ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี้
การติดตามตรวจสอบเกี่ยวข้องกับการสอดส่องดูแลหรือการสังเกตการปฏิบัติงานเป็นประจำเพื่อทำให้มั่นใจว่าผลการดำเนินการเป็นที่น่าพึงพอใจ เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าและการปรับปรุงที่ต้องการและเพื่อตรวจหาปัญหา การวัดเกิดขึ้นเมื่อมีการอ่านค่าเชิงปริมาณของตัวแปรต่างๆในการปฏิบัติการ การปล่อยของเสีย หรือผลกระทบสิ่งแวดล้อม การติดตามตรวจสอบและการวัดผลใช้ในการ :
มีตัวแปรจำนวนมากที่ควรมีการติดตามตรวจสอบเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม องค์กรส่วนใหญ่ติดตามตรวจสอบตัวแปรน้อยเกินไปและทำไม่บ่อยนัก หลักในการกำหนดแผนงานการติดตามตรวจสอบคือการระบุตัวแปรที่สำคัญที่จะสามารถตรวจสอบระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจน และประเมินว่าต้องทำบ่อยเพียงใด การติดตามตรวจสอบและการวัดผลต้องการความถูกต้องและความแม่นยำระดับใด เพื่อทำให้มั่นใจว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมยังคงดำเนินไปด้วยดี
$1·
เพื่อให้องค์กรสามารถรายงานและสื่อสารประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของตนเองได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จีงต้องมีระบบสำหรับการเฝ้าระวัง การวัดผล การวิเคราะห์และการประเมินประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม |
การใช้/การจัดการ การจัดเก็บและการทิ้งสารเคมี เชื้อเพลิง วัสดุและกากของเสียอันตราย
— การตรวจสอบย้อนกลับความคืบหน้าของคำมั่นสัญญาในการบรรลุนโยบายสิ่งแวดล้อม รวมถึงวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
— การให้ข้อมูลเพื่อกำหนดประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
— การเก็บข้อมูลด้านการปล่อยก๊าซและการระบายออกเพื่อบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง;
— การเก็บข้อมูลด้านการใช้น้ำ พลังงานหรือวัสดุเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม;
— การให้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนหรือประเมินการควบคุมการปฏิบัติงาน
— การให้ข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
— การให้ข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลการทำงานของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต้องสอบเทียบมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอเพื่อทำให้มั่นใจว่าค่าที่อ่านได้มีความถูกต้อง และต้องติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประจำเพื่อให้เป็นไปตามตามข้อตกลงในนโยบายสิ่งแวดล้อม ประเภทของการวัดผลบ่งบอกถึงความต้องการในการทำให้เครื่องมือดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ (ตัวอย่างเช่น การสอบเทียบ)
องค์กรควรพิจารณาในการใช้ห้องทดสอบที่มีเทคนิคการทดสอบซึ่งได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่ให้การรับรองระดับชาติหรืออนุมัติโดยผู้ตั้งกฎ หากไม่สามารถได้รับการรับรองหรืออนุมัติ องค์กรสามารถพิจารณาวิธีที่เหมาะสมอื่น ๆ ในการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของผลลัพธ์ อาทิเช่น การวิเคราะห์ตัวอย่างแยก การทดสอบเทียบกับวัสดุที่อ้างอิงซึ่งได้รับการรับรองและโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องทดสอบ
สิ่งที่ควรพิจารณาพิเศษในการเฝ้าระวังและการวัดผล คือการรับประกันความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล ดังนั้นภายใต้เงื่อนไขที่ควบคุมได้ (มีระบบ มีเกณฑ์)สำหรับ:
— เทคนิคการเลือกตัวอย่างและการเก็บข้อมูล
— การจัดหาการสอบเทียบที่เพียงพอ
— การใช้มาตรฐานวัดที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตามมาตรฐานสากลหรือระดับชาติ
— การใช้บุคลากรที่ชำนาญ
— การตีความข้อมูลและการวิเคราะห์แนวโน้ม
สรุปประเด็นสำคัญ
· ควรกำหนดสิ่งที่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและวัดผลโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องและการควบคุมการปฏิบัติงานโดยควรมีการกำหนดความถี่และวิธีที่จะใช้ในการเก็บข้อมูล
