ISO 9001:2015 CD ประเด็นการเปลี่ยนแปลง บทที่ 4 ระบบการปรับปรุง

ระบบสำหรับการปรับปรุง QMS มาตรฐาน ISO9001:2015 ได้แยกวิธีจัดการกับ ประเด็นที่นำสู่การปรับปรุง โดยมีการแยกเป็น 3 ส่วนย่อย

  1. จากสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
  2. การสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่มีนัยยะ
  3. จากโอกาสที่มี

 หากแยกตามข้อกำหนด

ประเด็นที่เป็นปัจจัยนำ้เข้าสู่ระบบการปรับปรุง

จะประกอบด้วย ผลจากการวัดสมรรถนะ 9.1,การตรวจติดตามภายใน  9.2,การจัดการกับความเสี่ยง 6.1 &  8.1, และการทบทวนฝ่ายบริหาร  

โดยแยกตามประเด็นที่ำนำสู่การปรับปรุงได้ดังนี้

improvement-9001-2015

 

1. จากสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

อะไรคือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

นิยามความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (nonconformity)  คือ "การไม่สามารถทำให้เป็นไปตามข้อกำหนด  (non-fulfilment of a requirement)"

และ

นิยามของคำว่า ข้อกำหนด คือ  "ความจำเป็นหรือความคาดหวังที่ได้ระบุไว้ หรือเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไป หรือข้อปฏิบัติตามหลักกฎหมาย"

 

การไม่สามารถทำให้เป็นไปตามข้อกำหนด จึงไม่ได้แปลว่าไม่ทำตามระเบียบปฏิบัิติืที่ได้จัดทำไว้ (non conform)

แต่ เป็นเรื่องของการไม่สามารถทำให้เป็นไปตาม "ความจำเป็นหรือความคาดหวังที่ได้ระบุไว้ หรือเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไป หรือข้อปฏิบัติตามหลักกฎหมาย"

 

การไม่สามารถทำให้เป็นไปตามข้อกำหนดจึงเป็นเรื่อง ของการไม่สามารถทำให้เป็นไปตาม "ความจำเป็นหรือความคาดหวังที่ได้ระบุไว้ หรือเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไป หรือข้อปฏิบัติตามหลักกฎหมาย"

ซึ่งหมายถึง 

การไม่สามารถทำสิ่งที่จำเป็น ( ทำเกินความจำเป็น ทำน้อยกว่าที่ควรจะเป็น)

การไม่สามารถทำให้ดีพอ (ไม่พอดี -ไม่ได้ตามคาดหวัง&ไม่ได้ทำในสิ่งที่จำเป็น) 

การไม่สามารถทำให้ได้ดังใจ (ไม่พอกับใจ -ไม่ได้ตามควาดหวัง&ไม่ได้ทำในสิ่งที่จำเป็น

การไม่สามารถทำให้ได้อย่างสมบูรณ์ (ไม่perfectพอ ไม่เวอร์คพอ  ไม่แจ๋วพอ ไม่พอกับใจ&ไม่ได้ทำในสิ่งที่จำเป็น)  

ไม่ว่าจะระบุหรืออาจไม่ได้ระบุไว้หรือเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปก็ตาม !! 

 

เมื่อพบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (ไม่ทำในสิ่งที่จำเป็็น ไม่ดีพอ ไม่พอใจ ไม่สมบูรณ์ ไม่เจ๋งพอ)

ท่านจึงต้องทำการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

หาสาเหตุของปัญหาและดำเนินกิจกรรมการแก้ไขป้องกันไม่ให้สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนี่้เกิดขึ้นซ้ำ

การแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นตามข้อกำหนด ต้องมีการหาสาเหตุ

การหาสาเหตุของการเกิดสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อหนดไม่ใช่เรื่องง่าย

เพราะเราต้องถอนรากถอนโคนปัญหา

ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องตามจิกติดกับผลของการดำเินินการแก้ไขนั้นๆ

แก้แล้ว แก้อีก จนกว่าจะแก้ได้ถูกจุด

ได้ถูกใจ ได้ดีพอ ได้เจ๋งพอ ตามข้อกำหนดที่ท่านระบุไว้

 

