Login Form

ISO22000 7.4.4 การเลือกและการประเมินมาตรการควบคุม

 มาตรฐาน ISO 22000 กำหนดว่า “มาตรการควบคุมที่ถูกเลือก ต้อง ถูกจัดแยกประเภทว่ามาตรการเหล่านั้น จำเป็นต้องถูกจัดการโดย oPRPs หรือ HACCP plan “ มีคำถามว่า แล้ววัตถุประสงค์ หรือ ความแตกต่างระหว่างการจัดการโดย oPRPs กับ แผน HACCP มันเหมือนหรือต่างกัน

อย่างไร

 

มาตรการควบคุม ตามมาตรฐาน ISO22000

ก่อนที่จะทำการเรียนรู้เกี่ยวกับการแยก ประเภท มาพิจารณาความแตกต่างกันก่อนดีกว่า มาตรการควบคุม ตามมาตรฐาน ISO22000 มีสองชนิด ซึ่งมีวิธีการจัดการต่างกันตามข้อกำหนด ISO22000 ดังนี้

  

หากทำการเปรียบเทียบ ข้อกำหนด 7.5 กับ 7.6 ข้างต้นท่านจะพบว่าสิ่งที่แตกต่างกันคือ หากมาตรการควบคุมถูกจัดการโดย แผน HACCP คือต้องมี ค่าวิกฤติ (7.6.1 c)และ หากมาตรการควบคุมถูกจัดการโดย oPRPs วิธีการในการเฝ้าระวังติดตาม (monitoring) จะเป็นการเฝ้าระวังติดตามว่า มาตรการควบคุมได้มีการนำไปปฏิบัติ (7.5.c )

 
ท่านจะเห็นได้ว่า มาตรการควบคุม สองชนิดนี้ แตกต่างกันที่ การตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) หากการตรวจเฝ้าระวังด้วยการสังเกตว่ามาตรการควบคุมว่า ได้มีการนำไปปฏิบัติหรือปฏิบัติได้ดีหรือไม่อย่างไร เช่น การตรวจพินิจการปิดผนึกกระป๋อง , การตรวจสอบใบรับรองการวิเคราะห์ ของผู้ส่งมอบ , การล้างวัตถุดิบ (ผัก, กุ้ง) , การตรวจพินิจว่ามีก้างปลาหลงเหลือหรือไม่ เป็นต้น  มาตรการประเภทนี้จะเป็นมาตรการชนิด oPRP
 
ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการแยกประเภทของมาตรการควบคุม เป็นเรื่องที่ว่า CCP นั้นสามารถมี ค่าวิกฤติ CL หรือไม่ สามารถทำการเฝ้าระวังติดตามได้ง่ายไหม ได้ข้อมูลย้อนกลับเร็วไหม หากไม่สามารถทำได้ มาตรการควบคุมก็ควรที่จะทำการจัดการด้วย oPRPs   
 
มาตรการควบคุมประเภท oPRPs จะถูกเฝ้าระวังเพียงแค่ว่า มาตรการควบคุมนั้นได้มีการทำจริงหรือไม่ เช่น มีการล้างมือทุกๆ 2 ชั่วโมง…  จเห็นได้ว่ามีความเข้มงวดของการเฝ้าระวังติดตามที่ต่างกัน
 

ท่านต้องตระหนักว่าสิ่งที่ท่านกำลังทำ คือ ทำการทบทวน มาตรการควบคุม ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลต่ออันตราในอาหารที่ระบุ

การแยกประเภทนี้ มีผลต่อ มาตรการควบคุม ทุกประเภท ไม่ว่า PRPs oPRPs HACCP Plan เพราะหลังจากการพิจารณาแล้ว บาง PRPs อาจกลายเป็น oPRP บาง CCP อาจปรับเป็น oPRPs

ในการควบคุมอันตรายในอาหารที่ผลิตภัณฑ์สุด ท้าย มาจากหลายๆมาตรการควบคุุมในขั้นตอนต่างๆระหว่างทำการผลิต ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีบางขั้นตอน บางกิจกรรม ซึ่งหากทำไม่ดี เกิดการล้มเหลว จะมีผลอย่างมากต่ออันตรายในอาหาร ทำให้อาหารไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค

ในการเลือกมาตรการควบคุมมาใช้ และรวมถึงการแยกประเภทมาตรการควบคุม ต้องกระทำหลัง การชี้บ่งอันตรายเท่านั้น  เหตุผลคือ ท่านจะได้ทราบว่า ขั้นตอนไหน กิจกรรมไหนมีความเสี่ยงต่ำ เสี่ยงสูง มาตรการควบคุมไหนที่ต้องใส่ใจ ต้องเข้มงวด มิฉะนั้นท่านจะเลือกใช้มาตรการควบคุมไม่ถูก ท่านจะทำการแยกประเภทการจัดการกับมาตรการควบคุมไม่ได้

ท่านต้องระวังในการแยกประเภทมาตรการควบคุม ที่ซึ่งแต่ละองค์กรต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความเสี่ยงว่าเสี่ยงมาเสี่ยงน้อย  ซึ่งแล้วแต่อันตรายในอาหารแต่ละชนิด  ซึ่งแล้วแต่กระบวนการว่ามีขั้นตอน ซึ่งแล้วแต่ว่ามีโอกาสในการปนเปื่อนกี่จุด ซึ่งแล้วแต่ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ท่านผลิต ด้วยเหตุผลนี ท่านต้องทำให้มั่นใจว่าหลังจากการคัดแยกประเภทมาตรการควบคุมแล้ว ท่านจะได้มาที่ซึ่ง มาตรการควบคุมที่สะท้อนต่้ออันตรายในอาหารของท่าน (ท่านสามารถจัดการได้อย่างอยู่หมัด และด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยม)

  • หากมี CCP น้อย อาจจะทำให้ไม่สามารถควบคุมอันตรายในอาหารได้อย่างเพียงพอ  
  • ในขณะเดียวกัน หากองค์กรพยายามชี้บ่งมาตรการควบคุมให้เป็นประเภท CCP มากๆ   ซึ่งหากมี CCP ที่มากไป อาจ ส่งปัญหาต่อการจัดการได้เช่นกัน (เพราะหากทุกสิ่งสำคัญแปลว่าไม่มีอะไรสำคัญจริง หากกำหนดให้มี จุดสำคัญหลายๆจุด คุณจะ  loss focus ได้ ซึ่งไม่ใข่วัตถุประสงค์ของ FSMS ทุกมาตรฐาน) 

 ตัวอย่างมาตรการควบคุม

มาตรการควบคุม (control measure) หมายถึง การปฏิบัติและกิจกรรมใดๆ ซึ่งสามารถใช้ป้องกันหรือ ขจัดอันตรายต่อความปลอดภัยของอาหาร หรือลดอันตรายลงมาสู่ระดับที่ยอมรับได้ 

   อันตรายจากสารปฏิชีวนะตกค้าง และ หรือ การปนเปื้อนของเชื้อจุลลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในวัตถุดิบ สามารถป้องกันได้ในขั้นตอน การรับวัตถุดิบ เช่น ต้องแสดงรายงานผลการตรวจสอบวัตถุดิบ
อันตรายจากการใช้วัตถุเจือปนอาหารเกินกำหนด สามารถป้องกันโดย การชั่งวัตถุเจือปนอาหารให้ถูกต้อง อาจชั่งโดยอัตโนมัติและติดตั้งสัญญาณเตือนเมื่อน้ำหนักผิดปกติ และหรือ ทวนสอบปริมาณสารที่ตกค้างในขั้นตอนการเติมวัตถุเจือปนอาหารเพื่อเป็นการ double check หรือ ทวนสอบ
 ป้องกันการเติบโตของเชื้อโดยการควบคุมสูตรการผลิต เช่น การเติมการปรับ ค่า pH การเติมวัตถุเจือปนอาหาร
 การควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในผลิตภัณฑ์สุดท้ายโดย การแช่เย็น
 การปรับกรดเพื่อ ควบคุมสปอร์ c. botulinum ในอาหารหมักดอง
 การอบแห้งที่อุณหภูมิ > 93 c ที่เวลา มากกว่า 120 นาที อัตราเร็วลม 2 ลบ ฟุต ค่า aW น้อย กว่า 0.85 เพื่อควบคุมการเติบโตของจุลินทรีย์
 การเติมตัวทำละลายเช่น น้ำตาลหรือเกลือ เพื่อลด Aw ของผลิตภัณฑ์