· เพื่อประหยัดทรัพยากรในการวัดผล องค์กรควรเลือกตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องซึ่งง่ายต่อการเข้าใจและให้ข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับการประเมินประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
· การคัดเลือกตัวบ่งชี้ควรสะท้อนให้เห็นหลักธรรมชาติและขนาดของการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงมีความเหมาะสมกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างของตัวบ่งชี้จะรวมถึงพารามิเตอร์เชิงกายภาพ อาทิเช่น อุณหภูมิ ค่าแรงดัน pH และการใช้วัสดุ ประสิทธิผลของพลังงาน ทางเลือกในการบรรจุและขนส่ง ดูเพิ่มเติมได้ที่ ISO 14031
· ควรมีการวิเคราะห์และใช้ผลการเฝ้าระวังและการวัดผลเพื่อบ่งชี้ข้อบกพร่อง การยึดมั่นขีดจำกัดตามที่พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตั้งไว้ แนวโน้มประสิทธิผลการทำงานและโอกาสในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
· การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถรวมการพิจารณาด้านคุณภาพของข้อมูล ความถูกต้อง ความเพียงพอและความสมบูรณ์ที่จำเป็นต่อการสร้างข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เครื่องมือเชิงสถิติสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการตัดสินใจว่าสามารถบรรลุผลที่พึงประสงค์หรือไม่ เครื่องมือเหล่านี้สามารถรวมเทคนิคเชิงกราฟฟิค การจัดทำดัชนี การรวบรวมหรือการชั่งอย่างเหมาะสม
· กระบวนการที่เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการดำเนินการเฝ้าระวัง การวัดผล การวิเคราะห์และการประเมินสามารถช่วยในความคงเส้นคงวา การทำซ้ำได้และความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่สร้างผลลัพธ์การเฝ้าระวัง การวิเคราะห์และการวัดผลรวมถึงการประเมินควรมีการเก็บรักษาเป็นเอกสารข้อมูล
การตรวจประเมิน
องค์กรควรมีการจัดทำ นำไปใช้ และธำรงรักษา ขั้นตอน สำหรับการประเมินความสอดคล้องกับข้อกำหนด กฎหมายเป็นระยะตามรอบเวลาและจัดเก็บผลของการประเมินความสอดคล้อง
องค์กรสามารถทำการประเมินความสอดคล้องในกฎหมายแต่ละฉบับหรือรวมๆกันก็ได้
วิธีการที่เราสามารถใช้ในการประเมินความสอดคล้อง เช่น
ควรมีการประเมินประสิทธิผลการทำงานต่อพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องทั้งหมดเป็นระยะ ๆ ถึงแม้ว่าความถี่และแต่ละช่วงเวลาจะแตกต่างตาม
การประเมินความสอดคล้องควรเป็นกระบวนการที่ทำซ้ำโดยใช้ปัจจัยนำเข้าจากด้านอื่น ๆ ของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมเพื่อตัดสินว่าองค์กรกำลังบรรลุ พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องหรือไม่
วิธีที่ใช้ในการประเมินความสอดคล้องจะรวมถึงการเก็บข้อมูลและสารสนเทศ (ตัวอย่างเช่น) โดย
— การตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก
— การเฝ้าระวังหรือสัมภาษณ์โดยตรง
— การทบทวนโครงการหรืองาน
— การทบทวนการวิเคราะห์ตัวอย่างหรือผลการทดสอบ และการเปรียบเทียบข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ
— การตรวจพิสูจน์จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบ
— การทบทวนเอกสารข้อมูลที่จำเป็นทางกฎหมาย (ตัวอย่างเช่น การสำแดงของเสียที่เป็นอันตราย การนำส่งตามกฎระเบียบ)
พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องสามารถดำเนินการโดยกระบวนการต่างๆของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น
— การกำหนดประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ (ดูที่ข้อ 6.1.2.5) รวมถึงความเสี่ยงและโอกาสที่ต้องค้นหา (ดูที่ข้อ 6.1.1);
— การวางแผนปฏิบัติการ (ดูที่ข้อ 6.1.4);
— การตั้งวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม (ดูที่ข้อ 6.2.2);
— การพัฒนากระบวนการในการตระหนักถึง (ดูที่ข้อ 7.3) การสื่อสารภายนอก (ดูที่ข้อ 7.4.3) การวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงาน (ดูที่ข้อ 8.1) รวมถึงการเฝ้าระวังและการวัดผล (ดูที่ข้อ 9.1).