2. จากสิ่งที่ไม่เป็นตามข้อกำหนดที่มีนัยยะ

การปรับเปลี่ยน การดัดแปลงใดๆในองค์กร ย่อมก่้อใ้ห้เกิดความเสี่ยง

การวิเคราะห์ความเสีี่ยงเป็นการมองสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเชิงบวก

เป็นการประมาณการ คาดการสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่อาจมีล่วงหน้า

เป็นการทำให้สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ไม่เกิดขึ้น เช่น

การทำไม่ดีพอ การทำไม่สมบูรณ์เพียงพอ  ไม่เกิดสิ่งที่ไม่ได้ดังใจ การไม่ได้ตามเป้าหมาย ไม่มได้ตามวัตถุประสงค์

เป็นการคิดเชิง pro-active

ไม่ว่าต้องการทำให้เร็วขึ้น มากขึ้น ลดลง การเพิ่มยอดขาย การลดของเสีย การเพิ่มสมรรถนะในการผลิต การเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อ

การปรับเปลี่ยนกระบวนกา่รผลิต วิธีการขาย การใช้ IT ในการผลิต  การใช้เครื่องมือช่วยงาน การเปลี่ยนมาตรฐานการผลิต การเปลี่ยนวิธีการทำงาน

การเปลี่ยนมาตรการควบคุมใดๆ

การกระำทำใดๆข้างต้นนี้

อาจมีความเสี่ยง

ความเสี่ยงใดๆนี้ ต้องได้รับการพิจารณา และได้รับการควบคุม

 

3. การปรับปรุง

การปรับปรุง คือ การฉกฉวยโอกาส ในการทำการปรับปรุงระบบ QMS

เมื่อท่านได้เห็นแนวโน้มจากสมรรถนะ เมื่อท่านได้มีความรู้ใหม่จากการวิเคราะห์

เมื่อเห็นโอกาส  ....

 

สรุป

ไม่ว่าท่านจะเรียกประเด็นปัญหาในองค์กรว่า

  • สิ่งที่เป็นไม่เป็นไปตามข้อกำหนดตามนิยามเก่า ไม่ทำตามกฏที่เขียนไว้่ หรือ
  • สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดตามนิยามใหม่ ไม่สามารถทำให้ดีพอ (ไม่พอดี )  ไม่สามารถทำให้ได้ดังใจ (ไม่พอกับใจ)  ไม่สามารถทำให้ได้อย่างสมบูรณ์ (ไม่perfectพอ ไม่เวอร์คพอ  ไม่แจ๋วพอ)   เื่้มื่อเทียบกับ   ความจำเป็นหรือความคาดหวังที่ได้ระบุหรืออาจไม่ได้ระบุไว้ หรือ
  • สิ่งที่มีความเสี่ยง หรือ
  • สิ่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่มีนัยยะ จากการที่องค์กรต้องการปรับเปลียนวิธีการ กระบวนการ หรือ
  • โอกาสที่จะปรับปรุง หรือ
  • ข้ิอเสนอแนะ

ทุกประเด็น ต้องได้รับการนำสู่การปรับปรุงระบบ QMS สำหรับ ISO9001:2015

ไม่ว่าท่านจะเรียกชื่อว่าอะไรก็ตาม

เช่น การแก้ไข การป้องกัน ข้อสังเกตุ ข้อเสนอแนะ ความเห็น จุดอ่อนของระบบ โอกาสในการปรับปรุง

อย่างไรก็ต้องนำไปแก้ไขปรับปรุงระบบ QMS

อย่างไรก็หนีปัญหาไม่ได้

มาทำ มาแก้ปัญหา กันเลย ดีกว่าไหม !

-end-

ข้อกำหนด ISO9001:2015 ,10.2  การปรับปรุง

องค์กรต้องปรับปรุงระบบการจัดการคุณภาพ, กระบวนการ และสินค้าและ บริการ, ตามความเหมาะสม โดยผ่านการตอบสนองต่อ:

a) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

b) การเปลี่ยนแปลงบริบทขององค์กร

c) เปลี่ยนแปลงในความเสี่ยงที่ระบุ (ดู 6.1); และ

d) โอกาสใหม่  

องค์กรต้องประเมิน,จัดลำดับและพิจารณากำหนดการปรับปรุงที่ต้องดำเนินการ