การตีความข้อกำหนด ISO14001:2015 ข้อ 6

2020-12-09 15-05-16ดาวโหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่

การวางแผนสำหรับระบบการบริหารเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้มั่นใจในระบบบริหารสิ่งแวดล้อมจะสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ การวางแผนเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ใช้ทั้งกำหนดและดำเนินส่วนประกอบของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม รวมถึงรักษาและปรับปรุงบนพื้นฐานของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และปัจจัยนำเข้าและผลลัพธ์ของตัวระบบบริหารสิ่งแวดล้อม

กระบวนการวางแผนช่วยองค์กรในการบ่งชี้และมุ่งเน้นทรัพยากรในการปกป้องสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถช่วยองค์กรในการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องและคำมั่นสัญญาด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ รวมถึงกำหนดและบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม

 องค์กรควรมีกระบวนการในการกำหนดความเสี่ยงและโอกาสที่จำเป็นต้องระบุ โดยกระบวนการจะเริ่มด้วยการประยุกต์ใช้ความเข้าใจบริบทที่หน่วยงานดำเนินการอยู่โดยมีปัญหาที่สามารถส่งผลต่อผลลัพธ์ของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมที่ตั้งใจไว้ (ดูที่ข้อ 4.1) รวมถึงความต้องการและความคาดหวังที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งรวมสิ่งเหล่านั้นที่องค์กรปรับใช้ในฐานะพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง (ดูที่ข้อ 4.2) ขนานไปกับขอบเขตของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยนำเข้าที่ควรมีการพิจารณาเพื่อกำหนดความเสี่ยงและโอกาสที่ต้องหา ส่วนข้อมูลที่เกิดในกระบวนการวางแผนจะเป็นปัจจัยนำเข้าที่สำคัญในการกำหนดการดำเนินงานที่ต้องควบคุม ข้อมูลนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการกำหนดและปรับปรุงส่วนอื่น ๆ ของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น การกำหนดการฝึกอบรม ความชำนาญ การสังเกตการณ์และความต้องการในการวัดผล

ระบบบริหารสิ่งแวดล้อมจะสร้างมูลค่าให้องค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสิ่งแวดล้อม ด้วยการหาความเสี่ยงและโอกาส ระบบบริหารสิ่งแวดล้อมที่มุ่งมั่น น่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจสามารถสนับสนุนความอยู่รอดขององค์กรได้ ทั้งนี้ การปราศจากการบริหารความเสี่ยงและโอกาสที่ต้องหา องค์กรอาจไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้หรือตอบสนองเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมโดยมีเหตุการณ์ต่าง ๆที่ไม่ประสงค์ ตัวอย่างความเสี่ยงและโอกาสที่ต้องหาจะอยู่ในพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง มุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและแหล่งความเสี่ยงและโอกาสอื่น ๆ ที่ต้องค้นหา อาทิเช่น ควรมีการคำนึงถึงเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมโดยรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย

 

ตัวอย่างความเสี่ยงและโอกาสที่ส่งผลต่อองค์กรซึ่งต้องค้นหา

ความเสี่ยงและโอกาสสามารถส่งผลต่อองค์กรและความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ในระบบบริหารสิ่งแวดล้อม ผลกระทบย้อนกลับต่อองค์กรสามารถเกิดได้จาก (ตัวอย่างเช่น
a) ด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น มีหกของสารเคมีจำนวนเล็กน้อยที่แทบจะไม่ปนเปื้อนดินหรือน้ำบนพื้น และไม่สามารถกำหนดเป็นสิ่งสำคัญจากมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถเป็นอันตรายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในฐานะองค์กรที่มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
b) ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ อาทิเช่น เมื่ออุบัติการณ์ด้านมลภาวะสร้างความสงสัยด้านความสามารถขององค์กรในการบริหารด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญและส่งผลให้ความน่าเชื่อถือเสื่อมลง
c) การไม่สามารถบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องซึ่งสามารถส่งผลต่อค่าปรับ ต้นทุนสำหรับปฏิบัติการแก้ไขและการสูญเสียใบอนุญาตทางสังคมในการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้นได้
d) เงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อมโดยรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น เมื่อการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศทำให้มีน้ำใช้ลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงงานบำบัดน้ำเสียขององค์กร
e) ความต้องการของลูกค้าที่จำเป็นในการขยายสมรรถนะขององค์กรอย่างรวดเร็วโดยปราศจากการเพิ่มสัดส่วนพนักงานที่มีทักษะซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดโดยส่งผลต่ออันตรายด้านสิ่งแวดล้อมได้
f) มุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรซึ่งสามารถระดมการคัดค้านให้กว้างขึ้น
g) การปฏิบัติการที่ดำเนินเพื่อหาความเสี่ยงและโอกาสโดยไม่ได้พิจารณาผลลัพธ์ที่ไม่ตั้งใจใด ๆ ซึ่งสามารถก่อให้เกิด (อาทิเช่น) โอกาสในการใช้น้ำเสียเพื่อชะล้างพื้นที่สันทนาการขององค์กรสามารถสร้างปัญหาสุขภาพให้บุคคลที่ใช้บริเวณเหล่านั้นได้


โปรดอ่านต่อจากเอกสารดาวโหลดเอกสารได้ที่นี่