มาตรการควบคุม (control measure) หมายถึง การปฏิบัติและกิจกรรมใดๆ ซึ่งสามารถใช้ป้องกันหรือ ขจัดอันตรายต่อความปลอดภัยของอาหาร หรือลดอันตรายลงมาสู่ระดับที่ยอมรับได้

 การใช้แสง อัลตราไวโอเลต เพื่อฆ่าเชื้อ
 การฆ่าพาราไซด์โดยการแช่แข็ง
 ขั้นตอนการให้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และพาราไซด์ที่ก่อให้เกิดโรค
 ขั้นตอนการตรวจเช็คโลหะ เพื่อกำจัดผลิตภัณฑ์ที่มีเศษโลหะปนเปื้อนอยู่


มาตรการควบคุม (control measure) หมายถึง การปฏิบัติและกิจกรรมใดๆ ซึ่งสามารถใช้ป้องกันหรือ ขจัดอันตรายต่อความปลอดภัยของอาหาร หรือลดอันตรายลงมาสู่ระดับที่ยอมรับได้

 การตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมที่นอกเหนือจากเศษโลหะ ด้วยสายตาโดยผู้ปฏิบัติงานในขั้นตอนการเตรียมผลิตภัณฑ์ ก็จะลดอันตรายให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
 หากกระบวนการผลิตไม่มีขั้นตอนฆ่าเชื่อ ด้วยความร้อนเพื่อกำจัดเชื้อ มาตรการป้องกันอันตรายชีวภาพที่จัดทำขึ้นเพื่อลดอันตรายให้ลดลงจนอยู่ใน เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ก็จัดเป็น CCP
 การคัดแยก ตรวจรับผัก ผลไม้ ตามมาตรฐานการตรวจรับวัตถุดิบโดยคนงาน
 ตรวจสอบการสลายตัวของโปรตีน จากปริมาณฮีสตามีน ด้วยประสาทสัมผัส


ตัวอย่าง CCP เดียวที่สามารถควบคุมอันตรายได้หลายอย่าง เช่น ขั้นตอนการแช่เย็นปลา จะสามารถควบคุมอันตรายได้ 2 อย่าง คือ การเจริญเติบโตของเชื้อจุลลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและป้องกันการเกิดของ histamine
ที่ต้องมี CCP หลายจุดคือ การให้ความร้อนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในแฮมเบอร์เกอร์จำ เป็นต้องมี CCP ในการควบคุมอุณหภูมิและเวลาในการฆ่าเชื้อ และ CCP ในการควบคุมความหนาของ pallet หรือ ก้อน แฮมเบอร์เกอร์ในขั้นตอนแปรรูป

อธิบายข้อกำหนด

 
มาตรฐาน ISO22000 กำหนดว่า การเลือกและการจัดประเภท ต้องถูกดำเนินไปโดยอาศัย “หลักตรรกวิทยา.( logical approach)“ 

อะไรคือ Logical approach 

Logical ตามความหมายที่ 1 : seeming natural, reasonable or sensible -> ดูเป็นธรรมชาติ,  มีเหตุผล หรือ สมเหตุสมผล
 
Logical ตามความหมายที่ 2 : Follow or able to follow the rules of logic in which ideas or facts are base on other ideas or facts ->  สามารถทำตามกฎของตรรกะที่ซึ่งคิดหรือข้อเท็จจริงเป็นฐานในความคิดหรือข้อเท็จจริงอื่นๆ
 
Logical ตามความหมายที่ 3 : a way of thinking, or explaining some things. Sensible reasons for doing something -> วิธีการคิด, หรือการอธิบายบางสิ่งบางอย่าง, ความสมเหตุสมผลที่จะทำ
 
จะเห็นได้ว่า logical เป็นความหมายที่ไม่มีนัยยะ ที่ต้องทำการคำนวณเป็นตัวเลข หรือต้องใช้ Flow หรืออะไร ความหมายหลักๆของคำคือ ดูสมเหตุ สมผล มีเหตุผล ทำตามได้  
 
มาตรฐาน ISO22000 กำหนดว่า  การเลือกและการจัดประเภท ต้องครอบคลุมถึงการประเมินด้านต่าง ๆ  (assessments)
 
