เมื่อพนักงานมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในการทำงาน หรือพนักงานใหม่ที่เข้ามาทำงาน โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อความสอดคล้องต่อผลิตภัณฑ์โดยตรง ซึ่งรวมไปถึงพนักงาน outsource ด้วย และพนักงานที่ทำงานมีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยตรงต้องเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
การฝึกอบรมแบบสอนงานโดยวัตถุประสงค์ของมาตรฐาน ISO/TS 16949 ต้องการให้พนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานให้ถูกต้อง มีคุณภาพ ตรงความต้องการลูกค้า ส่วนจะทำอย่างไรขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร
ส่วนใหญ่องค์กรขนาดเล็กมักจะมีคำถามว่าคนมีนิดเดียวจะทำอย่างไร งานเยอะจะตายจะให้ไปเสียเวลานั่งเรียนในห้องได้อย่างไร – สำหรับองค์กรขนาดเล็ก การสอนงานสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยให้หัวหน้างาน, หัวหน้าโปรเจ็คส์, หรือผู้จัดการ ที่มีความรู้ความมเข้าใจสอนงานให้พนักงาน ขณะทำงาน ซึ่งไม่เสียเวลาในการทำงาน อย่างไรก็ดี จะเลือกวิธีการอื่น ๆ เช่น “ Coaching”, “Training”, “Self learning”, “Assignment” ก็ได้ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของลักษณะงานที่สอน แต่สุดท้ายต้องมีการประเมินเพื่อให้มั่นใจว่าผลการสอนงานมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดด้วย ซึ่งสุดท้ายด้วยลักษณะขององค์กรที่มีคนน้อยจำเป็นต้องให้เกิด multi-skill เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถทดแทนกันได้
องค์กรขนาดใหญ่ – วิธีการสามารถกำหนดได้หลากหลาย ซึ่งเป็นความได้เปรียบที่มีทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก ซึ่งรูปแบบก็สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมด้านทรัพยากรและเวลาทั้ง “Coaching”, “Training”, “Self learning”, “Assignment” ฯลฯ
ไม่ว่าองค์กรขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ สำหรับ OJT ต้องทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ คือ พนักงานมีทักษะในการทำงาน (Competence) การประเมินที่มีประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน
บันทึกจำเป็นที่ต้องเก็บเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของแต่ละบุคคล โดยอาจจะทำเป็น matrix เพื่อให้ง่ายต่อเก็บข้อมูล ดังตัวอย่าง
“Personnel in any new or modified job affecting conformity to product requirements”
ไม่จำเป็นที่ทุกคนในองค์กรต้องเรียนรู้ทุกเรื่อง แต่เรื่องที่พนักงานคนนั้นต้องทำงานกับผลิตภัณฑ์นั้น โดยตรงต้องมีการทำ OJT เสมอ เช่น พนักงานฝ่ายผลิต, พนักงานตรวจสอบคุณภาพ ที่ต้องผลิตสินค้านั้น ๆ เป็นต้น ส่วนพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยตรง เช่น ฝ่ายบุคคล, ฝ่ายขาย ขอให้ทราบถึงผลิตภัณฑ์และตระหนักถึงความต้องการของลูกค้า (awareness)ก็เพียงพอ