Login Form

การเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน OHSAS18001 4.4.7

 

การระบุชี้บ่งสถานการณ์ที่อาจเกิดเหตุฉุกเฉินได้        

 

การระบุชี้บ่ง สถานการณ์ที่อาจเกิดเหตุฉุกเฉินจะเป็นเรื่องต่อเนื่องกับ การระบุและประเมินความเสี่ยงตามข้อกำหนด 4.3.1

อะไรที่มีการระบุอันตรายได้รับการประเมินว่ามีความรุนแรงสูง และ/หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการล้มเหลวของระบบควบคุม ให้นำสิ่งนั้นมาจัดทำแผนรับเหตุฉุกเฉิน

 

สิ่งแรกที่ข้อกำหนดข้อนี้ต้องการคือการระบุอุบัติการณ์ อุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายใต้สภาวะการปฏิบัติงานตามปกติ และในระหว่างเหตุการณ์เช่นการเริ่มเดินเครื่องจักร การหยุดเครื่องจักร เหตุการณ์อื่นๆที่ไม่เป็นไปตามการปฏิบัติงานตามปกติ และเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์กร

 

มีแนวทางหลากหลายที่สามารถนำมาใช้ระบุเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ดังตัวอย่างเช่น

  • ทบทวนอุบัติการณ์ที่บันทึกในไว้ 5 ปีที่ผ่านมา
  • ตรวจสอบสถิติประเภทอุบัติการณ์และเหตุฉุกเฉินที่เคยเกิดขึ้นรวมทั้งพื้นที่  เวลาที่เกิด กะ(shifts)  สภาพการปฏิบัติการ สภาพอากาศและปัจจัยสำคัญอื่นๆ  (รวมทั้งที่เคยเกิดในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน)
  • ทบทวนประเด็นปัญหาอาชีวะอนามัยและความปลอดภัยที่อาจเกิดเป็นเหตุฉุกเฉินได้ภายใต้สภาพการปฏิบัติงานที่ผิดปกติ
  • ระดมความคิดจากกลุ่มบุคคลที่ทำงานในพื้นที่ต่างๆถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินและอุบัติการณ์ที่เป็นไปได้
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการเฉพาะ ที่กำหนดให้องค์กรต้องจัดทำแผนฉุกเฉินและซักซ้อม

 

OHSAS 18001:2007

องค์กรต้องจัดทำ นำไปใช้ และคงไว้ซึ่ง ขั้นตอนปฏิบัติ

a) เพื่อชี้บ่งภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้

b) เพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น

 

 

ขั้นตอนปฏิบัติในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น

 

ก่อนที่จะเริ่มวางแผนรับเหตุฉุกเฉิน ผู้วางแผนจะต้องทราบถึงชนิดของเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นภายในสถานประกอบการณ์และรวมถึงบริเวณทีมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้มากทีสุดเสียก่อน

พื้นที่ที่อาจเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ดังกล่าว ต้องได้รับการกำหนดผังแผนที่ไว้ให้ชัดเจนและ   จัดอุปกรณ์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินไว้ใกล้ๆ พื้นที่ใกล้เคียงที่อาจเสียหายได้จากเหตุการณ์ฉุกเฉินในโรงงานควรระบุและทำเครื่องหมายไว้บนแผนที่ สำหรับการแจ้งให้ทราบอย่างรวดเร็วหรือกระทำการใดๆถ้าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ควรมีการระบุทิศทางของลมไว้บนแผนที่เพื่อกำหนดพื้นที่ใต้ลมที่เป็นไปได้มากที่สุด

 การจัดการกับเหตุฉุกเฉินต้องเป็นอย่างไร

ระบบการจัดการกับเหตุฉุกเฉินนี้ควรได้รับการระบุและจัดการกับ เหตุฉุกเฉินที่มาจากคนและเหตุภัยธรรมชาติ องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการเหตุฉุกเฉินจะมี 4 ประเด็นได้แก่ 

1. การป้องกัน (Prevention)   2. การเตรียมการ (Preparedness) 3. การตอบสนอง/ตอบโต้  (Response) 4 ฟื้นฟูเยียวยา (Recovery) 

 

