ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่
เจตนารมณ์
ข้อกำหนดนี้ต้องการความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่นจากใครบางคนสำหรับระบบการบริหารสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นจึงต้องเข้าใจความหมายของคำว่าผู้นำง่ายๆ ว่าผู้นำย่อมไม่ใช่ผู้ตาม
ผู้นำย่อมไม่ใช่ผู้ตาม ผู้นำมีหน้าที่ ชี้นํา ชักนํา ผลักดัน สร้างแรงบันดาลใจ ทำการกระตุ้น ให้แรงจูงใจ ในเรื่องของระบบ EMS |
ฝ่ายบริหารสูงสุดจะเป็นผู้กำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์และค่านิยมขององค์กร โดยทำการพิจารณาบริบท ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจขององค์กร ที่ซึ่งสะท้อนอยู่ในแผนเชิงกลยุทธ์ คำมั่นสัญญา ภาระความรับผิดชอบ
ความเป็นผู้นำของฝ่ายบริหารสูงสุด เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการดำเนินระบบบริหารสิ่งแวดล้อมให้ประสบความสำเร็จสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจ ดังนั้น ฝ่ายบริหารสูงสุดจึงควรรับภาระความรับผิดชอบเพื่อประสิทธิผลของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมขององค์กรและทำให้มั่นใจว่าจะบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้
คำมั่นสัญญาของฝ่ายบริหารสูงสุดจะหมายถึงการมอบทรัพยากรทางกายภาพและทางการเงินรวมถึงทิศทางโดยมีส่วนร่วมเชิงรุกที่ส่งเสริมระบบบริหารสิ่งแวดล้อมและสื่อสารความสำคัญของการบริหารสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผล
คำมั่นสัญญาของฝ่ายบริหารสูงสุด ควรทำให้มั่นใจว่าระบบบริหารสิ่งแวดล้อม:
— มิได้มีการจัดการโดยลำพังหรือแยกจากกลยุทธ์แกนหลักทางธุรกิจ
— มีการพิจารณาเมื่อทำการตัดสินใจด้านธุรกิจเชิงกลยุทธ์
— เป็นแนวร่วมกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
— ได้ประโยชน์จากระดับทรัพยากรที่เหมาะสม (ดูที่ข้อ 7.1) ซึ่งได้รับในลักษณะที่ทันเวลาและมีประสิทธิผล
— มอบมูลค่าที่แท้จริงให้กับองค์กร
— ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยังคงประสบความสำเร็จในระยะยาว
นโยบายสิ่งแวดล้อมและวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมควรมีการตั้งเป้าหมายให้บรรจบกับองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมของแผนกลยุทธ์ขององค์กรและก่อรากฐานของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
ฝ่ายบริหารสูงสุดควรเป็นผู้ตระหนักดีถึงถึงมูลค่าที่สำคัญกว่าโดยพิจารณาประสิทธิผล ประสิทธิภาพการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการจากการประเมินวัฎจักรผลิตภัณฑ์เมื่อมีการวางแผนและทบทวนกลยุทธ์ขององค์กร ตัวอย่างเช่น โอกาสเพื่อการปรับปรุงการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของอาคารหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีการพิจารณาเกณฑ์สิ่งแวดล้อมในขั้นตอนการออกแบบมากกว่ารั้งรอไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้างหรือผลิต
ในทางกลับกัน ฝ่ายบริหารสูงสุดควรส่งเสริมบุคคลอื่น ๆ ในองค์กรที่มีบทบาทบริหารที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ความเป็นผู้นำกับพื้นที่รับผิดชอบของตนเองที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารสิ่งแวดล้อมโดยสามารถทำให้คุณค่าความเป็นผู้นำและคำมั่นสัญญาของฝ่ายบริหารสูงสุดสามารถกระจายลงสู่องค์กร ทั้งนี้ ด้วยการแสดงความเป็นผู้นำและคำมั่นสัญญา ฝ่ายบริหารสูงสุดสามารถเป็นผู้นำและส่งเสริมพนักงานขององค์กรและบุคลากรอื่น ๆ ที่ทำงานภายใต้การควบคุมขององค์กรเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ในระบบบริหารสิ่งแวดล้อมขององค์กร
องค์กรที่มีภาพที่ดีในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและสามารถทำการบ่งชี้โอกาสสำหรับการปรับปรุงก็ต่อเมื่อฝ่ายบริหารสูงสุดได้สร้างวัฒนธรรมที่กระตุ้นบุคลากรทุกระดับชั้น ให้เข้าร่วมในระบบบริหารสิ่งแวดล้อมอย่างแข็งขัน
ความเป็นผู้นำและคำมั่นสัญญาของฝ่ายบริหารสูงสุดเป็นสิ่งจำเป็นต่อการบูรณาการของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมเข้าสู่กระบวนการทางธุรกิจ โดยขึ้นอยู่กับองค์กรในการตัดสินระดับรายละเอียดและบริบทที่จะบูรณาการข้อกำหนดของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมเข้าสู่หน้าที่ทางธุรกิจที่หลากหลาย การบูรณาการเป็นกระบวนการต่อเนื่องและสามารถเพิ่มประโยชน์ตามสภาวะที่สอดคล้องกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การบูรณาการของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมเข้าสู่กระบวนการทางธุรกิจขององค์กรสามารถยกระดับความสามารถขององค์กรในการ
$1o การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ผ่านการแบ่งปันกระบวนการและทรัพยากรต่าง ๆ
$1o การส่งมอบมูลค่าที่เพิ่มขึ้นด้วยการเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับกระบวนการที่องค์กรดำเนินการ
องค์กรสามารถพิจารณาโอกาสสำหรับการบูรณาการกิจกรรมบริหารสิ่งแวดล้อมเข้าสู่กระบวนการทางธุรกิจของตนเองด้วยการควบรวมของ
$1o ผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้หรือวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมในวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ขององค์กร (โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย) ตัวอย่างเช่น ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขัน
$1o คำมั่นสัญญาด้านโยบายสิ่งแวดล้อมในการกำกับดูแลองค์กร
$1o ความรับผิดชอบในระบบบริหารสิ่งแวดล้อมตามหน้าที่ความรับผิดชอบงาน
$1o ตัวชี้บ่งสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดการธุรกิจตามปกติ มัดรวมกับการประเมินผลแผนกหรือพนักงาน อาทิ เช่น KPIs
