นิยามตามมาตรฐาน ISO 22301 กำหนดว่า “ 3.26 ช่วงเวลาการหยุดชะงักที่ยอมรับได้สูงสุด (maximum tolerable period of disruption - MTPD) ช่วงเวลาที่ส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถยอมรับได้จากการจัดส่งสินค้า หรือให้บริการ หรือดำเนินกิจกรรม“
องค์กรมีลูกค้า
จึงขึ้นอยู่กับลูกค้า ว่าจะรอผลิตภัณฑ์หรือบริการจากท่านได้นานขนาดไหนหลังจากหยุดชะงัก
หากลูกค้าท่านไม่สามารถรอได้นานเท่าที่ท่านอยากให้เขารอ ลูกค้าไม่อาจยอมรับได้ ลูกค้าท่านอาจเปลี่ยนใจไปใช้บริการที่อื่น ซึ่งอาจทำให้องค์กรท่านไม่มีรายได้
หรือลูกค้าท่าน อาจฟ้องร้องเสียหายกับองค์กรท่าน เนื่องจากการชะงักในการส่งมอบผลิตภัณฑ์บริการ
ค่าฟ้องร้องอาจทำให้ท่านล้มละลาย
การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่หรือกลุ่มใหญ่ อาจทำให้องค์กรท่านต้องปิดกิจการ
องค์กรมีผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น
หากเกิดการหยุดชะงัก เกิดความเสียหาย เกิดเสียชื่อเสียง ภาพพจน์องค์กรในวงกว้าง(เรื่องราวมักใช้เวลาในการก่อตัว ก่อนเป็นวงกว้าง ที่ไม่อาจยอมรับได้ !) ที่ซึ่งผู้บริหารระดับสูงท่านหรือผู้ถือหุ้นไม่อาจยอมรับได้
เมื่อเกิดเหตุการณ์ข้างต้นนี้แล้ว ก็จะเป็นเรื่องที่สายเกินไป
แม้ว่าท่านจะกลับมาผลิตกลับมาบริหาร ก็ไม่มีประโยชน์
เนื่องจากลูกค้าหนีหาย ธุรกิจล่มสลาย ชื่อเสียงองค์กรย่อยยับ
องค์กรต้องมีรายได้
เมื่อมีเหตุการหยุดชะงัก บางกระบวนเสียหายที่ซึ่งการหยุดชะงักทำให้ไม่มีรายได้เข้า หากรายได้ไม่เข้าในระยะเวลาหนึ่ง
ผู้บริหารท่านรวมถึงพนักงานท่าน อาจไม่อาจยอมรับได้
หากมีการปล่อยให้มีการหยุดชะงักนั้นไปนานๆ จะทำให้องค์กรเสียหาย ธุรกิจอาจต้องปิดตัวลงหลังจากเหตุหยุดชะงัก แม้ว่าองค์กรจะมีการฟื้นกลับมาเปิดกิจการได้อีก สามารถส่งมอบสินค้าบริการได้อีก เริ่มต้นกระบวนการทำงานได้อีกก็ตาม ก็จะไม่มีประโยชน์เพราะสายเกินไป เรื่องราวเกินไปกว่าการยอมรับได้ เสียหายได้เกิดเป็นวงกว้าง จนการกลับมาทำงานใหม่ไม่เกิดประโยชน์กับกิจการอีกต่อไป ท่านอาจไม่มีลูกค้า ไม่มีเงินทุนพอ ไม่มีชื่อเสียงพอ ในการทำธุรกิจให้ต่อเนื่อง
องค์กรแต่ละองค์กร มักมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มากกว่าหนึ่งผลิตภัณฑ์บริการ
การทำ BIA จึงต้องทำในแต่ละผลิตภัณฑ์บริการ เพื่อกำหนดค่า MTPD ของแต่ละผลิตภัณฑ์บริการ
ค่า MTPD เป็นการกำหนดช่วงเวลาที่ยอมรับได้ขององค์กร ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จึงต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูง ว่าองค์กรจะยอมรับการหยุดชะงักนี้ได้นานขนาดไหน ด้วยผลกระทบเพียงใด( ความเสียหาย)
ค่า MTPD จะถูกใช้ในการกำหนดค่า “ระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพ (recovery time objective - RTO)” และค่า RTO นี้จะถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการทำแผนสำรองที่อาจต้องใช้ในยามเกิดการหยุดชะงัก ในยามวิกฤติ
วัตถุประสงค์ในการวางแผนกลยุทธ์การจัดการในภาวะวิกฤติ คือ กำหนดกิจกรรมที่ต้องกลับมาดำเนินการได้ในระดับที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน ทรัพยากรที่ต้องเตรียมสิ่งที่ต้องมี สิ่งที่ ต้องเตรียมพร้อม แผนงานกิจกรรมอะไรก่อนหลัง เพื่อให้สามารถฟื้นคืนสภาพได้ จึงต้องทราบกำหนดเวลาที่องค์กรต้องการในการกลับมาส่งมอบผลิตภัณฑ์บริการในระดับที่กำหนด (การกำหนดระยะเวลาสั้นหมายความว่าต้องมีค่าใช้จ่ายสูง)
การกำหนดค่า MTPD จึงมักกำหนดเป็น เวลา นาที ชั่วโมง สัปดาห์ เดือน โดยประมาณเพื่อให้สามารถกำหนดแผนการจัดการต่างๆตามมาได้ การกำหนดระยะเวลาหยุดชะงักนี้หากมากไปก็จะมีผลเสียหายต่อองค์กรเนื่องจากลูกค้าอาจหนีหาย ฟ้องร้อง บางกรณีก็อาจกำหนดได้ยากลำบาก เช่น การเสียภาพพจน์ การเสียชื่อเสียง ว่าจะให้เวลาหยุดชะงักได้นานขนาดไหนถึงจะไม่กระทบกับชื่อเสียงภาพพจน์ดังกล่าว เช่นเดียวกันการกำหนดค่า MTPD ที่สั้นไปทำให้ต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมหรือจัดทำแผนสำรอง ซึ่งอาจรวมถึงการมีพื้นทีสำรอง อุปกรณ์สำรอง ระบบสำรอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้อง
จากนิยาม“ช่วงเวลาที่ส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถยอมรับได้จากการจัดส่งสินค้า หรือให้บริการ หรือดำเนินกิจกรรม” มาตรฐานเน้นให้มีการกำหนดสำหรับแต่ละสินค้า บริการ เป็นหลัก
เป็นการดีมากกว่า หากมีการกำหนดค่า MTPD ให้กับกิจกรรม เพราะองค์กรได้ทำ BIA เพื่อกำหนดค่า MTPD ซึ่งค่า MTPD นี้ได้มาจากการชะงักของบางกระบวนการหรือบริการ หรือ กิจกรรมที่เกี่ยวพันธ์กับการส่งมอบผลิตภัณฑ์บริการที่กำหนด
การกำหนด MTPD นี้จึงเป็นการทำเพื่อกำหนดกิจกรรมที่มีความสำคัญ (prioritized activities) เพื่อมุ่งสู่การดำเนินการแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ
กิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่สัมพันธ์กันในองค์กร บางกระบวนการอาจส่งผลตรงต่อการชะงักการส่งมอบขณะที่บางกระบวนการ(มักเป็นกระบวนการสนับสนุน)อาจยอมให้มี MTPD ที่ยาวนานกว่า
end