ประสิทธิผลของกระบวนการเหล่านี้และผลลัพธ์ที่บรรลุยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องได้
องค์กรสามารถเลือกที่จะทบทวนรายงานและการสื่อสารจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ตัวอย่างเช่น รายงานการตรวจสอบสถานประกอบการตามระเบียบหรือการตรวจติดตามของลูกค้า) หรือการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง
เมื่อมีการพบความล้มเหลวหรือความล้มเหลวที่เป็นไปได้ในการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง องค์กรควรมีการลงมือปฏิบัติการ ข้อบกพร่องและกระบวนการปฏิบัติการแก้ไขขององค์กร (ดูที่ข้อ 10.2) สามารถนำไปใช้ในการจัดการกับการแก้ไขที่จำเป็น องค์กรควรสื่อสารหรือรายงานความล้มเหลวในการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและตามต้องการ (ดูที่ข้อ 7.4).
องค์กรควรเก็บรักษาเอกสารข้อมูลเป็นหลักฐานการประเมินความสอดคล้อง โดยสามารถรวม
— รายงานผลการประเมินความสอดคล้อง
— รายงานการตรวจติดตามภายในและภายนอก
— การสื่อสารและรายงานภายในและภายนอก
องค์กรควรจัดทำความถี่ และ วิธีการในการประเมินความสอดคล้องนี้ให้เหมาะสมกับขนาดขององค์กร ชนิด และ ความซับซ้อน การกำหนดความถี่ควรขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น ประสบการณ์ในการผิดพลาดหรือเกิดปัญหาในอดีต หรือ ตามกำหนดโดยกฎหมาย ในการประเมินความสอดคล้องเป็นสิ่งดีที่จะใช้ระบบ Independent review โดยการให้มีการ cross check กันได้ในองค์กร
แผนงานการประเมินความสอดคล้องนี้ สามารถควบรวมกับการกิจกรรมการประเมินอื่นๆ ขององค์กรซึ่งรวมถึงการตรวจประเมินภายในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมหรืออาชีวอนามัย หรือ การตรวจสอบความปลอดภัยตามปกติก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำซ้อนหรือแยกบันทึกแต่อย่างใด
เช่นเดียวกันกับข้อกำหนดอื่นๆที่ไม่ใช่กฎหมายที่องค์กรเกี่ยวข้อง ในประเด็นนี้องค์กรอาจจะแยกกระบวนการประเมินความสอดคล้องต่างหาก หรือทำไปพร้อมๆกันกับการประเมินความสอดคล้องกฎหมาย เช่นการที่องค์กรปฏิบัติตาม RoHs ระบบในการติดตามความสอดคล้องอาจมีรอบเวลา วิธีการที่ไม่เหมือนกับการประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย
องค์กรควรตั้งกระบวนการในการประเมินขอบเขตที่บรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องด้วยการเฝ้าระวัง การวัดผล การวิเคราะห์และการทบทวนประสิทธิผลการทำงานต่อพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่ระบุในข้อ 4.2 และ 6.1.3
กระบวนการนี้สามารถช่วยองค์กรในการแสดงให้เห็นคำมั่นสัญญาในการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง เข้าใจสถานะความสอดคล้อง ลดความเป็นไปได้ในการละเมิดกฎระเบียบหรือเลี่ยงปฏิบัติการย้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การตรวจติดตามภายใน (ดูที่ข้อ 9.2) สามารถนำไปใช้เพื่อตัดสินประสิทธิผลของกระบวนการที่ออกแบบและดำเนินการเพื่อประเมินการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง แต่มักไม่สามารถนำไปใช้เพื่อแสดงว่าได้บรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องขององค์กร อย่างไรก็ตาม องค์กรสามารถใช้เทคนิคการตรวจติดตามในการประเมินการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง
ด้วยการประเมินความสอดคล้อง องค์กรจะมีความรู้และตระหนักถึงสถานะของความสอดคล้อง ความถี่ในการประเมินความสอดคล้องควรมีความเหมาะสมในการเก็บความรู้และความตระหนักถึงให้ทันสมัย ควรมีการดำเนินการประเมินในลักษณะที่ให้ปัจจัยนำเข้าได้ทันเวลาต่อการทบทวนของฝ่ายบริหาร (ดูที่ข้อ 9.3) เพื่อว่าฝ่ายบริหารสูงสุดจะสามารถทบทวนการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องขององค์กรและรักษาความตระหนักถึงสถานะความสอดคล้องขององค์กร
สรุปประเด็นสำคัญ