อะไรคือ Assessment
Assessment ตามความหมายที่ 1 : An opinion or a judgment about something – ความคิดเห็นหรือการตัดสินใจบางสิ่ง
Assessment ตาม ความหมายที่ 2 :To act of judging or forming an opinion about something – เพื่อทำการตัดสินใจ หรือ จัดทำการให้ความเห็นเกี่ยวกับบางสิ่ง
Assessment ตามความหมายที่ 3 :An amount that has been calculated and that must be paid สิ่งที่ได้คำนวณและต้องจ่าย
 
คำ ว่าการประเมิน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เป็นการกระทำเพื่อการตัดสินใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำด้วยการคำนวณ (หรือ อาจทำโดยการคำนวณ) ก็ได้  เช่น ประเมินโอกาสในการปรับปรุง ประเมินความรู้ ประเิมินความสามารถ การตรวจประเมินเพื่อการรับรองระบบ ประเมินสถานการณ์ทางการเมือง ประเมินว่าน่าจะสอบได้ น่าจะสอบตก และ อื่นๆ  คุณ จะเห็นไ้ด้ว่าคุณ สามารถ ประเมินโดยไม่ต้องใช้หลักการให้คะแนน  ISO22000 ต้องการให้คุณมีกระบวนการในการตัดสินใจ และให้ทำการตัดสินใจ ไม่ใช่ให้คำนวณ
 
อะไรคือการไม่ประเมิน หมายถึง ไม่รู้ ไม่ชี้ อยู่ดีๆ ก็สรุปออกมาเป็นอย่างนี้  บอกเหตุผลไม่ได้ บอกที่มาที่ไปไม่ได้ว่าทำไมจึงเลือกมาตรการควบคุมอย่างนี้ หรืออีกแบบคือไม่มีการตัดสินใจ การเดาสุ่ม จิ้มนิ้วมั่วไม่ถือเป็น การประเมินครับ   
 
การประเมินโดยไม่ logical approached  หมายถึงการให้คนอื่นประเมิน คนอื่นจะทำตามวิธีคุณไม่ได้ พูดง่ายๆว่าไม่มีวิธี  กระบวนการในการตัดสินใจ ให้ความเห็นต่างหากที่มาตรฐาน ISO22000 ต้องการ  (งงมั้ย หากงงๆ อ่านความหมายของคำว่า Logical สามรอบ พร้อมดื่มน้ำตาม !)  
  

สำหรับ การประเมินอันตราย Hazard Assessment โดยใช้หลัก matrix ตามแนวทางที่ Codex แนะนำไว้ด เพื่อเลือกว่าอันตรายใดที่ต้องมีมาตรการควบคุม แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้เสมอไป

 

risk

 

 

วิธีการที่ใช้ในการประเมิน

จากการอธิบายข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่ามาตรฐาน ISO22000 ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการให้คะแนนเป็นตัวเลข  ไม่ต้องมีการคำนวณ โดยการจับบวก จับคูณ ตามที่ใช้กันตาม  รูปแบบที่ฝรั่งทำ procedure ขาย และมีให้ download ใน อินเตอร์เนต 

วิธีนี้กลับกลายเป็นวิธีที่ต้องทำตาม โดยไม่รู้เหตุผล และคิดว่าเป็นวิธีที่ ISO22000 แนะนำให้ใช้

วิธีดังกล่าวมักอยู่ใน รูปแบบนี้ 

 table a
 
table b
  • การให้คะแนนแบบนี้ มีข้อเสีย เพราะในแต่ละข้อของ a – g มีความสำคัญไม่เท่ากัน
  • เวลาเราใส่คะแนน แล้วเอาคะแนนรวมมาตัดสินใจ บางครั้งบางที ไม่สมเหตุ สมผล ไม่เหมาะสม เช่น หากกระบวนการนั้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเกิดอันตรายในอาหาร แค่เพียงข้อนี้ ข้ิอเดียวก็พอที่จะจัดให้เป็น แผนHACCP แ้ล้ว ไม่ต้องคำนึงถึงคะิแนน เพราะเมื่อนำคะแนนมารวมกัน อาจทำให้ประเด็นเปลี่ยน  
  • บางที่เราใส่คะแนน เพื่อให้ สุดท้่ายได้คะแนนตามเกณฑ์ที่คาดไว้ก่อน

