Login Form

การเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน OHSAS18001 4.4.7

 แผนฉุกเฉินต้องมีลักษณะอย่างไร

ข้อกำหนด OHSAS18001 กำหนดหัวข้อ 4.4.7  ว่า “การเตรียมพร้อม และ กู้ภัยภาวะฉุกเฉิน( Emergency preparedness and response)  ดังนั้นสำหรับข้อกำหนดข้อนี้จะมีสองเรื่องคือ “การเตรียมพร้อม” และ “การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน”

การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินเป็นแนวทางในการลดความรุนแรงและความเสียหายของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น  ด้วยเหตุผลนี้รายละเอียดในแผนงานจัดการต่อภาวะฉุกเฉินนี้ ต้องกำหนดมาตรฐาน วิธีการ/ขั้นตอน ที่ละเอียดเพียงพอต่อการทำให้ความรุนแรงและความเสียหายของอุบัติเหตุนั้นลดลง!

 

 

อะไรคือวัตถุประสงค์ในการเตรียมแผนฉุกเฉิน

  • เพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ และจำกัดความเสียหายที่จะเกิดต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมให้เกิดน้อยที่สุด
  • ช่วยผู้ที่ตกอยู่ในอันตราย รักษาชีวิตผู้ปฏิบัติตามแผน และผู้ที่บาดเจ็บจากเหตุฉุกเฉิน
  • เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทุกระดับในองค์กรอย่างเหมาะสม โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนวทางการประสานความร่วมมือ
  • เพื่อเตรียมความพร้อมตอบโต้สำหรับภาวะฉุกเฉิน
  • เพื่อให้ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเองโดยการฝึกซ้อมการปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินและทำให้เกิดความคุ้นเคย
  • เพื่อให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกในการช่วยเหลือและกู้ภัย

 

จากวัตถุประสงค์ที่กล่าวนี้  ทำให้ควรมีการจัดทำและฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน  รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ รวมทั้งเครื่องมือสำหรับการปฐมพยาบาลที่ใช้ในแผนฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ 

สำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นองค์กรที่อาจก่ออุบัติภัยร้ายแรงหรือเป็นองค์กรที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายระดับร้ายแรง ในแผนฉุกเฉินควรเน้นให้มีการประสานงานระหว่างองค์กรกับหน่วยงานของรัฐ  รวมถึงแผนเตรียมการรับเหตุวินาศกรรม แผนเตรียมการสำหรับภัยธรรมชาติและแผนเตรียมการสำหรับควบคุมฝูงชนด้วย !

 

 

ระดับของเหตุการณ์ฉุกเฉิน

           

 

เพราะมักเกินกำลังความสามารถของพนักงานคนใดคนหนึ่ง แผนฉุกเฉินเลยเน้นที่จะรวบรวมสัพพะกำลัง ประสานงาน ติดต่อกันอย่างไร ในภาวะตื่นเต้นตกใจ ยาม ฉุกละหุก

แผนแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินของหลายๆองค์กรกำหนดเป็น 3 ระดับ สำหรับจัดการกับเหตุการณ์ที่มีขนาดและขอบเขตต่างๆกัน

  1. สามารถจัดการได้โดยบุคคลในแผนกนั้นๆเอง  (หากเป็นความรุนแรงระดับนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรสามารถจัดการได้เอง ระเบียบปฏิบัติ เกณฑ์วิธีการ เทคนิค ในการจัดการกับเหตุฉุกเฉินแต่ละกรณีให้มีการกำหนดเป็นการเฉพาะ เพื่อใช้ในการอบรม เตรียมการ และจัดการกับงานนั้นๆได้เลยขั้นต้น  ไม่ต้องรั้งรอให้หัวหน้างานผู้จัดการมาสั่ง ซึ่งอาจทำให้เหตุการณ์บานปลายหรือเสียหายมาก)
  2. ต้องการความช่วยเหลือจากทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินในโรงงานและอาจต้องการอพยพคนออกจากโรงงาน
  3. ต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกอย่างเต็มที่ อาจต้องอพยพคนในพื้นที่ใกล้เคียงหรือทำการป้องกันอันตราย

** ไม่ใช่ทุกองค์กร/ทุกกรณี ต้องมี 3 ระดับนะครับ เช่น หากท่านมีสารเคมีที่ใช้น้อยนิด ก็ไม่เห็นต้องไปขอความช่วยเหลือจากใคร หากไม่ต้องขอจากใคร ก็มีฉุกเฉินแบบเล็กๆ กล่าวคือก็ทำให้มี ขั้นตอนการจัดการกับสารเคมีรั่วไหล ตามปกติที่ท่านมีครับผม

