หลักสูตร “8D Report and Why-Why Analysis Technique”

ท่านจะได้รับทราบว่าอะไรเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการนำเทคนิคการแก้ไขปัญหาโดยใช้ระบบของ Problem Solving Technique, 8D Report, Why-Why Analysis Technique, Cause and Effect Diagram and Pareto Diagram Technique. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและช่วยให้องค์กรเพิ่มขีดความสามรถในการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำได้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง 

อ่านเพิ่มเติม: หลักสูตร “8D Report and Why-Why Analysis Technique”

หลักสูตร “Product and Process Audit for Automotive Sector”

• เพื่อเป็นผู้ตรวจติดตามภายในที่มีความสามารถตามมาตรฐาน ISO/TS 16949

• เพื่อให้สามารถทำการตรวจประเมินระบบในรูปแบบ Product Audit / Process Audit ได้
• เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการนำข้อกำหนดมาประยุกต์ใช้ ในการจัดทำระบบการบริหารคุณภาพ

  ให้เกิดมีประสิทธิผลสอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/TS 16949

อ่านเพิ่มเติม: หลักสูตร “Product and Process Audit for Automotive Sector”

การอนุมัติชิ้นส่วนการผลิต PPAP

ท่านจะได้รับทราบว่าอะไรเป็นสิ่งที่จำ เป็นสำหรับการบรรลุข้อกำหนดของลูกค้า และในการเตรียมการเพื่อส่งอนุมัติชิ้นส่วนยานยนต์ ก่อนที่จะผลิตจริง ภายใต้กรอบ PPAP-AIAG Manual โดยเนื้อหายังครอบคลุมถึงการแนะนำขั้นตอนในการเตรียมเอกสาร และ/หรือ รายการตามที่ ลูกค้าของท่านต้องการเพื่อ Submission, ระดับของการ Submission รูปแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องหลังจากจบในแต่ละขั้นตอนของ PPAP หลักสูตรนี้ ท่านจะได้ทราบเครื่องมือที่สำคัญ การกระทำ "Part Submission Warrant (PSW)" ตามข้อกำหนดของ ISO/TS 16949 และขอ้กำหนด Daimler-Chrysler, Ford , General Motors และ อุตสาหกรรมยานยนต์ชั้นนำ

อ่านเพิ่มเติม: การอนุมัติชิ้นส่วนการผลิต PPAP

การวางแผนผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า APQP

เพื่อลดการตี ความสับสน และการตีความที่ผิดพลาด สำหรับข้อกำหนดที่ เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของ ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ ความเข้าใจในเรื่อง"การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าAdvance Product Quality Planing : APQP " และการเชื่อมโยงกับ ข้อกำหนดของ ISO/TS 16949:2009 นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง

อ่านเพิ่มเติม: การวางแผนผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า APQP

การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ FMEA 4th

กระบวนการ วิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการป้องกัน ปัญหาความล้มเหลวในส่วนของขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบควบคุม กระบวนการสำหรับผลิตภัณฑ์ เนื้อหาในหลักสูตรของ FMEA จะช่วยให้องค์กรมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญในการเตรียมการเพื่อวิเคราะห์ความ บกพร่องและผลกระทบอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบควบคุมกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งมอบชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ท่านจะได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือพื้นฐาน และ ข้อมูลต่างๆในการในการทำการวิเคราะห์ความบกพร่องและผลกระทบตามเจตนารมณ์ของ มาตรฐาน ISO/TS 16949