ผลที่ได้จากการใส่คะแนนแบบนี้ อาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่มาตรฐาน ISO22000 ต้องการด้วยซ้ำไป  เพราะมาตรฐานต้องการ คือ ต้อง Logical  .หมายถึง “ ต้อง ดูสมเหตุสมผล ต้องดูมีเหตุผล  ดูแล้วใช่เลย “  

โดยเฉพาะหากคุณไม่รู้การจัดการ แบบ oPRPs กับ แผน HACCP มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อด้อย ต่างกันอย่างไร คุณอาจตกหลุมพลาง การอำพรางของ Math Model โดยไม่รู้ตัว 


แนวทางจาก ISO 22004  

เป็นที่รู้กันว่ามาตรฐาน ISO22000  บอกว่าต้องทำอะไร แต่ไม่บอกว่าให้ทำอย่างไร ซึ่งแนวทางในการคัดเลือกและแยก มาตรการควบคุมที่ ISO22004 ข้อ  7.4.4 ให้มาเป็นดังนี้  
 
 

มาตรฐาน ISO22004 ให้แนวทางว่า แล้วแต่องค์กรคุณว่าต้องการจัดการมาตรการควบคุมแบบไหน จะเน้น oPRPs หรือ เน้นที่แผน HACCP

 

 คำว่า " may focus " แปลว่า มาตรฐาน ISO22000  บอกว่าการแยกประเภท มาตรการควบคุม เป็นเรื่องมุมมองการจัดการ ผู้ใช้ดุลยพินิจ ไม่ใช่ เรื่องของ Match model   

 

 
 
แนวทางข้างล่างนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้กับองค์กรในกระบวนการจัดประเภทมาตรการควบคุม
      ผลกระทบของมาตรการควบคุมต่อระดับอันตรายหรือโอกาสการเกิดอันตรายนั้นๆ (หากผลกระทบสูง มาตรการควบคุมควรได้รับการจัดการแบบประเภท HACCP Plan )
      ความรุนแรงต่ออันตรายต่อconsumer health ( หากมีความรุนแรงสูง มาตรการควบคุมควรได้รับการจัดการแบบประเภท HACCP Plan )
      ความจำเป็นของการ monitoring ( หากในจุดนั้นๆ ขั้นตอนนั้นต้องการระดับการ monitoringที่เข้มงวด,มาตรการควบคุมนั้นควรได้รับจัดการแบบประเภท HACCP Plan )
 
จาก guideline ข้างต้นท่านจะเห็นได้ว่า ข้อกำหนด ISO 22004 ได้ให้แนวทางอย่างชัดเจน ถึงวิธีการในการพิจารณา แยกประเภทการจัดการมาตรการควบคุม ว่ามาตรการควบคุมแบบไหนควรได้รับการจัดการตาม HACCP ตามข้อ 7.6 หรือ oPRP ตามข้อ 7.5
 
การจัดการประเภท HACCP Plan คือการเน้นที่ ค่าวิกฤติ  หรือ เน้นที่ process parameter เน้นว่าค่าควบคุมที่กำหนดยังสามารถควบคุมได้อยู่ เพราะหากค่าควบคุมค่าวิกฤติได้ อาหารจะปลอดภัยแน่นอน
 
ส่วนการจัดการประเภท oPRP คือ การเน้นว่ามาตรการควบคุมได้มีการนำไปปฏิบัติ การตรวจพินิจ ยังคงทำอยู่ การล้างวัตถุดิบยังคงทำอยู่ หากเน้นที่ว่า ทำหรือไม่ได้ทำ มาตรการควบคุมนี้เป้น oPRP
 
การแยกประเภทของการมาตรการควบคุมไม่ซับซ้อนแต่อย่างใด เพราะมาตรการควบคุม ทั้งสองประเภทต้องได้รับ validate เหมือนกัน
 

ตัวอย่างหนึ่ง

วิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ ในการทำให้สอดคล้องกับ ข้อกำหนด ISO 22000 7.4.4 สำหรับองค์กรที่ทำ HACCP แล้ว หรือจำต้องทำ HACCP ควบคู่ โดยการใช้ Decision tree ของ CODEX ที่ซึ่งส่วนมากมักมีการกระทำอยู่แล้ว