การตรวจประเมิน
· ตรวจสอบว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือข้อกำหนดอื่นๆ ได้รับการประเมินการสอดคล้องทั้งหมด ซึ่งหลักฐานการประเมินการสอดคล้องอาจมาจากบันทึกทีหลายหลาย(audits, document and/or records review, facility inspections, interviews, project or work reviews, routine sample analysis or test results, and/or verification sampling/testing, facility tour and/or direct observation) ให้ทำการสุ่มตรวจ โดยเน้นลำดับความสำคัญกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญรวมถึง ปัญหามลพิษต่างๆ
· ทำการตรวจทาน คู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงานเรื่อง การประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย และการประเมินความสอดคล้องกับข้อกำหนดอื่นๆ ว่าจัดทำได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
· สุ่มตรวจบันทึกเพื่อพิสูจน์ทราบความถูกต้องของบันทึก และรูปแบบการจัดเก็บ ซึ่งรวมถึงค่าวิเคราะห์หรือทดสอบค่าพารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม ต่างๆ
· ตรวจสอบ แผนการตรวจสอบการสอดคล้องกับกฎหมาย ได้มีการจัดทำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการสอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายมีความสามารถอย่างเพียงพอ
· ในกรณีที่พบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือ ใกล้ๆกับเกินค่า limit องค์กรได้มีการกระทำการออกรายงานข้อบกพร่อง เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ ดำเนินกสนแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ หรือไม่
นิยามการตรวจประเมิน
การตรวจประเมินใช้คำต่างๆที่มีความหมายเฉพาะดังนี้ :
· เป็นระบบ-ทำให้เป็นระเบียบ เป็นวิธีการ เป็นแผนงาน
· ทำเป็นเอกสาร-การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
· การพิสูจน์-ข้อมูลได้รับการตรวจสอบ ทำให้ถูกต้องและได้รับการยืนยัน
· เป็นรูปธรรม-เป็นอิสระ ไม่ลำเอียง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกัน
· การประเมินผล- การประเมินการใช้วิจารณญาณ
· หลักฐาน-การสังเกตและข้อมูลที่ได้พิสูจน์แล้ว
· เกณฑ์การตรวจประเมิน-มาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบกับผลการตรวจประเมิน (เช่น ISO 14001 ในกรณีของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม)
· ขอบเขตของการตรวจประเมิน-ข้อกำหนดของ ISO 14001 พื้นที่ปฏิบัติการ และกรอบเวลาการตรวจประเมิน
· วัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน-ประเมินว่าได้มีการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไปใช้อย่างเหมาะสมหรือไม่
การตรวจประเมินในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมักดำเนินการหนึ่งหรือสองครั้งต่อปี อาจจำแนกการตรวจประเมินเป็นการตรวจประเมินภายในหรือภายนอก โดยปกติแล้วการตรวจประเมินภายในจะเกี่ยวข้องกับบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมภายในส่วนงานที่ถูกตรวจประเมินหรือจากส่วนงานอื่นๆภายในองค์กร บางครั้งอาจว่าจ้างผู้ตรวจประเมินมืออาชีพจากภายนอกมาร่วมตรวจด้วย
การตรวจประเมินภายนอกอาจจะเป็นผู้ให้ใบรับรองซึ่งจะประเมินความเหมาะสมของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อออกใบรับรอง ISO เพื่อทำให้มั่นใจว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมยังคงมีความเหมาะสมอยู่ นอกจากนั้นมีการตรวจติดตามผลเป็นระยะทุก 6 เดือน หรือทุก 1 ปี
บุคคลที่มีบทบาทและความรับผิดชอบที่สำคัญในการตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้แก่
$1· ผู้ถูกตรวจประเมิน- องค์กรหรือส่วนงานที่ถูกประเมิน(มักจะเป็นลูกค้าด้วย)
$1· ทีมงานตรวจประเมิน-บุคคลที่มีคุณสมบัติตามกำหนด ขึ้นตรงกับหัวหน้าผู้ตรวจประเมินซึ่งเป็นผู้นำการตรวจประเมิน