$1o ประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมจากรายงานภายนอก ตัวอย่างเช่น รายงานทางการเงินหรือการพัฒนาอย่างยั่งยืน
$1o กระบวนการในการกำหนดแง่มุมด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญรวมถึงความเสี่ยงและโอกาสที่กระทบต่อระบบบริหารสิ่งแวดล้อมเข้าสู่กระบวนการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจที่เป็นมาตรฐาน
$1o เกณฑ์สิ่งแวดล้อมต่อการวางแผนกระบวนการทางธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
$1o การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมเข้าสู่การสื่อสารทางธุรกิจ ช่องทางและกระบวนการเข้าร่วม อาทิเช่น ประชาสัมพันธ์
ฝ่ายบริหารสูงสุดควรสื่อสารความสำคัญของการบริหารสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผลและความสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมผ่านการมีส่วนร่วมโดยตรงหรือการมอบหมายอำนาจตามความเหมาะสม
การสื่อสารนี้สามารถเป็นแบบทางการหรือไม่เป็นทางการ และสามารถใช้รูปแบบต่าง ๆ รวมถึงภาพและคำพูด
END
วัตถุประสงค์และลักษณะของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมควรสะท้อนวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ ปรัชญา ค่านิยม และศรัทธา ขององค์กรในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารระดับสูงควรใช้ความคิดและวิสัยทัศน์เพื่อกำหนดนโยบายขึ้นเป็นอย่างดี เพราะนโยบายจะกลายเป็นบทบัญญัติที่องค์กรจะยึดถือต่อไป
นโยบายควรต้องเป็นแรงบันดาลใจที่สามารถปฏิบัติได้จริง และบอกทิศทางสำหรับใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจและทางเทคนิค ขณะเดียวกันก็ควรจูงใจและกระตุ้นให้พนักงานทุกคนสร้างความเป็นเลิศทางด้านสมรรถนะสิ่งแวดล้อม
นโยบายสิ่งแวดล้อมของ ISO 14001
ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 14001 มีดังนี้
$11. ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องทบทวนและอนุมัตินโยบายด้วยความรอบคอบ อีกทั้งต้องรับนโยบายเป็นพันธะผูกพัน แม้ว่าโดยปกติแล้วนโยบายจะร่างขึ้นโดยผู้จัดการฝ่ายแล้วส่งให้ผู้จัดการอาวุโสตามสายงานให้ความเห็นและแก้ไข แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบนโยบายที่กำหนดขึ้น
$12. นโยบายต้องครอบคลุมการดำเนินงานทุกด้านขององค์กร การจัดการวัตถุดิบ การขนส่ง การบรรจุหีบห่อ การส่งผลิตภัณฑ์ ที่อาจมีผลต่อสิ่งแวดล้อม
$13. นโยบายต้องมีพันธกิจตามข้อกำหนดของ ISO 14001 ทั้งนี้เพื่อเป็นพันธะผูกพันสำหรับทุกคนในองค์กร กล่าวคือ การปกป้องสิ่งแวดล้อม, รวมถึงการป้องกันมลพิษ และ ความมุ่งมั่นเฉพาะอื่นๆที่เกี่ยวข้องในบริบทองค์กร การบรรลุผลต่อข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติตาม
1) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง( การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง)
2) การป้องกันมลพิษ (หาทางจัดการภาวะมลพิษให้หมดไป หรืออย่างน้อยก็พยายามให้เกิดภาวะมลพิษน้อยที่สุด)
3) พันธกิจที่จะปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับต่างๆด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ภาค และระดับชาติ และจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมแม้จะไม่ได้เป็นกฎหมาย รวมทั้งการทำตามนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอง
$14. นโยบายต้องกำหนดทิศทางและกรอบการเดินไปสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
$15. ต้องมีการจัดทำเอกสารนโยบาย และนำไปปฏิบัติในการทำงานประจำวันภายใต้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
$16. นโยบายจะต้องทันต่อเหตุการณ์และเหมาะสมกับการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
$17. ฝ่ายบริหารสูงสุดจะต้องสื่อสารให้พนักงานทุกคน และผู้รับเหมาช่วง
$18. นโยบายต้องพร้อมที่จะนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะได้
นอกจากข้อกำหนดดังกล่าว ยังคงมีหลักการต่างๆที่อาจนำมารวมไว้ในนโยบายด้วย เช่น
$1· หลักการของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทรัพยากรหมุนเวียน และความหลากหลายทางชีวภาพ
$1· การรับเป็นพันธะกิจว่าจะนำเทคโนโลยีที่ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุดมาใช้โดยมีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ
$1· การใช้ตัวชี้วัดแบบเชิงปริมาณเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
$1· การคิดแบบครบวงจรว่ามีผลกระทบสะสมอย่างไร เริ่มต้นจากขั้นตอน การออกแบบผลิตภัณฑ์ การหาวัตถุดิบ การผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์ การขนส่ง จนถึงการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ซ้ำ การเวียนใช้ หรือการกำจัดขยะ
การนำมาตรฐานนี้มาใช้ให้ได้ผลจะต้องมีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนา การพิจารณาให้ความเห็นชอบ การสื่อสาร การเผยแพร่ การนำไปปฏิบัติ การรักษานโยบาย และการทบทวนนโยบายเมื่อจำเป็น นโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนที่มาก่อนส่วนอื่นใน ISO 14001 แต่เพื่อความรอบคอบ องค์กรอาจรอไว้ก่อนจนกว่าจะกำหนดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานและการวางแผนตลอดจนการเตรียมการเบื้องต้นสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แล้วจึงค่อยเลือกถ้อยคำที่จะใช้ในการเขียนตัวนโยบายให้เหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กร