อ่านเพิ่มเติม: การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ FMEA 4th

การวิเคราะห์ระบบการวัด MSA 4th

ารวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA ; Measurement System Analysis) ถือได้ว่าเป็นเทคนิคที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มีการนำมาใช้เพื่อประกอบการจัดทำระบบคุณภาพในส่วนของ อุตสาหกรรมยานยนต์อย่างแพร่หลาย และซึ่งในช่วงที่ผ่านมาคู่มือ MSA ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดความเหมาะสมตามยุคสมัย และเพื่อให้เกิด ความสอดคล้อง กับการปฏิบัติงานจริงในยุคปัจจุบัน คู่มือ MSA ฉบับใหม่จึงได้มีปรับปรุง และนำมาประกาศใช้ จากเดิมซึ่งเป็น Version 3rd มาสู่ version 4th ซึ่งเนื้อหาภายในได้มีการนำ เสนอแนวคิดทางการ วิเคราะห์ระบบการตรวจวัด เพื่อให้องค์กรที่มีความสนใจได้สามารถนำแนวทางไป ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่าง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในการฝึกอบรมครั้งนี้ จะมุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้รับ ความรู้และทราบรายละเอียด ของการเปลี่ยนแปงที่เกิดขึ้น ในเนื้อหาของ MSA ฉบับใหม่อย่างครบถ้วนและสามารถ นำไปปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ที่ได้กำหนดไว้ในคู่มืออ้างอิง ดังกล่าวต่อไประบบการวัดปัจจุบันมี ความสำคัญต่อการยืนยัน ผลการตรวจสอบคุณภาพ ถึงแม้ว่าระบบการผลิต จะมีความถูกต้องแต่ถ้าระบบ การวัดมีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วก็ อาจส่งผลต่อการตัดสินใจ ที่คลาดเคลื่อนได้ ถ้าหากระบบการวัดขาดความถูกต้อง (Accuracy) และขาดความแม่นยำ (Precision) ในการใช้งาน ผลกระทบที่ตามมาอาจจะส่งผล ต่อการตัดสินใจด้านการวัด และวิเคราะห์ค่าของการตรวจสอบ ชิ้นงานที่ผลิตขึ้น มีความผิดพลาดที่ตามมา อันจะทำให้เกิดการขาดความ เชื่อมั่นจากทางลูกค้าได้ในระยะยาว ดังนั้นระบบการวัดจึงถือ เป็นระบบพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุม และนำไปสู่การปรับปรุงเพื่อ ลดค่าความผันแปรในระบบดังกล่าว ให้มีความสอดคล้องตามเกณฑ์ ที่ได้กำหนดไว้ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: การวิเคราะห์ระบบการวัด MSA 4th

การควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคด้านสถิติและการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการ ( เน้นฝึกปฏิบัติ)

การนำสถิติมาใช้ในการควบคุมกระบวนการในยุคปัจจุบัน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูง ก่อให้เกิดความบกพร่องในการผลิตต่ำสุด และสอดคล้องตามข้อกำหนดของลูกค้า แต่การที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้น บุคคลากรในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านคุณภาพควรมีความรู้ และความเข้าใจในขั้นตอนการใช้สถิติมาควบคุมกระบวนการและพิจารณวัดผลขีดความสามารถของกระบวนการ เพื่อการพิจารณาปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อ่านเพิ่มเติม: การควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคด้านสถิติและการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการ ( เน้นฝึกปฏิบัติ)

การตรวจติดตามภายในมาตรฐาน ISO/TS 16949

การที่จะ เพิ่มความสามารถ ในการแข่งขัน องค์กรจำเป็นต้องลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล องค์กรจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงทั้งองค์กรตนเอง และ ผู้ส่งมอบระบบการบริหาร จัดการคุณภาพ ISO/TS 16949:2009 มีประยุกต์ใช้การตรวจติดตามภายใน และการพัฒนา ผู้ส่งมอบในเชิงระบบการจัดการ หากทำได้ดี กิจกรรมทั้งสอง จะเป็นเครื่องมือที่มี ประโยชน์ในการสร้างความสามารถ ในการแข่งขันได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องมีทีมงานที่มี ความรู้ความสามารถ ของการเป็นผู้ตรวจ ประเมินภายใน และผู้ตรวจเพื่อการพัฒนา ผู้ส่งมอบ ผู้ตรวจต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างจริงจัง และถูกต้อง เพื่อให้มีความรู้, ความเข้าใจอย่างท่องแท้ ในเนื้อหาและวัตถุประสงค์ ของข้อกำหนดอย่างละเอียดและครบถ้วน, สามารถนำเอาข้อกำหนด และวิธีการที่ได้ศึกษามาแล้วนั้น ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ระบบงานให้เกิดมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

อ่านเพิ่มเติม: การตรวจติดตามภายในมาตรฐาน ISO/TS 16949

การตีความและการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/TS16949

ปัจจุบัน เกือบทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ได้พยายามและนำเอาระบบการ บริหารจัดการคุณภาพ ISO/TS 16949:2009 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร ซึ่งการจะนำระบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ ได้อย่างมีประสิทธิผลนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานในองค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรที่จะด้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างท่องแท้ในเนื้อหา ของข้อกำหนดอย่างละเอียดครบถ้วนและสามารถนำเอาข้อกำหนดที่ได้ศึกษามาแล้ว นั้นกลับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบงานให้เกิดมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องตามความต้องการที่มาตรฐานระบุเอาไว้

อ่านเพิ่มเติม: การตีความและการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/TS16949

Login