$1· ผู้จัดการส่วนงานหัวหน้างานหรือพนักงาน-รับผิดชอบต่อการให้ความร่วมมือในการตรวจประเมิน การให้ข้อมูลตามที่ผู้ประเมินร้องขอ
$1· ผู้บริหารระดับสูงของส่วนงาน- รับผิดชอบในการมอบหมายให้มีการปฏิบัติตามผลการตรวจประเมิน
ข้อกำหนด กำหนดว่า องค์กรต้องจัดทำกำหนดการตรวจประเมินภายในระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อตัดสินว่าระบบยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดทั้งหมดใน ISO 14001 หรือไม่ และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ (กล่าวคือบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม) ขอบเขตของการตรวจประเมินแต่ละครั้ง ไม่ได้ครอบคลุมทุกข้อกำหนดของมาตรฐานหรือไม่จำเป็นต้องตรวจประเมินทุกหน้าที่ในส่วนงาน แต่ได้กำหนดว่าต้องให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญโดยการพิจารณาจากผลการตรวจประเมินครั้งที่ผ่านมา
องค์กรจำเป็นต้องจัดทำกำหนดการตรวจประเมินที่มีความสมดุลระหว่างความเข้มงวดกับ ความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถตรวจสอบเรื่องที่สำคัญที่สุดได้ทันเวลา ควรมีการตรวจประเมินข้อกำหนดทั้งหมดของมาตรฐานทุกๆปี ในทางปฏิบัติ การตรวจประเมินข้อกำหนด ISO 14001 และพื้นที่ส่วนงาน
ขั้นตอนการตรวจประเมินภายในควรมีข้อมูลเหล่านี้ :
เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด ISO 14001 องค์กรต้องชักนำให้มีการตรวจประเมินเป็นระยะในเรื่องการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆดังนี้:
หลักการและขั้นตอนการปฏิบัติของการตรวจประเมินนี้จะเหมือนกับการตรวจประเมินในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แม้ว่าขอบเขต มาตรฐาน วัตถุประสงค์และรายการตรวจเช็คต่างๆจะแตกต่างกัน
$1· การตรวจติดตามภายในของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมขององค์กรควรมีการดำเนินการตามเวลาที่วางแผนไว้เพื่อกำหนดและให้ข้อมูลต่อฝ่ายบริหารว่าระบบสามารถสอดคล้องกับการจัดการตามแผนและมีการดำเนินการรวมถึงรักษาอย่างเหมาะสมหรือไม่โดยสามารถใช้ผลในการบ่งชี้โอกาสสำหรับการปรับปรุงระบบบริหารสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้
$1· องค์กรควรจัดตั้งโปรแกรมตรวจติดตามภายในเพื่อนำการวางแผนและดำเนินการตรวจติดตามภายในรวมถึงบ่งชี้การตรวจติดตามที่จำเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโปรแกรมตรวจติดตาม โปรแกรมตรวจติดตามและความถี่ในการตรวจติดตามภายในควรอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมชาติของการดำเนินงานขององค์กรในด้านประเด็นสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้ ความเสี่ยงและโอกาสที่ต้องค้นหา ผลการตรวจติดตามภายในและภายนอกครั้งก่อน รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงที่กระทบองค์กร ผลการเฝ้าระวังและวัดผลรวมถึงสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งก่อน) และควรมีการพิจารณากระบวนการจ้างผู้รับเหมาที่มีเงื่อนไขการตรวจติดตามเป็นการควบคุมในการวางแผนโปรแกรมตรวจติดตาม
$1· องค์กรควรกำหนดความถี่ในการตรวจติดตามภายในโดยโปรแกรมตรวจติดตาม ที่ซึ่งสามารถ ครอบคลุมหนึ่งปีหรือหลาย ๆ ปีและสามารถประกอบด้วยการตรวจติดตามหนึ่งครั้งหรือมากกว่านี้
$1· แต่ละครั้งของการตรวจติดตามภายในไม่จำเป็นต้องครอบคลุมระบบทั้งหมด ตราบเท่าที่โปรแกรมตรวจติดตามทำให้มั่นใจว่าหน่วยงานและหน้าที่ขององค์กรทั้งหมด ส่วนประกอบของระบบ และขอบเขตระบบบริหารสิ่งแวดล้อมแบบเต็มจะมีการตรวจติดตามเป็นระยะ
$1· การตรวจติดตามภายในควรมีการวางแผนและดำเนินการด้วยวัตถุประสงค์เดียวและผู้ตรวจติดตามหรือทีมตรวจติดตามบางส่วนที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสมซึ่งคัดเลือกจากภายในองค์กรหรือจากแหล่งภายนอก ความชำนาญโดยรวมของผู้เชี่ยวชาญควรมีเพียงพอต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการตรวจติดตามและเพื่อบรรลุขอบเขตการตรวจติดตามเฉพาะรวมถึงให้ความมั่นใจตามระดับความน่าเชื่อถือที่แสดงในผลลัพธ์ได้