นโยบายสิ่งแวดล้อมจะกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กรในด้านสิ่งแวดล้อมภายในขอบเขตของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ นโยบายสิ่งแวดล้อมควรมีกรอบการทำงานในการกำหนดวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและตั้งระดับความรับผิดชอบและประสิทธิภาพการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นขององค์กรต่อการตัดสินการปฏิบัติการถัดไปโดยนโยบายสิ่งแวดล้อมจะกำหนดหลักการปฏิบัติการสำหรับองค์กร
นโยบายสิ่งแวดล้อมควรเฉพาะเจาะจงต่อองค์กรและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และบริบทขององค์กรที่ดำเนินการโดยมีหลักธรรมชาติและขนาดของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่เป็นผลมาจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ นโยบายสิ่งแวดล้อมจึงควรมีคำมั่นสัญญาขององค์กรในการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องและคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม การป้องกันมลภาวะและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กรอบ 7 และ 8 จะมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาในนโยบายสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีการพัฒนานโยบายสิ่งแวดล้อม องค์กรควรพิจารณา
$1· วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมหลักและประโยชน์
$1· ความต้องการและความคาดหวังของและการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย;
$1· ปัญหาภายในและภายนอกที่เกี่ยวกับระบบบริหารสิ่งแวดล้อมโดยมีเงื่อนไขเฉพาะสำหรับท้องถิ่นและภูมิภาค
$1· การประสานงานกับนโยบายองค์กรอื่น ๆ (อาทิเช่น คุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
$1· ผลกระทบจริงและที่เป็นไปได้ต่อกิจกรรมขององค์กรจากเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย
ความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจะอยู่ที่ฝ่ายบริหารสูงสุดขององค์กร นโยบายสิ่งแวดล้อมควรมีการเก็บเป็นเอกสารข้อมูลและสอดคล้องกับเอกสารนโยบายอื่น ๆ ขององค์กรโดยจะรวมหรือเชื่อมโยงกันได้ อาทิเช่น เอกสารที่เกี่ยวกับคุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
ฝ่ายบริหารสูงสุดมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการนโยบายสิ่งแวดล้อมและในการมอบปัจจัยนำเข้าสำหรับการสร้างและปรับเปลี่ยนแก้ไขนโยบายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ควรมีการสื่อสารนโยบายสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรทั้งหมดที่ทำงานภายใต้การควบคุมขององค์กรและควรสื่อสารถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย องค์กรสามารถกำหนดให้นโยบายสิ่งแวดล้อมมีพร้อมใช้ในลักษณะที่ไม่จำกัด อาทิเช่น การลงบนเว็บไซต์ หรือทำให้สามารถมีพร้อมใช้อย่างเหมาะสมหลังจากที่มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ ความต้องการและความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือตามการร้องขอ
องค์กรต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการอยู่มากขึ้น ตัวอย่างเช่น โดยมีทรัพยากรต่าง ๆ พร้อมใช้ คุณภาพของอากาศและน้ำรวมถึงอิทธิพลและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรต่าง ๆ
ดังนั้น ด้วยการให้คำมั่นสัญญาในการปกป้องสิ่งแวดล้อมรวมถึงป้องกันมลภาวะ องค์กรจึงสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจและสังคมขององค์กรอย่างยั่งยืน
การปกป้องสิ่งแวดล้อม
คำมั่นสัญญาขององค์กรในการปกป้องสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวโยงกับกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ตั้งขององค์กรโดยสามารถทำให้บรรลุได้ภายในองค์กรหรือผ่านการบริหารห่วงโซ่อุปทาน การใช้หรือการกำจัดผลิตภัณฑ์ทิ้ง
องค์กรควรให้คำมั่นสัญญาอย่างเหมาะสมในการปกป้องสิ่งแวดล้อมอันสืบเนื่องมาจากผลกระทบทางธรรมชาติ ขนาดและสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น หากกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวพันกับการตัดไม้ทำลายป่า ควรพิจารณาในด้านคำมั่นสัญญาที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ หรือการให้บริการเชิงระบบนิเวศ
มาตรการเชิงปฏิบัติในการปกป้องสิ่งแวดล้อมสามารถรวมถึง
$1· ประสิทธิผลที่ปรับปรุงแล้วในการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ อาทิเช่น น้ำและเชื้อเพลิงฟอสซิล ตัวอย่างเช่น ด้วยการลดใช้หรือใช้ใหม่อีกครั้งหรือรีไซเคิลทรัพยากรธรรมชาติเกี่ยวกับการผลิต
$1· การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ถิ่นที่อยู่ของพืชหรือสัตว์รวมถึงระบบนิเวศผ่านการรักษาสถานที่โดยตรง หรือโดยอ้อมด้วยการตัดสินใจในการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิเช่น การซื้อวัสดุจากแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืนซึ่งตรวจพิสูจน์แล้ว
$1· การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วยการหลีกเลี่ยงหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการปรับเปลี่ยนนโยบายชดเชยคาร์บอนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
$1· การปรับปรุงคุณภาพอากาศและน้ำด้วยการหลีกเลี่ยง การทดแทนหรือการลด
การป้องกันมลภาวะ
การป้องกันมลภาวะสามารถนำไปรวมเข้าสู่วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยมีการออกแบบและพัฒนา การผลิต การกระจาย การใช้และตลอดอายุการใช้งาน กลยุทธ์ดังกล่าวสามารถช่วยให้องค์กรไม่เพียงแต่รักษาทรัพยากรและลดของเสียรวมถึงการปล่อยก๊าซแต่ยังช่วยในการลดต้นทุนและสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถแข่งขันได้มากขึ้น คำแนะนำแง่มุมด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการเข้าสู่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์มีอยู่ใน ISO/TR 14062 และ ISO 14006.
