ISO22301 | ระดับและมาตรฐานการวางแผนการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
- รายละเอียด
-
ฮิต: 3977
ระดับและมาตรฐานการวางแผนการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Management Planning Levels and Standards)
1. ระดับของสถานการณ์ฉุกเฉินและขั้นตอนการแจ้งเตือน (Levels of Emergencies and Notification Procedures)
องค์กรควรจะรับเอาหรือกำหนดระดับความพร้อมในการรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน แผนกการจัดการอาคารและสิ่งปลูกสร้างก็ควรทำเช่นเดียวกัน ข้อมูลด้านล่างนี้จะอธิบายระดับความพร้อมในแต่ละระดับพร้อมด้วยตัวอย่าง ในกรณีที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นหลังจากช่วงเวลาทำงานปกติ แผนกรักษาความปลอดภัยควรเริ่มต้นขั้นตอนการแจ้งเตือน
- A. ระดับความพร้อมระดับที่ 1 (Readiness level I) เหตุการณ์เพียงเล็กน้อย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปกติในทุกๆวัน ซึ่งแผนกการจัดการอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมีประสบการณ์อยู่แล้ว มีความต้องการในการมีส่วนร่วมในจัดการอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามปกติ ไม่ต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชน ตัวอย่างเช่น ขาดไอน้ำสำหรับน้ำร้อน (loss steam for hot water) หรือบุคลากรมีอาการบาดเจ็บ
- B. ระดับความพร้อมระดับที่ 2 (Readiness level II) เหตุการณ์ระดับปานกลาง นี่คือเหตุการณ์ที่กำลังพัฒนาและมีความน่าจะเป็นที่จะขยายใหญ่ขึ้น การรับมือการจัดการอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างจะเป็นไปตามกำหนดการทำงานแบบปกติ สถานีตำรวจและดับเพลิงประจำท้องที่สามารถเข้ามีส่วนร่วม มีความเป็นไปได้ที่ชุมชนจะเข้ามาเกี่ยวข้องและเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน การแจ้งเตือนไปยังพนักงานที่ได้รับการกำหนดหน้าที่ในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างเหมาะสม มีการพิจารณาให้เปิดศูนย์ควบคุมการดำเนินการ (COC) ยกตัวอย่างเช่น การรั่วไหลของสารอันตรายอย่างมีนัยสำคัญ หรือ การมาถึงของพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรง เช่น พายุเฮอร์ริเคนหรือทอร์นาโด
- C. ระดับความพร้อมระดับที่ 3 (Readiness level III) เหตุการณ์ขนาดใหญ่ ปัญหาภัยคุกคามนี้มีผลกระทบต่อองค์กร และทำให้ต้องประเมินความเสียหาย ได้รับความสนใจจากชุมชนและสื่อมวลชนอย่างแน่นอน ผู้ควบคุมดูแลอาคารและสิ่งปลูกสร้างจะได้รับการแจ้งเตือน แจ้งไปยังพนักงาน (Call-in of personnel commences) ศูนย์ควบคุมการดำเนินการ (COC) ถูกเปิด ตัวอย่างเช่น อัคคีภัยขนาดใหญ่ การบาดเจ็บที่ร้ายแรงหรือเสียชีวิต หรือ พายุหิมะขนาดใหญ่
- D. ระดับความพร้อมระดับที่ 4 (Readiness level IV) สถานการณ์ฉุกเฉินอันเป็นบริเวณกว้าง นี่คือระดับความพร้อมที่ร้ายแรงที่สุด บุคลากรสำคัญด้านการจัดการอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจะได้รับการแจ้งเตือน และพนักงานทั้งหมดจะได้รับติดต่อ (call-in) ศูนย์ควบคุมการดำเนินการ (COC) จะถูกเปิด ทีมประเมินความเสียหาย (Damage Assessment Team) จะถูกส่งออกไปทำงาน ตัวอย่างเช่น พายุร้ายแรงที่ทำให้เกิดความเสียหาย การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และการอพยพครั้งใหญ่จะได้รับการพิจารณา
2. การอพยพและการหลบภัย (Evacuation and Sheltering-In)
ในสถานการณ์ที่อาจจะต้องย้ายสถานที่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ตำรวจและดับเพลิงในพื้นที่ พวกเขาจะประเมินระดับความรุนแรงของสถานการณ์ ในการตัดสินใจของเจ้าหน้านี้อาจจะมีคำแนะนำให้อพยพจากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง การอพยพจะกล่าวถึง (address) วิธีการและเวลาที่การย้ายสถานที่ การอพยพ หรือ การหลบภัยของบุคลากรควรจะเกิดขึ้น และกำหนดหน้าที่ของการช่วยเหลือของการจัดการอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง อัคคีภัย, สารเคมีอันตรายรั่วไหล, การหยุดชะงักของสาธารณูปโภค, การขู่วางระเบิด หรือ สถานการณ์ที่ไม่คาดคิดอื่นๆอาจจะเป็นเหตุผลให้ต้องย้ายสถานที่