$1· ผลการตรวจติดตามภายในสามารถแสดงในรูปแบบของรายงานตามพื้นฐานการตรวจพิสูจน์และใช้เพื่อแก้ไขหรือป้องกันข้อบกพร่องเฉพาะหรือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโปรแกรมตรวจติดตามหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นและเพื่อให้ปัจจัยนำเข้าต่อการทบทวนของฝ่ายบริหาร
END
ต้องมีการจัดทำกำหนดการทบทวนของฝ่ายบริหารเพื่อประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงได้ยืนยันในข้อตกลงการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเป็นการแสดงความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม
ตามช่วงเวลาที่กำหนด ฝ่ายบริหารสูงสุดขององค์กรควรดำเนินการทบทวนระบบบริหารสิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง ความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบ การทบทวนนี้ควรครอบคลุมประเด็นสิ่งแวดล้อมของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่อยู่ภายในขอบเขตของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
การทบทวนของฝ่ายบริหารสามารถทำร่วมกันกับกิจกรรมบริหารแบบอื่น ๆ (ตัวอย่างเช่น การประชุมของคณะกรรมการ การประชุมการดำเนินงาน) หรือสามารถดำเนินการเป็นกิจกรรมต่างหาก การทบทวนของฝ่ายบริหารสามารถประสานกับวงจรการวางแผนและการตั้งงบประมาณขององค์กรรวมถึงประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำมาประเมินในช่วงการทบทวนของฝ่ายบริหารสูงสุดในด้านประสิทธิผลการทำงานของธุรกิจทั้งหมดเพื่อให้การตัดสินลำดับความสำคัญและทรัพยากรสำหรับระบบบริหารสิ่งแวดล้อมจะมีความสมดุลกับการจัดลำดับความสำคัญทางธุรกิจอื่น ๆ และความต้องการทรัพยากร
ปัจจัยนำเข้าสำหรับการทบทวนของฝ่ายบริหารสามารถรวม
$1— ผลการตรวจติดตามและการประเมินการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง
$1— การสื่อสารจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกโดยรวมถึงข้อร้องเรียนด้วย
$1— ประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
$1— ขอบเขตที่มีการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
$1— สถานะของปฏิบัติการแก้ไข
$1— ปฏิบัติการติดตามจากการทบทวนของฝ่ายบริหารครั้งก่อน
$1— สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่รวม
$1— บริบทขององค์กร
$1— การเปลี่ยนแปลงในกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ขององค์กร
$1— ผลการประเมินประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและความเสี่ยงและโอกาสที่ต้องค้นหาจากการพัฒนาใหม่หรือที่ตามแผน
$1— การเปลี่ยนแปลงในพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องขององค์กร
$1— มุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
$1— ความทันสมัยของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
$1— บทเรียนที่เรียนรู้จากสถานการณ์กรณีฉุกเฉิน
$1— ความเพียงพอของทรัพยากร
$1— คำแนะนำในการปรับปรุง
ผลลัพธ์จากการทบทวนระบบบริหารสิ่งแวดล้อมควรรวมการตัดสินใจด้าน
$1— ความเหมาะสม ความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบ
$1— โอกาสสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
$1— ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงต่อทรัพยากรทางกายภาพ บุคคลและทางการเงิน
$1— ปฏิบัติการหากจำเป็นเมื่อไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
$1— ปฏิบัติการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ต่อนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