การลดที่แหล่งกำเนิดมักเป็นการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเนื่องจากสามารถหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดของเสียและการปล่อยก๊าซรวมถึงช่วยประหยัดทรัพยากรไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การป้องกันมลพิษด้วยการลดทรัพยากรไม่สามารถปฏิบัติได้ในบางสถานการณ์
องค์กรสามารถพิจารณาการใช้วิธีตามลำดับชั้นสำหรับการป้องกันมลพิษที่โน้มเอียงไปที่การป้องกันมลพิษที่แหล่งดังต่อไปนี้
$1a) การลดหรือกำจัดแหล่ง (โดยมีการออกแบบและพัฒนาที่มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม การทดแทนวัสดุ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยี รวมถึงการรักษาพลังงานและทรัพยากรวัสดุ)
$1b) การใช้อีกครั้งหรือการรีไซเคิลวัสดุภายในกระบวนการหรือสิ่งอำนวยความสะดวก
$1c) การฟื้นฟูและการรักษา (การฟื้นฟูจากการไหลของของเสียทั้งในและนอกสถานที่เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม)
$1d) กลไกการควบคุม อาทิเช่น การเผาหรือการกำจัดทิ้งที่มีการควบคุมโดยได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตามองค์กรควรใช้วิธีเหล่านี้หลังจากที่มีการพิจารณาทางเลือกอื่นแล้วเท่านั้น
นโยบายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จำนวนองค์กรระหว่างประเทศ ภาครัฐและสมาคมอาชีพรวมถึงกลุ่มประชากรที่เติบโตขึ้นได้พัฒนาหลักการชี้นำที่มุ่งมั่นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยจะช่วยองค์กรให้สามารถกำหนดขอบเขตคำมั่นสัญญาโดยรวมด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะหนึ่งในสามเสาหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและให้ค่านิยมโดยทั่วไป หลักการชี้นำสามารถช่วยองค์กรในการพัฒนานโยบายสิ่งแวดล้อมที่ควรเป็นเอกลักษณ์สำหรับองค์กรในการพัฒนา
นโยบายสิ่งแวดล้อมสามารถรวมคำมั่นสัญญาอื่น ๆ อาทิเช่น
$1a) การพัฒนาอย่างยั่งยืนและหลักการชี้นำที่เกี่ยวข้อง (อาทิเช่น UN Agenda 21/Global Compact, Equator Principles)
$1b) การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมย้อนกลับที่มีนัยสำคัญในการพัฒนาใหม่ ๆ ด้วยการใช้กระบวนการและการวางแผนด้านการบริหารสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ
$1c) การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงแง่มุมและหลักการในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สรุปประเด็นสำคัญ
$1· นโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการในการผลักดันในการปฏิบัติและการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์กรเพื่อการรักษาไว้และการพัฒนาการดำเนินงานในระบบให้ดีขึ้น
$1· นโยบายจะต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารสูงสุดในการปฏิบัติกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การป้องกันมลพิษและการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นโยบายสิ่งแวดล้อมต้องแสดงถึงค่านิยมและพันธะกิจของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานทางสิ่งแวดล้อม
$1· นโยบายควรชัดเจน กระชับ สามารถปฏิบัติได้ และมีแรงบันดาลใจ สะท้อนถึงหลักการ ค่านิยม และเจตนารมณ์ขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อม
$1· นโยบายจะต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนโดยฝ่ายบริหารสูงสุด ซึ่งจะเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมโดยการกระทำเป็นตัวอย่าง
$1· นโยบายสิ่งแวดล้อมควรเสริมกับนโยบายอื่นขององค์กร เช่น นโยบายด้านคุณภาพ สุขภาพและความปลอดภัย และความสำคัญทางธุรกิจ
$1· นโยบายจะต้องแสดงถึงแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย นโยบายจะต้องมีความชัดเจนและเข้าใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
$1· นโยบายจะต้องได้รับการทบทวนและแก้ไขตามรอบระยะเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์และข้อมูลที่ได้รับมา สำหรับพื้นที่ที่มีการประยุกต์ระบบฯ หรือขอบเขตจะต้องระบุให้ชัดเจนและแสดงถึงธรรมชาติของกิจการอย่างเด่นชัด รวมไปถึงขนาดและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการภายใต้ขอบเขตที่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้กำหนดไว้
$1· นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องสื่อสารไปสู่บุคลากรที่ทำงานหรือผู้ทำงานแทนในองค์กร นโยบายจะต้องสื่อสารไปสู่ผู้รับจ้างช่วงที่มาทำงานในขอบเขตขององค์กรที่ได้ระบุไว้ การสื่อสารไปสู่ผู้รับจ้างช่วงสามารถเลือกรูปแบบได้หลากหลาย เช่น กฎระเบียบ ข้อกำหนดในการทำงาน ระเบียบปฏิบัติและ/หรือวิธีการทำงาน สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงตามนโยบาย ผู้บริหารสูงสุดจะต้องระบุและจัดทำเป็นรูปแบบของเอกสารในเรื่องของนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่เกี่ยวข้องที่เป็นส่วนหนึ่งหรือขององค์กรภายใต้กำกับ
$1· ควรมีการติดประกาศแสดงนโยบายให้พนักงานได้เห็นโดยทั่วกัน และเปิดเผยต่อสาธารณะเมื่อมีผู้ต้องการทราบและจะเป็นการดี หากจะเป็นฝ่ายแสดงนโยบายต่อสาธารณะเสียเอง