องค์กรที่ใช้ decision tree ตาม Codex จะสอดคล้องกับ ข้อกำหนด ISO22000 ข้อ 7.4.4 ภาพด้านล่างจะเห็นได้ว่ามีการกระทำที่สอดคล้องกับ 7.4.4 ) กับ 7.4.4 f) อยู่แล้ว


 

ขั้นตอนการทำการคัดเลือก และ แยกประเภท มาตรการควบคุม

1. ทำการแยกประเภท มาตรการควบคุม โดยใช้ decision tree ตาม Codex
( เมื่อทำการเสร็จสิ้น ท่านจะมีการกระทำที่สอดคล้องกับ 7.4.4 c) & f) โดยอัตโนมัติ ( ด้วย Q2 และ Q4 ของ decision tree ) )

2. นำมาตรการควบคุมที่ผ่านการกรองด้วย Q2 & Q4 ( HACCP Codex) มาเข้ากระบวนการเพิ่มเติม ดังนี้

 

 

 ( เมื่อจบกระบวนการ ท่านจะการกระทำที่สอดคล้อง กับ 7.4.4 b, d, e เพิ่มเติม )

 
3. นำมาตรการที่ Q4 เป็น yes มาพิจารณาอีกครั้งว่า จะปรับจาก PRPs เป็น oPRPs หรือ HACCP หรือไม่ และมีมาตรการใดที่ควร combine รวมกับ แล้วจัดประเภทใหม่ให้อีกครั้ง พร้อมพิจารณาปรับเปลี่ยนประเภทตามความเหมาะสม
 
( เมื่อ เสร็จสิ้น ท่านจะมีหลักฐานการกระทำที่ สอดคล้องกับ 7.4.4 a และ g ) 
 
ยินดีด้วยครับ จนถึงขั้นตอนนี้ ยินดีด้วยเพราะ ท่านจะมีการกระทำที่สอดคล้องกับ 7.4.4 a, b, c, d, e, f, g ครบถ้วน
 

อีกตัวอย่างหนึ่ง

 

หากมีความเสี่ยง ต้องมีมาตรการควบคุม หากน้อยมากๆ ไม่มีอะไรก็จะกลายเป็น PRP หรือไม่ก็ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องควบคุม !

ขั้นตอนต่อไปมีมาตรการควบคุมเพื่อการขจัด หรือ ลดอันตราย สู่ระดับการยอมรับหรือไม่ (รวมขั้นตอนที่ลูกค้าด้วย)

ดูดีๆ :  ไม่รวมคำว่าป้องกันอันตรายในคำถามนี้  

หากไม่มีมาตรตการควบคุมอยู่ใน step งานนี้ ก็ต้องไปทำ
เอาไว้แยกว่ามาตรการควบคุมใดควรจัดการด้วย oPRP
เอาไว้แยกว่ามาตรการควบคุมใดควรจัดการด้วย oPRP

 

ไม่ว่าท่านใช้ วิธีใดในการประเมิน ( Assessment) ทั้ง    เลือก  +  คัดแยกประเภทมาตรการ ควบคุม ท่านต้องทำให้เป็น Logical Approached คือ ดูแล้วทะแม่ง ทะแม่ง ก็ปรับ ให้เป็นไปตามสิ่งที่คิดว่า สมเหตุ สมผล เพราะข้อกำหนดต้องการให้ ทำการ ประเมิน แบบ Make-Sense  ไม่ใ่ช่ non-sense  ดังนั้น ระเบียบการทำงานเรื่องนี้ ต้องกล่าวถึงการทบทวนขั้นสุดท้ายและเหตุผลในการปรับนั้นๆ 

ท่านใช้วิธีการใดในการประเมิน ไม่มีปัญหา เพียงแต่คุณต้องใช้มัน หากผลสุดท้ายดูทะแม่งๆ ก็ทำการปรับ (สิ) โดยเฉพาะผู้ชอบใช้ตัวเลข ตัวเลขอาจหรอกคุณได้ อย่าลืมทำกติกาว่าใครมีสิทธิปรับในขั้นสุดท้าย ในระบบ

บทความใกล้เคียง

Online

มี 60 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์