$1— ปฏิบัติการเกี่ยวกับการปรับปรุงการบูรณาการของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมกับกระบวนการทางธุรกิจอื่น ๆ หากจำเป็น
$1— นัยยะของทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กร
ตัวอย่างเอกสารข้อมูลที่เก็บเป็นหลักฐานของผลการทบทวนของฝ่ายบริหารจะรวมถึงสำเนาวาระการประชุม รายชื่อผู้เข้าร่วม เอกสารการนำเสนอการตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่บันทึกในรายงาน รายงานการประชุมหรือระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
ฝ่ายบริหารสูงสุดสามารถตัดสินว่าใครควรเข้าร่วมในการทบทวนของฝ่ายบริหาร โดยปกติ จะรวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้จัดการของหน่วยงานสำคัญ และฝ่ายบริหารสูงสุด ทั้งนี้ ตัวแทนของระบบบริหารอื่น ๆ (ตัวอย่างเช่น คุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การต่อเนื่องธุรกิจ) อาจต้องเข้าร่วมเพื่อจุดประสงค์ของการบูรณาการด้วย
กำหนดการทบทวนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยฝ่ายบริหารไม่ควรน้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี และการทบทวนควรเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูงทุกคน (ผู้บริหาร,ผู้ทำการตัดสินใจ)ในส่วนงาน รวมทั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารหรือผู้จัดการทั่วไป และตัวแทนฝ่ายจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
ตัวแทนฝ่ายจัดการด้านสิ่งแวดล้อมควรเตรียมเอกสารโดยสรุปเพื่อให้ผู้บริหารได้อ่านทบทวนเตรียมตัวก่อนเข้าประชุม ซึ่งควรมีข้อมูลต่างๆดังนี้ :
การประชุมควรดำเนินการตามหัวข้อการประชุม และเปิดโอกาสให้มีการอภิปราย และทำการตัดสินใจอย่างเพียงพอ ตัวอย่างหัวข้อการประชุม ได้แก่ :
· สรุปประเด็นสำคัญของสรุปผลการประชุมที่จัดทำโดยตัวแทนฝ่ายจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
· การอภิปรายโดยผู้บริหารระดับสูงในเรื่องความเหมาะสมของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านความมุ่งหมายของธุรกิจ การผลิต ข้อกำหนดกฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
· การสื่อสารและข้อร้องเรียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
· ชนิดและแนวโน้มของข้อบกพร่องในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
· ประสิทธิผลของการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขโดยพิจารณาจากข้อกำหนดกฎหมาย
· ทรัพยากรที่ต้องการสำหรับการดำรงไว้และการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
· วิสัยทัศน์การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ริเริ่มขึ้นที่ส่วนงาน
ควรมีการบันทึกผลการประชุมโดยระบุผู้เข้าร่วมประชุม คำอภิปราย และการตัดสินใจจากการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร จากข้อสรุปของการประชุมควรมีการกำหนดแผนปฏิบัติการพร้อมด้วยผู้รับผิดชอบและกำหนดการแล้วเสร็จ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงแผนงานการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ทันสมัย ควรมีกำหนดวันที่ของการทบทวนครั้งต่อไปเพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารระดับสูงต้อง :
$1· ) ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
การทบทวนโดยฝ่ายบริหารต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในเรื่อง :
· ข้อกำหนดทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
· สภาพเศรษฐกิจและธุรกิจ
· ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร
· เทคโนโลยี
· ความคิดเห็นของสาธารณชนและความต้องการของสังคม
ผู้บริหารระดับสูงต้องจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเพียงพอเพื่อคงรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไว้และทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
END