$1· พนักงานทุกคนจะต้องมีจิตสำนึกและความเข้าใจอย่างชัดเจนในสาระและเจตนารมณ์ของนโยบายสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ: ผู้บริหารสูงสุดอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในระดับบริหารซึ่งมีรับผิดชอบในการดำเนินกิจการขององค์กรในส่วนนั้นๆ
ประเด็นในการปฏิบัติและการตรวจประเมิน
$11. ตรวจสอบว่านโยบายได้ถูกใช้ในการขับเคลื่อนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในภาพรวมหรือไม่ และได้ดีเพียงใด
$12. ตรวจสอบความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงโดยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารสูงสุดเกี่ยวกับที่มาของนโยบายสิ่งแวดล้อมว่าพิจารณาจากอะไรบ้าง เช่น มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องอะไร เพื่อตรวจสอบว่าผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมหรือไม่
$13. ทำการตรวจสอบเนื้อหาสาระของนโยบาย ว่าสะท้อนถึงลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการในขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือไม่
$14. ทำการตรวจสอบเนื้อหาสาระนโยบาย การกำหนดกรอบกิจกรรม สิ่งที่จะทำ สิ่งที่องค์กรจะไม่ทำว่ามีความเหมาะสมกับธุรกิจ ขนาดขององค์กร และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการหรือไม่
$15. ทำการตรวจสอบว่ามีข้อความแสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และป้องกันมลพิษหรือไม่
$16. ทำการตรวจสอบว่ามีข้อความแสดงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อกำหนดอื่น ๆ หรือไม่
$17. ทำการตรวจสอบว่า นโยบายได้ถูกนำไปจัดตั้ง จัดทำวัตถุประสงค์เป้าหมาย ตัวเนื้อหาสาระนโยบายต้องมีกรอบ (Framework) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนด และทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หรือไม่
$18. มีการจัดทำนโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นเอกสาร และมีการปฏิบัติตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง หรือไม่ ตรวจสอบการนำนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติที่หน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร
$19. ตรวจสอบความตระหนักของพนักงานและผู้รับเหมาช่วง ในเรื่องนโยบายสิงแวดล้อม
$110. ตรวจสอบว่า นโยบายได้มีสื่อสารไปยังพนักงานทุกคน และบุคคลอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานให้กับองค์กร หรือในนามองค์กร หรือไม่ (ตัวอย่างเช่น ผู้ส่งมอบ ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง ลูกจ้างชั่วคราวและนักศึกษาฝึกงาน เป็นต้น)
$111. ตรวจสอบการรับรู้ของสาธารณะที่มีต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมและนโยบายมีพร้อมไว้เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะหรือไม่ เช่น ป้ายประกาศ แผ่นพับ หรือวารสารของบริษัท และเว็บไซต์ เป็นต้น
$112. ตรวจสอบว่านโยบายได้รับการทบทวนหรือไม่ ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการทบทวน ใช้เหตุผลอะไรในการปรับหรือไม่ปรับนโยบาย
END
โครงสร้างขององค์กรเป็นการอธิบายโดยสังเขปถึงลำดับชั้นของการปกครองและความสัมพันธ์ของการรายงานผลระหว่างหน้าที่และระดับต่างๆในองค์กร หน้าที่ในแต่ละระดับความรับผิดชอบของแต่ละแผนกอาจสรุปให้เห็นรายละเอียดมากขึ้นในแผนภูมิองค์กร
ความสำเร็จในการประยุกต์ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของพนักงานทุกคนในองค์กร บทบาทและความรับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงานอาจมีการระบุไว้น้อยมาก แต่อาจระบุแทรกอยู่ในหน้าที่หรือกิจกรรมอื่นๆ ในองค์กรก็ได้ เช่น ฝ่ายปฏิบัติการ หน้าที่ของพนักงานมากกว่าในงานสิ่งแวดล้อมโดยตรง
ความมุ่งมั่นของการจัดการสิ่งแวดล้อมจะต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงสุด ซึ่งผู้บริหารจะต้องจัดทำนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กรและต้องแน่ใจว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้ถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง
ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นนี้การแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจะต้องถูกจัดทำขึ้นซึ่งมีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบ อำนาจการสั่งการในการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ในองค์กรขนาดใหญ่และที่มีความซับซ้อนอาจมีการแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมากกว่า 1 คนก็ได้ สำหรับองค์กรขนาดกลางและเล็กก็อาจมีผู้รับผิดชอบคนเดียวก็ได้
ผู้บริหารสูงสุดจะต้องแน่ใจว่าทรัพยากรที่จำเป็นในการขับเคลื่อนและรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องเพียงพอและเหมาะสม ดังนั้นสิ่งสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นคือบทบาทและความรับผิดชอบได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนและสื่อสารให้กับพนักงานทุกระดับหรือผู้ที่เป็นตัวแทนขององค์กรได้รับทราบ
หน้าที่ความรับผิดชอบ คือ แผนกหรือพื้นที่ความรับผิดชอบ ตัวอย่าง : การเงิน สิ่งแวดล้อม การตลาด การซ่อมบำรุง
บทบาท คือ ตำแหน่งที่บุคคลครองอยู่และมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งอื่นๆในองค์กร ตัวอย่างเช่น : ประธาน หัวหน้าแผนก ตัวแทนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หัวหน้าควบคุมคนงานซ่อมบำรุง
