Login Form

ISO22301 | การบรรเทาผลกระทบ (Mitigation)

การบรรเทาผลกระทบ (Mitigation)

การบรรเทาผลกระทบ คือ การลดสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น จุดมุ่งหมายคือการหลีกเลี่ยงสถานการณ์อันตราย โดยพื้นฐานแล้ว ขั้นตอนนี้คือกระบวนการตรวจสอบเพื่อกำหนดวิธีการดำเนินการล่วงหน้าเพื่อลดความอันตรายที่จะเกิดขึ้น ผู้ควบคุมดูแลอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่รับผิดชอบมากที่สุดในการบรรเทาความอันตรายภายในองค์กร ผู้ควบคุมดูแลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ซึ่งรวมถึงระเบียบของอาคาร, ข้อบังคับด้านอัคคีภัย, กฎหมายการจัดเขต (Zoning ordinance), กฎหมายสาธารณสุข และกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุอันตราย

ปัจจัยของการบรรเทาผลกระทบ

ผลกกระทบของความรุนแรงของสถานการณ์สามารถลดลงได้ด้วยการใช้การดำเนินการ, แนวการปฏิบัติ, รวมถึงระบบและเครื่องมือด้านการป้องกัน ขั้นตอนต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของรายการของปัจจัย:
1. ดำเนินการงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน, การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (predictive maintenance), หรือ โปรแกรมการบำรุงรักษาโดยมุงความน่าเชื่อถือเป็นแกน (reliability-centered maintenance program)
2. ดำเนินการระบบควบคุมการเข้าถึงเพื่อควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพในพื้นที่ขององค์กร
3. ติดตั้งระบบพลังงานฉุกเฉิน: เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, ระบบแบตเตอรี่อินเวอร์เตอร์ (inverter battery system) และ แหล่งสำรองไฟฟ้า (uninterruptible power supplies)
4. ติดตั้งจุดเชื่อมต่อสาธารณูปโภคที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นบริเวณที่อุปกรณ์ไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน (เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, เครื่องต้มน้ำ, เครื่องทำความเย็น และ อื่นๆ) สามารถเสียบใช้งานได้
5. ตรวจสอบและปรับปรุงระบบป้องกันอัคคีภัย (ในกรณีที่จำเป็น)
6. ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อเพิ่มการรักษาความปลอดภัย
7. ระบุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉินและทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย รายการเครื่องมือจำเป็นบางส่วนมีดังต่อไปนี้:

  • A. ผ้าใบสำหรับปิดคลุมช่องเปิดต่างๆ (ประตู, หน้าต่าง) และอุปกรณ์
  • B. แผนพลาสติกสำหรับปิดคลุมอุปกรณ์ราคาแพง เช่น คอมพิวเตอร์
  • C. เครื่องดูดชนิดเปียก (wet vacuums), เครื่องสูบน้ำ(water extractor), พัดลม, และ เครื่องลดความชื้น เพื่อใช้มีสถานการณ์ที่ต้องสูบน้ำ (water extraction)
  • D. บ่อปั้ม (sump pump) และท่อ ในกรณีน้ำท่วม
  • E. ไม้ถูพื้น, ถังน้ำ, และ ไม้กวาดน้ำ (squeegees) สำหรับทำความสะอาดพื้นที่ที่มีน้ำหรือของเหลวอื่นๆ
  • F. กระสอบทรายสำหรับกั้นน้ำ, และทรายสำหรับการลากบนน้ำแข็ง
  • G. แผงกั้นแบบเคลื่อนย้ายได้, สิ่งกีดขวางสำหรับควบคุมฝูงชน
  • H. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินพกพาขนาดเล็กและไฟส่องสว่าง สำหรับกรณีที่พลังงานไฟฟ้าฉุกเฉินมีอย่างจำกัดและไฟส่องสว่างสำหรับการรักษาความปลอดภัยและในกรณีฉุกเฉิน
  • I. เชือก, โซ่ และสายเคเบิ้ล สำหรับการอพยพฉุกเฉิน
  • J. ไม้แปรรูป (ท่อน, ไม้อัดแบบแผ่น และอื่นๆ) สำหรับการป้องกันอันตรายและความปลอดภัย
  • K. เครื่องมือช่างต่างๆ

8. เตรียมรายชื่อพนักงานในองค์กรสำหรับติดต่อในกรณีมีสถานการณ์ฉุกเฉิน
9. รวมรายการผู้ขาย(vendors) และผู้รับเหมา (contractor) และวิธีติดต่อพวกเขาหลังจากกลับมาทำงานได้เป็นปกติ
10. เตรียมสัญญาหรือข้อตกลงที่สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
11. ประมาณระยะเวลาหยุดทำงานและแจ้งไปยังผู้เช่าและลูกค้าทราบถึงเรื่องที่คาดการณ์ไว้และสิ่งที่พวกเขาควรจะวางแผน
12. กำหนดที่ตั้งสถานที่เก็บสิ่งต่างๆนอกสถานที่ที่เป็นไปได้ และเริ่มต้นทำสัญญาหรือข้อตกลงล่วงหน้าก่อนเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
13. เตรียมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาคาร และทำให้พร้อมใช้งาน
14. พัฒนากระบวนการดำเนินการมาตรฐาน (SOPs) ในกรณีที่ยังไม่มี
15. ตรวจสอบและอัพเดทรายการสิ่งของของระบบสำคัญต่างๆ
16. เตรียมตารางสำหรับกับตรวจสอบ,แก้ไข และทดสอบแผนงานของคุณ


บทความใกล้เคียง

Online

มี 25 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์