Login Form

รอยเท้าคาร์บอน vs ใช้ข้อมูล

2022-02-18 17-53-41 carbon500

การทำรอยเท้าคาร์บอน เป็นการทำมาให้ได้ข้อมูล

คำถามถัดมา

ท่านสามารถใช้ข้อมูลเพื่อทำอะไรให้มีประโยชน์ได้บ้าง

  1. ทำการศึกษาเพื่อให้เข้าใจแหล่งกำเนิดคาร์บอนและวิธีการที่เกิดกับส่วนงานและระดับการจัดการ
  2. จับเรียง และ รู้ว่าแหล่งก่อกำเนิดใดมีมากที่สุด และ แหล่งก่อกำเนิดใดลดได้ง่ายที่สุด
  3. ระบุและจัดลำดับความสำคัญในการปล่อย
  4. กำหนดแผนการเพื่อลดอย่างเป็นระบบ
  5. รู้ต้นทุนและความจำเป็นในแต่ละแหล่งคาร์บอน
  6. หาทางชดเชย offset ที่สามารถสร้างประโยชน์ คุ้มค่าต่อการลงทุน
  7. หาทางปรับให้ง่ายและควบรวมกับกระบวนการทางธุรกิจปกติ

 

การจับบริษัทเข้าคอร์ส ลดรอยเท้าคาร์บอน

การลดคาร์บอนต้องกระทำอย่างมีกลยุทธ์และมีกำไร
การลดคาร์บอนเป็นสิ่งที่ยาก เพราะเป็นการเปลี่ยนวิธีดำเนินธุรกิจ
คุณจึงต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะหากเรื่องที่คุณทำ ทำแล้วได้ตัง ทุกอย่างก็ง่าย หากทำแล้วเสียตังก็ตรงกันข้าม หากทำแล้วได้ลูกค้าเพิ่มก็ง่าย หากทำแล้วไม่ได้ลูกค้าเพิ่มก็ยาก

ท่านจึงต้องทราบว่า
- แหล่งไหนในบริษัทท่านที่ปล่อยคาร์บอน
- การปล่อยคาร์บอนที่จุดใดมีความสำคัญ
- การปล่อยคาร์บอนจุดใดที่พร้อมให้ลด
- จะเปลี่ยนกระบวนการ เปลี่ยนการออกแบบ เปลี่ยนวัสดุ เปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยน.....อย่างไร
- จะลดตรงส่วนไหนถึงได้กำไร
- คู่แข่งท่านกำลังทำอะไร

 

ข้อควรพิจารณา เพื่อการลดรอยเท้าคาร์บอน

- ต้องรู้ว่ารองเท้าที่ใช้ ใหญ่เบอร์อะไร

- ต้องรู้ว่ารอยเท้าคุณนั้นลงลึกขนาดไหน น้ำหนักตัวมากเหยียบพื้นนิ่ม
- ต้องรู้ว่าบริษัทคุณกำลังขยันเดิน เดินไปทั่วหรือไม่

 

การลดคาร์บอนเหมือนเข้าคอร์สลดน้ำหนัก 

การลดน้ำหนัก ท่านต้องรู้ สองตัวเลข ว่าตอนนี้เท่าไหร่และจะไปให้ถึงตรงไหน
การลดคาร์บอนก็เช่นกัน

เริ่มด้วย

  • ประเมิน baseline(ฐานการปล่อย) ว่าบริษัท่านอยู่ประมาณไหนเมื่อเทียบกับชาวบ้าน
  • ตั้งเป้า ว่าจะลดปริมาณคาร์บอน หรือลดความเข้มข้น ลงซักเท่าไหร่ดี
  • จัดลำดับความสำคัญของโอกาสในการลด
  • คิด ปรับวิธีการดำเนินธุรกิจ แบบนักธุรกิจ 


อะไรที่ท่านควรทำเกี่ยวกับซัพพลายเออร์ ที่ท่านไม่มีอำนาจควบคุมทางตรง

  • เริ่มต้นโดยการสอบถามซัพพลายเออร์ เพื่อหาข้อมูลการปล่อยคาร์บอน
  • ถ้ามีความสามารถพอก็เริ่มหาทางลดคาร์บอนไปพร้อมกับซัพพลายเออร์หลัก (ผลลัพธ์เรื่องนี้ มักทำให้ต้นทุนต่ำลงทั้งสองฝ่าย)
  • จัดหาวัสดุในท้องถิ่นเท่าที่ทำได้
  • ปรับประสิทธิภาพการขนส่ง
  • จัดซื้อโดยเน้นสีเขียวๆ ( Green Procurement) https://www.bsigroup.com/en-GB/about-bsi/media-centre/press-releases/2017/april/Sustainable-procurement-in-supply-chains-addressed-by-new-international-standard/

END
อ่านเพิ่มเติม การจัดการสิ่งแวดล้อมผ่านคู่ค้าทางธุรกิจ
ดาวน์โหลด เอกสารเกณฑ์จัดซื้อเพื่อความยั่งยืน

 

Online

มี 30 ผู้มาเยือน และ 2 สมาชิก ออนไลน์