หน้าที่ความรับผิดชอบ คือ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและหน้าที่โดยตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น : การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อมตามกำหนดการ การรายงานผลการตรวจสอบการดำเนินงานตามข้อกำหนดกฎหมายให้กับรัฐบาล ให้คำชี้แนะกับทีมงานแก้ปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉิน การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ
อำนาจ คือ อำนาจและอิทธิพลของบุคคลที่เกิดจากตำแหน่งหน้าที่รวมทั้งเกิดจากบุคลิกลักษณะนิสัยส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น : อำนาจในการขอรายงานการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อำนาจในการสั่งการให้บุคคลเก็บตัวอย่างหรือทำการวิเคราะห์ และการลงโทษทางวินัยลูกจ้างที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
คำอธิบาย ISO 14001
ISO 14001 ระบุว่าองค์กรต้อง “บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ต้องถูกกำหนด จัดทำเป็นเอกสาร และสื่อสารเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการจัดการสิ่งแวดล้อม” บทบาทความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ความหมายของคำกล่าวนี้คืออะไร
กำหนดบทบาท คือ องค์กรได้ระบุตำแหน่งและอธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบที่จำเป็นต่อการกำหนดแผนการนำไปปฏิบัติและคงไว้ซึ่งทุกๆส่วนของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิผล
การจัดทำเป็นเอกสาร คือ การกำหนดรายละเอียดของบทบาท อำนาจหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษร จัดทำเป็นแผนภูมิองค์กร ขั้นตอนการปฏิบัติการ บันทึกเตือนความจำ ข้อสังเกต
การสื่อสาร คือ การทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องและคนที่จำเป็นต้องรู้หน้าที่ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งได้แก่ทุกคนในองค์กรนั้นได้รับทราบถึงบทบาท และอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
ISO 14001 จึงมีความสำคัญเนื่องจากระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับคนและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนซึ่งทำงานเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่จะทำให้ระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อมทำงานได้ผล ทุกๆคนจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อพวกเขามี:
ความรับผิดชอบของการจัดการ
ผู้บริหารระดับสูงมีความรับผิดชอบต่อ :
$1· กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กร
$1·
โครงสร้างองค์กรควรยืดหยุ่น เนื่องจากการจัดการสิ่งแวดล้อมมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา |
เป็นผู้นำโดยการปฏิบัติเป็นตัวอย่างในข้อตกลงเรื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การป้องกันมลพิษและการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
$1· จัดสรรทรัพยากรอย่างพอเพียงเพื่อการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติและคงไว้
$1· ให้รางวัลสำหรับผลการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
$1· เป็นผู้นำในการจัดการทบทวนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ
$1· รวมหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมและวิธีปฏิบัติให้เข้ากันกับวัฒนธรรมขององค์กร
ทรัพยากร
ถ้อยคำที่ดีและความตั้งใจที่ดีนั้นยังไม่เพียงพอต่อการประสบความสำเร็จในระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการต้องให้อำนาจและทำให้มั่นใจว่าสามารถจัดหาทรัพยากรได้อย่างพอเพียงเพื่อทำให้การปฏิบัติงานของบุคคลเป็นไปตามหน้าที่และตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่จำเป็น
ทรัพยากรประกอบไปด้วย :
$1· บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี มีประสบการณ์ ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
$1· เวลาในการวางแผนงาน การนำไปปฏิบัติและการปฏิบัติตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงเวลาสำหรับการปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบตามปกติด้วยถ้าจำเป็น
$1· การสนับสนุนด้านการเงินอย่างพอเพียง (การจัดสรรงบประมาณ) เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้ การปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน การฝึกอบรม ฯลฯ เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
$1· เครื่องมือ ได้แก่ อุปกรณ์ เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายและคงไว้ซึ่งระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบของตัวแทนระบบ
แต่ละองค์กรที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ต้องแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมหนึ่งคนหรือมากกว่าซึ่งมีหน้าที่:
ความสามารถ ทักษะ และบุคลิกลักษณะของตัวแทนฝ่ายบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตัวแทนฝ่ายจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผลควรมีคุณสมบัติที่ผสมผสานระหว่างความถนัด ความรู้ในเทคโนโลยีและบุคลิกภาพ บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจะต้อง :