การจัดทำแผนกู้ภัยฉุกเฉินและการนำไปปฏิบัติ

แผนกู้ภัยฉุกเฉิน( Emergency response) ควรมุ่งเน้นว่าองค์กรต้องทำอะไรบ้าง ต้องตระเตรียมอะไรบ้าง ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ในการป้องกันการเกิดการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย และลดผลกระทบต่อผู้ซึ่งประสบเหตุฉุกเฉินนั้น 

ขั้นตอนสำหรับการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินควรได้รับการจัดทำและพิจารณาถึงข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ขั้นตอนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ต้องกระชับและชัดเจนเพื่อใช้ในสถานการณ์ที่ฉุกเฉินได้ และต้องพร้อมเรียกหายามเกิดเหตุ  หากมีการเก็บเอกสารนี้ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อีเลขโทรนิคใดๆที่อาจเรียกใช้ไม่ได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ  ต้องมีเอกสารชุดสำรองที่พร้อมให้หยิบใช้ในจุดปฏิบัติงาน

การวางแผนรับเหตุฉุกเฉินคือ การเตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ทันทีทันใดไว้ล่วงหน้า โดยอาศัยความร่วมมือจากสถานประกอบการใกล้เคียงและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำแผน ต้องพิจารณาถึงการมีอยู่

  • ลักษณะและพื้นที่ของสถานประกอบการ
  • พื้นที่เสี่ยงภัย เช่น อาคารเก็บวัตถุไวไฟ เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์
  • บริเวณโดยรอบ เส้นทางจราจร
  • จำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในแต่ช่วงเวลา
  • ความรู้พื้นฐานด้านการระงับเหตุฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
  • ระบบดับเพลิง เครื่องมือ และ อุปกรณ์ฉุกเฉิน หน้ากาก เครื่องช่วยหายใจ ชุดปอ้งกันอันตรายจากสารเคมี ชุดผจญเพลิง
  • ตำแหน่งห้องสำคัญ ห้องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ห้องควบคุมไฟฟ้าหลัก ห้องเก็บเอกสารสำคัญ
  • ระบบติดต่อสื่อสารในภาวะปกติและฉุกเฉิน
  • ทางออกฉุกเฉิน บันไดหนีไฟ
  • การทำงานของสัญญาณแจ้งเหตุ ระบบตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซ ระบบดับเพลิง ระบบสนับสนุนอื่นๆ
  • จุดที่ตั้งอำนวยการชั่วคราว พื้นที่สำรอง แหล่งน้ำสำรอง
  • etc

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือภัยธรรมชาติร้ายแรงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ หรือหน่วยบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่นั้น ๆ มีไม่เพียงพอ หรือเอาไม่อยู่ ก็มักมีการขอความช่วยเหลือทั้งด้านกำลังบุคลากร และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ จากพื้นที่ใกล้เคียงที่เป็นพันธมิตรกันมาช่วยการบรรเทาทุกข์ในสถานการณ์เฉพาะหน้าไปก่อน ซึ่งหลักการนี้สามารถใช้ได้ทั้งการรับมือกับภัยพิบัติใหญ่ ๆ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับประเทศ และในระดับนานาชาติซึ่งมีแนวโน้มเกิดมาก และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

หากองค์กรเลือกใช้องค์กรภายนอกในการกู้ภัยฉุกเฉิน เช่นการจัดการสารเคมีอันตราย หรือ ห้องปฏิบัติการภายนอก สัญญาจ้างต้องจัดให้มีไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่จำนวนพนักงานมีจำกัด หรือ มีข้อจำกัดด้านทักษะความสามารถ อุปกรณ์การกู้ภ้ย

ขั้นตอนการรับมือกับเหตุฉุกเฉิน  ควรมีการกำหนดบทบาท อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้ที่มีหน้าที่ตอบสนองฉุกเฉินโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้ตอบสนองในทันที   พนักงานเหล่านี้ควรมีส่วนร่วมในการจัดทำขั้นตอนแผนฉุกเฉิน (s) เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับรู้ประเภทและขอบเขตของเหตุฉุกเฉินที่คาดหวังให้เขาจัดการ  เช่นเดียวกับการเตรียมการประสานงานต่างๆที่จำเป็น

พนักงานกลุ่มนี้ควรมีข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้สามารถอำนวยการกิจกรรมการตอบสนองกู้ภัยได้

 

Online

มี 13 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์