตามความจำเป็นเช่นผู้เชี่ยวชาญจากห้องปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย

แผนการจัดการสอบย้อนกลับของการขนส่งการกู้คืนหรือกำจัดผลิตภัณฑ์ที่มีกระทบและการตรวจสอบย้อนกระทบสต๊อกผลิตภัณฑ์

ขั้นตอนการปฏิบัติงานนี้ต้องสามารถพร้อมในการปฏิบัติได้ทุกเวลา

ขั้นตอนปฏิบัติการทดสอบการถอนและเรียกคืน

การแต่งตั้ง Recall team กำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดรับชอบ ข้อมูลติดต่อ อาจมีสำนักงานใหญ่คอยเชื่อมระหว่าง recall team กับผู้บริหาร

ต้องมีแนวทางจัดการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องเรียกคืน ถอดถอน และการจัดทำบันทึก แม้ว่าจะยากต่อทุกสถานการณ์ เช่น ต้องมีการทดสอบเพิ่มเติมสนับสนุน

หมายเลขโทรติดต่อ ทั้ง recall ทีม ผู้ส่งมอบ ลูกค้า ภาครัฐ ผู้ขนส่ง ผู้ตรวจประเมินทั้งนอกเวลาและในเวลา แผนการสื่อสาร ในแต่ละเรื่อง

รายละเอียดผู้ช่วยเหลือภายนอก ห้องปฏิบัติการพิเศษ ผู้ชำนาญการทางกฎหมาย

แผนการจัดการผลิตภัณฑ์ การรับ ส่ง เก็บ แยก ทิ้ง เป็นต้น

3.11.3

The product recall and withdrawal procedures shall be tested, at least annually, in a way that ensures their effective operation. Results of the testshall be retained and shall include timings of key activities. The results of the test and of any actual recall shall be used to review the procedure and implement improvements as necessary.

ระเบียบปฏิบัติการเรียกคืนและการถอนคืนต้องได้รับการทดสอบเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งโดยวิธีที่ทำให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการจะทำได้อย่างมีประสิทธิผล.

ผลการทดสอบต้องได้รับการจัดเก็บและต้องรวมเวลาในการดำเนินการกิจกรรมหลัก

ผลการทดสอบและการเรียกคืนจริงต้องนำมาทบทวนระเบียบปฏิบัติและปรับการประยุกต์ใช้เพื่อจำเป็น

ทดสอบระบบการถอดคืนและเรียกคืน

การสอบย้อนกลับเป็นส่วนหนึ่งของระบบการ Recall หรือ withdraw

อย่างน้อยต้องทดสอบปีละครั้ง เพื่อ

  • ทดสอบว่าระบบยังสามารถดำเนินการได้
  • มีอะไรที่สามารถปรับปรุงได้บ้าง
  • ทำได้รวดเร็วหรือไม่
  • เป็นการฝึกซ้อมให้คุ้นเคย ในหน้าที่ อำนาจ หากเกิดสถานการณ์จริง

การทดสอบต้องทดสอบทั้ง รายชื่อ ทดสอบกิจกรรมหลัก ทดสอบกระบวนการตัดสินใจ ทดสอบการสอบย้อนจากวัตถุดิบถึงสินค้าสำเร็จ

ผลการทดสอบต้องได้รับการทบทวนโดยผู้อาวุโส และได้รับการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดขึ้น

3.11.4

In the event of a product recall, the Certification Body issuing the current certificate for the site against this Standard shall be informed within three working days of the decision to issue a recall.

ในกรณีที่มีการเรียกคืนสินค้าหน่วยรับรองที่ออกใบรับรองฉบับปัจจุบันสำหรับมาตรฐานนี้ต้องได้รับการแจ้งภายในระยะเวลา 3วันหลังการตัดสินใจเรียกคืน

การแจ้งข่าวการเรียกคืนต่อผู้ให้การรับรอง

ผู้ให้การรับรองต้องมีข้อมูลในการวางแผนการตรวจรอบถัดไป หรือ มีการตรวจบางส่วนเพิ่มเพื่อยืนยันผลการรับรอง

การแจ้งต้อง 3 วันหลังมีการ Recall เกิดขึ้น ( ** ไม่เกี่ยวกับ Withdraw)

บทความใกล้เคียง

Online

มี 118 ผู้มาเยือน และ สมาชิกหนึ่งคน ออนไลน์