การกำหนด ดำเนินการและรักษาระบบบริหารสิ่งแวดล้อมที่ประสบผลสำเร็จรวมถึงการปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมจะขึ้นอยู่กับวิธีที่ฝ่ายบริหารสูงสุดกำหนดและมอบหมายความรับผิดชอบและอำนาจภายในองค์กร
ฝ่ายบริหารสูงสุดควรมอบหมายตัวแทน หรือหน้าที่ พร้อมอำนาจ การตระหนักถึง ความชำนาญและทรัพยากรที่เพียงพอเพื่อ
$1a) ทำให้มั่นใจในการกำหนด ดำเนินการและรักษาระบบบริหารสิ่งแวดล้อมในระดับที่บังคับใช้ทั้งหมดขององค์กร
$1b) รายงานกลับไปยังฝ่ายบริหารสูงสุดในด้านระบบบริหารสิ่งแวดล้อม โดยรวมประสิทธิภาพการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและโอกาสในการพัฒนา
โดยความรับผิดชอบและอำนาจเหล่านี้สามารถนำไปรวมกับหน้าที่และความรับผิดชอบอื่น ๆ
ฝ่ายบริหารสูงสุดควรทำให้มั่นใจในความรับผิดชอบและกำหนดอำนาจของบุคลากรที่ทำงานภายใต้การควบคุมขององค์กรซึ่งมีงานส่งผลต่อระบบบริหารสิ่งแวดล้อมและมีการสื่อสารภายในองค์กรตามความเหมาะสมเพื่อทำให้มั่นใจในการดำเนินระบบบริหารสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบในระบบบริหารสิ่งแวดล้อมไม่ควรมองจำกัดอยู่ที่หน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมโดยสามารถรวมหน้าที่อื่น ๆ ภายในองค์กร อาทิเช่น การออกแบบ การจัดซื้อจัดจ้าง วิศวกรรมหรือคุณภาพ ทรัพยากรที่ฝ่ายบริหารสูงสุดมอบให้ควรสามารถบรรลุความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ควรมีการทบทวนความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่เมื่อโครงสร้างองค์กรมีการเปลี่ยนแปลง
ความรับผิดชอบในระบบบริหารสิ่งแวดล้อม |
ผู้รับผิดชอบโดยรวม |
กำหนดทิศทางโดยรวม(ผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้) |
ประธาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) คณะกรรมการ |
พัฒนานโยบายสิ่งแวดล้อม |
ประธาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม |
พัฒนาวัตถุประสงค์และกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อม |
ผู้จัดการที่เกี่ยวข้องและอื่น ๆ ตามความเหมาะสม |
พิจารณาแง่มุมด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างกระบวนการออกแบบ |
นักออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ สถาปนิกและวิศวกร |
สังเกตการณ์ประสิทธิภาพการทงานของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมโดยรวม |
ผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อม |
รับประกันการบรรลุข้อกำหนดความสอดคล้อง |
ผู้จัดการทุกคน |
ส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง |
ผู้จัดการทุกคน |
บ่งชี้ความคาดหวังของลูกค้า |
พนักงานขายและการตลาด |
บ่งชี้ข้อกำหนดสำหรับผู้จัดหา (ซัพพลายเออร์)และเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้าง |
ผู้จัดซื้อ ผู้ซื้อ |
ทำให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม |
บุคลากรทั้งหมดที่ทำงานภายใต้การควบคุมขององค์กร |
ทบทวนการดำเนินระบบบริหารสิ่งแวดล้อม |
ฝ่ายบริหารสูงสุด |
หมายเหตุ บริษัทและสถาบันต่าง ๆ มีโครงสร้างองค์กรที่แตกต่างกันและต้องนิยามความรับผิดชอบด้านบริหารสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของกระบวนการทำงานของตนเอง ในกรณีองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ตัวอย่างเช่น เจ้าของสามารถเป็นผู้ที่รับผิดชอบในกิจกรรมเหล่านี้ทั้งหมด |
Tip & Trick
ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่หลักในการให้ทรัพยากรที่จำเป็น ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญของการเป็นผู้บริหารระดับสูง บางองค์กรผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคลคนเดียวขณะที่บางองค์กรเป็นองค์คณะ ในการจัดทำโครงสร้าง การระบุ อำนาจ หน้าที่ และต้องถ่ายทอดให้พนักงานเข้าใจ ไม่ใช่แค่รับทราบ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ในครั้งแรกอาจกระทำไม่ง่ายนัก
เราจะออกแบบ โครงสร้างองค์กรได้อย่างไร
สิ่งที่ต้องคิดคำนึงในการกำหนด ว่าคนที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมีใคร บ้าง มากน้อย เพียงใด คำถามที่ท่านต้องถามตัวท่านเองก่อนเริ่มวางโครงสร้างมีดังนี้
คิดถึงการควบรวมกับระบบปัจจุบัน $1- จัดซื้อ $1- ระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอนการทำงาน $1- แผนงานอบรม $1- การสื่อสาร $1- การรายงาน $1- การสรรหา ว่าจ้าง $1- etc |
1.อะไรคือขอบเขตของระบบ
$1- ใครบ้างที่จะเป็นผู้ช่วยในการทำให้ระบบ EMS มีประสิทธิผลในขอบเขตของระบบ
$1- อะไรคือการอบรมและทรัพยากรอื่นๆที่จำเป็น
2. อะไรคือ Sign Aspect และการทำให้สอดคล้องที่จำเป็น
$1- อะไรคือ กิจกรรม การปฏิบัติงานที่ต้องควบคุม
$1- ใครบ้างจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการทำให้มั่นใจว่า กิจกรรม การปฏิบัติงานข้างต้นได้รับการควบคุม
3. อะไรคือผลการตรวจประเมินอื่นๆที่ผ่านมา
$1- โครงสร้างปัจจุบันมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และจะปรับปรุงอย่างไร
4. อะไรคือความรับผิดชอบปัจจุบันของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ (ตามกฎหมาย หรือตามระบบปัจจุบันที่เป็นอยู่)
$1- ทำอย่างไรถึงทำให้เกิดความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม เกิดถ้วนทั่วทั้งองค์กร
