Login Form

การเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน OHSAS18001 4.4.7

ดาวน์โหลดบทความต้นฉบับ Pdf

(4.4.7 การเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน)

 อะไรคือเหตุฉุกเฉิน (Emergency)

 ฉุก เฉินคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยไม่ได้มีการคาดคิดมาล่วงหน้า โดยเหตุฉุกเฉิน ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าอุบัติภัยต่างๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใด  บางครั้งอุบัติภัยหนึ่งๆ ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงโดยที่ไม่มีการแจ้ง เตือนล่วงหน้าใดๆ หรือมีสิ่งบ่งชี้ล่วงหน้าให้ทราบเพียงเล็กน้อย คำว่าฉุกเฉินมีความคล้ายกับคำว่า ฉุกละหุก (หมายความตาม พจนานุกรม : สับสนวุ่นวายเพราะมีเรื่องเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนโดยไม่คาดฝัน)   คำว่า ฉุกเฉิน ( emergency ) ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึง [ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน]

เหตูฉุกเฉิน/ภาวะ ฉุกเฉิน คือ เหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ทันทีทันใด ทำให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภาย นอกสถานประกอบการ

คำว่าฉุกเฉินจึงหมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องเร่งด่วน (รวมทั้งอาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด หรือ รวมทั้งสภาวะเหตุหรือไม่ก็ได้) ซึ่งมักต้องการการลัดตัดขั้นตอนสายงานบังคับบัญชา ระบบการทำงาน หรือระบบการปฏิบัติการที่เป็นปกติประจำวัน  (เราจะไม่ใช้ระบบปกติไปจัดการกับสิ่งผิดปกติ) เพื่อจัดการกับภัยพิบัตินี้อย่างรวดเร็วและฉับพลัน จะมารอผ่านการอนุมัติตามสายงานไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมักต้องมีสาย งานบังคับบัญชาพิเศษเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้น และต้องมีกรอบแนวทางวิธีการจัดการกับสิ่งนั้นไว้ในยามเกิดเหตุไว้

4.4.7 การเตรียมพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน


องค์กรต้องจัดทำ นำไปใช้ และคงไว้ซึ่ง ขั้นตอนปฏิบัติ :

a) เพื่อชี้บ่งภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้

b) เพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น

  

องค์กรต้องตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และ ป้องกันหรือบรรเทาผลเสียหายด้านOH&Sที่จะเกิดขึ้นตามมา.

ในการวางแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน องค์กรต้องพิจารณาถึงความจำเป็นกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง, เช่น ด้านความช่วยเหลือฉุกเฉิน และชุมชนอาศัยโดยรอบ.

องค์กรต้องทดสอบขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับตอบโต้ภาวะฉุกเฉินตามช่วงเวลาที่กำหนด, เท่าที่ประยุกต์ได้,ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมตามความเหมาะสม.

องค์กรต้องทบทวนและ, หากจำเป็น,ปรับปรุงขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินตามช่วงเวลาที่กำหนด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการทดสอบ และหลังการเกิดภาวะฉุกเฉิน (ดู 4.5.3).                   

 4.4.7 Emergency preparedness and response
The organization shall establish, implement and maintain a procedure(s):

a) to identify the potential for emergency situations;

b) to respond to such emergency situations.

The organization shall respond to actual emergency situations and prevent or mitigate associated adverse OH&S consequences.

In planning its emergency response the organization shall take account of the needs of relevant interested parties, e.g. emergency services and neighbours.

The organization shall also periodically test its procedure(s) to respond to emergency situations, where practicable, involving relevant interested parties as appropriate.

The organization shall periodically review and, where necessary, revise its emergency preparedness and response procedure(s), in particular, after periodical testing and after the occurrence of emergency situations (see 4.5.3).

 หากเราสามารถรู้ล่วงหน้าได้หรือคาดการณ์ได้ หรือสิ่งนั้นหากเกิดขึ้น จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการผลิตหรือไม่ก่อให้เกิดความปลอดภัยพนักงานที่มิอาจควบคุมได้ ก็ไม่ต้องถือเป็นเหตุฉุกเฉินที่ต้องมีแผนรองรับ

 

ทำไมต้องมีแผน

แผน (plan) คือ การกำหนดวิธีการในการปฏิบัติงานในอนาคต เพื่อให้งานสำเร็จเสร็จสิ้นตามเป้าหมาย โดยหลักๆจะมีการกำหนดว่า จำทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร ทำอย่างไร และใครเป็นคนทำ

 

แผน คือสิ่งคิดว่า”ตัองทำ”ไว้ล่วงหน้า ให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องกระทำระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน การจัดการในเรื่องแผนฉุกเฉินที่ดีจะช่วยให้ลดการบาดเจ็บ หรือลดความรุนแรง และการเสียหายได้ ในทางกลับกันหากแผนไม่ได้รับการจัดการไว้เป็นอย่างดี อาจจะทำให้เกิดการสับสนวุ่นวายระหว่างตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วย ล้มตาย เสียหาย โดยไม่จำเป็นได้

 

OHSAS 18001:2007

องค์กรต้องจัดทำ นำไปใช้ และคงไว้ซึ่ง ขั้นตอนปฏิบัติ :

a) เพื่อชี้บ่งภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้

b) เพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น

 

 

 

Online

มี 98 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์