เหตุฉุกเฉิน

ระบบ / สถานที่

สาเหตุที่นำสู่เหตุฉุกเฉิน

วิธีทำงานเพื่อความปลอดภัย

ก๊าซระเบิด

ถังเก็บก๊าซ

ลิ้นนิรภัยอยู่ผิดที่

ถังเก็บถูกกัดกร่อน

ความดันในถังสูงมากไป

ตรวจสอบลิ้นนิรภัย

ป้องกันถังเก็บถูกกัดกร่อน

ตรวจวัดอุณหภูมิและความดัน

ตรวจสอบลิ้นนิรภัย

 

 ในส่วนการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน และ การฟื้นฟูเยียวยา ไม่มีใครคาดให้เกิดและเกิดจริงไม่บ่อย (หวังว่าไม่บ่อย !) เมื่อเกิดไม่บ่อย ท่านจะคาดการณ์สถานการณ์และควบคุมผลกระทบได้ลำบาก  ท่านจึงต้องเน้นที่การป้องกัน และ เตรียมการ  ไม่ใช่การรั้งรอเพื่อตอบสนองต่อการเกิดเหตุจริง !! และเป็นสิ่งสุดท้ายที่คาดหวังว่าจะมีมการนำไปปฏิบิติ

 การเข้มงวดกับ “การป้องกัน”และ”การเตรียมการ” เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นสิ่งที่เราตระเตรียมจัดการเตรียมพร้อมได้ล่วงหน้า  เหตุฉุกเฉินมักเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง หรือเกิดขึ้นไม่ตรงกับที่คาดการณ์อยู่เสมอ การตอบโต้เป็นสิ่งที่ไม่มีความไม่แน่นอนสูง

“การป้องกัน”และ”การเตรียมการ”  เพื่อไม่ให้เหตุฉุกเฉินจริงเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ  เช่น ต้อง ”ป้องกันการเกิดไฟไหม้” มากกว่า ”อพยพหนีไฟ หรือดับไฟ”  ต้องป้องกันไม่ให้”เกิดสารเคมีหกล้น” มากกว่า “ตอบสนองต่อการเกิดสารเคมีหกล้น”

ไม่ว่าอย่างทั้ง 4 ส่วนนี้ ต้องได้รับการพิจารณา และอยู่ในระบบการจัดการกับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิด 

ระยะก่อนเกิดเหตุ  ป้องกันและเตรียมการ

การเตรียมระบบความปลอดภัยของอาคารและการทำงาน

การจัดเตรียมระบบความปลอดภัยในอาคารสถานที่

  1. การจัดเตรียมอาคารสถานที่ 
  • การเลือกตำแหน่งที่ตั้ง ต้องห่างจากชุมชน ส่วนอันตรายต้องมีป้องกันจากการแผ่รังสีความร้อน ลูกไฟของสารเคมีที่ระเบิด จุดพื้นที่ระเบิดควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ทางเข้าสะดวก ระยะห่างระหว่างอาคารป้องกันการล้มทับ
  • การออกแบบอาคาร ง่ายต่อการอพยพ มีหลายชั้นหรือชั้นเดียว อาคารหน่วยผลิตที่มีสารไวไฟออกจากอาคารอื่นๆ กำแฟงกันไฟ การป้องกันควันไฟ แสงสว่างในทางหนีไฟ  
  • การเลือกอุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ป้องกันการระเบิดลุกไหม้ การป้องกันการลัดวงจร
  • วัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในอาคาร การวาบไฟ การจุดติดไฟ การลามไฟ การให้ควัน การปราศจากก๊าซพิษ
  1. การติดตั้งสัญญาณแจ้งเหตุอันตราย  ตามกฎหมายและตามความจำเป็น ซึ่งรวมถึงระบบสัญญาณแจ้งเหตุและสัญญาณประกาศภาวะฉุกเฉิน
  2. การจัดเตรียมอุปกรณ์รับเหตุฉุกเฉิน เช่น
    1. อุปกรณ์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ( อุปกรณ์ดับเพลิง รถดับเพลิง ผ้าห่มดับเพลิง ถังเก็บน้ำ แหล่งน้ำ การวางท่อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าอิสระซึ่งสำรองกรณีไฟฟ้าดับ หัวจ่ายดับเพลิง สายดับเพลิง ข้อต่อ หัวสูบ ระบบท่อยืนและท่อดันน้ำ)
    2. อุปกรณ์ช่วยชีวิต หน้ากากหายใจ ชุดปฐมพยาบาล ตู้ยา เครื่องช่วยหายใจ แผ่นกระดานเคลื่อนย้ายผุ้ป่วย อุปกรณ์หรับสารพิษ (อ่างล้ามมือ ฝักบัวฉุกเฉิน )
  3. การจัดเก็บสารอันตราย สารที่ระเบิด  การจัดเก็บตามชนิดและปริมาณที่กำหนด การติดป้ายเตือน การควบคุมการเข้าถึง