$1- ทำอย่างไรให้หน่วยงานฝ่ายงานที่มีอยู่ สามารถใช้กรอบงานหลักปัจจุบันในการมีส่วนร่วมในการออกแบบระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเช่น
จัดซื้อ
$1- พัฒนาความสามารถผู้ส่งมอบให้สามารถตอบสนองต่อข้อกำหนดสิ่งแวดล้อม
$1- ประกันว่าผู้รับเหมา ผู้ส่งมอบปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมาย และข้อกำหนดสิ่งแวดล้อมที่องค์กรจัดทำขึ้น
$1-
ข้อดีขององค์กรขนาดเล็ก $1- สายการบังคับบัญชาสั้น $1- องค์กรไม่ซับซ้อน $1- คนไม่เรื่องมาก ไม่มีอาณาเขตส่วนตัวแยะ $1- ไม่ต้องมอบหมายงานยาวๆๆๆ $1- ง่ายต่อการตรวจสอบ เข้าถึง ล้วงลูกของผู้บริหารระดับสูง |
จัดทำมาตรการและทำการควบคุมการใช้สารเคมี/การซื้อวัสดุอื่น ๆ
ทรัพยากร บุคคล
$1- กำหนดความสามารถและกำหนดใบพรรณนาลักษณะงานสำหรับ หน้าที่ รับผิดชอบในระบบ
$1- อบรมพนักงานชั่วคราว และ และผู้รับเหมาช่วง
$1- จัดเก็บบันทึกการฝึกอบรม
ขาย ตลาด
$1- กำหนด บ่งบอก ความจำเป็น คาดหวัง ด้านสิ่งแวดล้อม
$1- ประเมินความเป็นไปได้ในการตอบสนองด้านสิ่งแวดล้อม
ซ่อมบำรุง
$1— จัดทำโปรแกรมการบำรุงรักษาสำหรับเครื่องจักรที่สำคัญ
$1— ช่วยในการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
ฝ่ายการเงิน
$1- ทำการจัดเก็บค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าพลังงาน ค่าจัดการของเสีย
$1- เตรียมงบประมาณสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
$1- จัดทำการศึกษาความเป็นไปได้/คุ้มทุนของโครงการสิ่งแวดล้อม
วิศวกร
$1- ภาพรวม : แนะนำหนทางแก้ไข คัดเลือก ติดตาม รายงาน สั่งหยุดกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ
$1- ร่วมกำหนดวิธีปฏิบัติต่างๆการควบคุมการปฏิบัติการ การวัดติดตาม การปรับปรุง
$1- พิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงการปรับเปลียนกระบวนการในการผลิต (DfE)
$1- ระบุ โอกาส ใน การป้องกัน มลพิษ
Top Management
$1- อนุมัติ กำหนดนโยบายตัดสินใจ ทิศทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
$1- สื่อสาร ความสำคัญของ
$1- ทบทวนประสิทธิผลของระบบ
$1- ให้ทรัพยากร ที่ จำเป็นz
ผู้จัดการทุกคน
$1- ภาพรวม : อนุมัติ ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย แนะนำหนทางแก้ไข คัดเลือก ติดตาม รายงาน สั่งหยุดกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ
$1- ช่วยกำหนด กระจาย สื่อสาร นโยบายสิ่งแวดล้อม
$1- ทำการชี้บ่งประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
$1- ร่วมกำหนด เป้าหมาย วัตถุประสงค์ โครงการ
$1- ให้ความรู้พนักงาน ทำตัวเป็นตัวอย่าง
$1- สร้างค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อม
พนักงานปฏิบัติการ
$1- ให้ข้อมูล ด้านประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเขา
$1- ให้การฝึกอบรมกับพนักงานใหม่
$1- ภาพรวม ปฏิบัติตามระบบ หยุดกระบวนการ ปฏิบัติการแก้ไข รายงานต่อหัวหน้า ..
เทคนิคการทำ Flow chart จะช่วยในท่านเข้าใจในกระบวนการและผลิตภัณฑ์ จะทำให้ท่านทราบว่า หน่วยงาน กิจกรรมไหนมีความสัมพันธ์กับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มากกว่านั้นยังช่วยในการกำหนดพิจารณาว่ามี สารเคมี การจัดจ้าง การกระจายสินค้า ผู้ส่งมอบ ใดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เป็นสิ่งดี ที่ท่านจะเริ่มระบุ กำหนดหน้าที่งานโดยฝากฝังให้กับ ลำดับบังคับบัญชา สายงานที่มีอยู่โดยใช้ Responsibility Matrix ตามที่แนบท้ายมานี้
Responsibility Matrix Legend:L = Lead Role S = Supporting Role |
Responsibility |
Plant M’gr |
EHS M’gr |
HR M’gr |
Maintenance |
Purchasing / Materials |
Engineering |
Production Supervisor(s) |
Finance |
EMS Mg’t Rep. |
Employees |
Communicate importance of environmental management |
L |
S |
S |
|||||||
Coordinate auditing efforts |
L |
S |
S |
|||||||
Track / analyze new regulations (and maintain library) |
L |
|||||||||
Obtain permits and develop compliance plans |
L |
S |
||||||||
Prepare reports required by regulations |
L |
|||||||||
L |
||||||||||
Train employees |
S |
L |
||||||||
Integrate environmental into recruiting practices |
L |
|||||||||
Integrate environmental into performance appraisal process |
L |
|||||||||
Communicate with contractors on environmental expectations |
L |
|||||||||
Comply with applicable regulatory requirements |
L |
L |
S |
S |
S |
S |
S |
S |
S |
S |
Conform with organization's EMS requirements |
L |
L |
S |
S |
S |
S |
S |
S |
S |
S |
Maintain equipment / tools to control environmental impact |
L |
|||||||||
Monitor key processes |
S |
L |
||||||||
Coordinate emergency response efforts |
L |
S |
||||||||
Identify environmental aspects of products, activities, or services |
S |
L |
S |
S |
S |
S |
S |
S |
S |
|
Establish environmental objectives and targets |
L |
S |
S |
|||||||
Develop budget for environmental management |
S |
L |
||||||||
Maintain EMS records (training, etc.) |
L |
|||||||||
Coordinate EMS document control efforts |
S |
L |
สรุปประเด็นสำคัญ
การตรวจประเมิน
END