 

การจัดเตรียมมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน

ประกอบด้วย

1  มาตรฐานมาตรการในการทำงาน มีไว้เพื่อลดการเกิดความผิดพลาดจากคน และ

2. ระบบรักษาความปลอดภัยที่ต้องมี  พื้นที่อันตราย พื้นที่หวงห้าม (พื้นที่อันตราย เช่น พื้นที่มีก๊าซไวไฟ ก๊าซพิษ  , พื้นที่หวงห้ามเพื้อป้องกันการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ที่เข้าไปในบริเวณนั้นเช่น คลังเก็บผลิตภัณฑ์ บริเวณเก็บสารเคมี แนวท่อลำเลียง บริเวณกระแสไฟฟ้าแรงสูง )

 

การจัดเตรียมศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน

มาตรฐานศุนย์ควบคุมเหตุนี้ จะมากน้อยที่ต้องเตรียมก็แล้วแต่เหตุที่อาจเกิด เช่นหากองค์กรท่านไม่มีสารเคมี สารระเบิดได้ ก็ไม่ต้องกังวลหรือต้องตระเตรียมใด

 

ที่ตั้งศูนย์นี้ ต้องสามารถ อยู่ห่างจาก เชื้อเพลิง หรือสารที่ระเบิด  ต้องสามารถสกัดกั้น ลุกลาม มาที่ศุนย์นี้ได้

สถานที่นี้จะใช้เป็นศุนย์กลางในการสั่งการ ซึ่ง สถานที่ตั้งอาจเป็น สำนักงาน ป้อมยาม ห้องใต้ดิน ต้อง เข้าออกง่าย มีความเสี่ยงน้อยสุดในการล้มเหลวหรือกระทบต่ออุบัติภัย

สถานที่ควรเป็นจุดที่เห็นเหตุการณ์มากสุด  หากเหตุฉุกเฉินคือกาซพิษ ให้มีสองแห่งตามทิศทางลม

เนื้อที่ ต้องกว้างขวางพอ ห้องมีทนไฟ  ทนทานต่อความร้อน หรือ แรงระเบิดได้ หรือมีระบบควบคุมอากาศในกรณีเกิดสารพิษ

ต้องมีพื้นที่พอในการใช้เป็นส่วนบริเวณสื่อสาร สั่งการ สนับสนุน

ขนาดห้องต้องใหญ่พอ  อาจต้องมี ห้องอาหาร ห้องนอน ห้องน้ำ ตู้ยา อุปกรณ์ 

ข้อมูลในห้อง ที่ต้องมีพร้อมเช่น แผนผังบังคับบัญชา รายชื่อ หน่วยงานและติดต่อ

แผนผังสถานประกอบการ ที่เก็บอุปกรณ์ปลอดภัย ที่ตั้ง สารเคมี สารไวไฟ

แผนผังชุมชน หน่วยงาน โทรศัพท์

มี วิทยุติดต่อสื่อสาร มี ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน  แผงควบคุมต่างๆ ตามความจำเป็น

การจัดองค์กรรับเหตุฉุกเฉิน

ต้องมีการกำหนดคน กำหนดหน้าที่ บทบาทเตรียมพร้อม เพื่อลดการสับสนในการสั่งงาน เช่น ผู้บัญชาการเหตุฉุกเฉิน ผู้ควบคุมเหตู ผู้ประสาน ผู้อำนวยการเหตู หัวหน้าฝายวิศวกรรม หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัย หัวหน้ารักษาความปลอดภัย หัวหน้างานต่างๆ ในช่วงเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย

 

Online

มี 6 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์