ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO14001 ไม่ใช่ระบบการจัดการที่เน้นให้มีเอกสารระเบียบปฏิบัติมากๆ แต่เน้นที่การมีแผน เน้นที่การปรับปรุง เน้นที่ผลลัพธ์ ของการปรับปรุงสมรรถนด้านสิ่งแวดล้อม เหตุผล ที่มาที่ไป ทำไมถึงสรุปอย่างนี้ บทความนี้จะบอก...
เริ่มด้วยอะไรคือนโยบายสิ่งแวดล้อม ตามความหมาย ISO14001
ก่อนอื่น อยากให้คุณพิจารณา คำว่า นโยบายสิ่งแวดล้อม อย่างลึกซึ้งกันก่อนดีกว่า
หากคุณคิดว่าคุณเข้าใจว่าอะไรคือนโยบายสิ่ง แวดล้อม แนะนำให้ดูนิยามข้างต้นใหม่ อ่านหลายๆครั้ง สำหรับคนที่ชอบคิดเอง เออเอง เพราะคุณอาจไม่เชื่อตาตัวเอง
นิยามของคำว่า นโยบายสิ่งแวดล้อม หมายถึง: เจตนาและการสั่งการที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะสิ่งแวดล้อมครับ
แล้วอะไรคือสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม
จากนิยามท่านจะพบว่า คำว่าสมรรถนะสิ่งแวดล้อมคือ ผลที่วัดได้ เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กร
หาก ตามนี้แล้ว นโยบายสิ่งแวดล้อมคือ เจตนาและการสั่งการโดยรวมในเรื่องผลที่ต้องการ ผลที่วัดได้ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กรครับ
นโยบาย สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพราะระบบ EMS ทั้งหมด จะทำมากทำน้อย ขึ้นอยู่กับนโยบายสิ่งแวดล้อมครับ
มาดูคำนิิิิิยามอื่นๆเพิ่มเติม
อะไรคือ เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
นิยาม ให้คำจำกัดความว่า รายละเอียดของสมรรถนะขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
อะไรคือการติดตามและการตรวจวัด ที่จำเป็นสำหรับ ระบบ ISO14001
ข้อกำหนด ISO14001 กำหนดให้เราต้อง ติดตาม ตรวจวัด สมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายด้วยครับ
ข้อกำหนดเรื่อง การทบทวนฝ่ายบริหาร ISO14001
มาตรฐาน ISO14001 กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงต้องทำการทบทวนสมรรถนะสิ่งแวดล้อม
.......................
จากที่ยกเหตุและผล คำนิยาม มาข้างต้น เพียงแต่อยากจะบอกว่า ผู้ตรวจประเมินของคุณ, EMR ของคุณ, พนักงานของคุณ, บริษัทของคุณ จะต้องใส่ใจกับการบริหารจัดการ การกำหนด, การติดตาม, การวิเคราะห์ ค่าสมรรถนะสิ่งแวดล้อมในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นหัวใจเป็นเจตนารมณ์ของข้อกำหนด
หากระบบ EMSขององค์กรท่าน มีดัชนีวัดสมรรถนะน้อยๆ ทำไปงั้นๆ มีแต่เอกสาร มีแต่บันทึก เต็มไปหมด ระบบEMSของท่านต้องได้รับการสังคายนาโดยเร่งด่วนครับ
อะไรบ้างที่เราควรนำมาจัดทำเป็น สมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม
ข้อกำหนด ISO14031 "Environmental Management – Environmental performance evaluation Guideline ได้ให้แนวทางในการจัดทำดัชนีในการประเมินผลงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance) เป็น ECI (environmental condition indicator) , EPI ( Environmental Performance Indicator)
ตัวอย่าง การจัดทำ EPI มีดังนี้
MPI (Management Performance indicator) การปฏิบัติตามนโยบายและโครงการสิ่งแวดล้อม เป็นดัชนีที่แสดงถึงความพยายามของผู้บริหารที่มีอิทธิพล ต่อผลงานสิ่งแวดล้อมขององค์กร แยกตามประเภทของหน้าที่ที่ควรคำนึงถึง
จำนวนวัตถุประสงค์กับเป้าหมายที่ประสบความสำเร็จ
จำนวนแผนกในองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
ระดับของการปฏิบัติสำเร็จตามแผน 80%, 100%
จำนวนทางเลือกที่ใช้ในการป้องกันมลพิษได้สำเร็จ
ระดับความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการอบรม
จำนวนข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมจากพนักงาน
จำนวนผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่นการนำกลับมาใช้ใหม่
จำนวนผู้รับเหมาช่วงที่ได้รับการรับรองระบบสิ่งแวดล้อม
ความสำเร็จตามที่คาดหวัง
ระดับที่ปฏิบัติได้ตามกฎหมาย
ระดับความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมลูกค้าตามสัญญา
ระยะเวลาที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดเหตุ
จำนวนครั้งและค่าปรับที่ต้องจ่ายให้กับทางราชการ
ความถี่ในการปรับปรุงคู่มือปฏิบัติการ
ระดับความพร้อมในการปฏิบัติการในกรณีเหตุฉุกเฉิน
ด้านการเงิน
ผลตอบแทนทางเงินจากโครงการด้านสิ่งแวดล้อม
ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้จากการใช้วิธีป้องกันมลพิษ
ความสัมพันธ์กับชุมชน
จำนวนครั้งที่ตกเป็นข่าวด้านสิ่งแวดล้อม
จำนวนครั้งที่จัดโครงการชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม
ทรัยยากรที่ให้กับท้องถิ่นเพื่อโครงการด้านสิ่งแวดล้อม
ค่าความนิยมจากการสำรวจชุมชนรอบข้างเกี่ยวกับองค์กร
OPI (Operation Performance Indicator) ดัชนีวัดที่แสดง ความสามารถองค์กรในการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นดัชนีที่แสดงถึงความสามารถขององค์กรในการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมอาจ แบ่งประเภทได้ตามสิ่งที่เข้าหรือออกจากระบบการทำงานของโครงการ
วัตถุดิบ
ปริมาณวัตถุดิบต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ปริมาณวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่
ปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้ง หรือนำกลับมาใช้ใหม่ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ปริมาณสารอันตรายต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
พลังงาน
ปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อปีหรือต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อลูกค้าหรือต่อหน่วยบริการ
ปริมารของพลังงานแต่ละชนิด
ปริมาณพลังงานที่ประหยัดได้จากโครงการประหยัดพลังงาน
งานบริการสนับสนุน
ปริมาณสารอันตรายที่ใช้โดยผู้รับเหมาช่วง
ปริมาณวัสดุที่นำกลับมาใช้โดยผู้รับเหมาช่วง
ปริมาณสารเคมี สารทำความสะอาด
ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น
กระบวนการ เครื่องจักร
จำนวนชั่วโมงที่เครื่องจักรแต่ละเครื่องทำงาน
จำนวนครั้งการเกิดเหตุฉุกเฉิน
พื้นที่ต่อหน่วยผลิต
ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในพาหนะต่อปี
ผลิตภัณฑ์
จำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีสารอันตรายน้อยลง
จำนวนผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
จำนวนผลพลอยได้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
อายุการใช้งานผลิตภัณฑ์
ปริมาณพลังงานที่ผลิตภัณฑ์ใช้ในขณะทำงาน
ของเสีย
ปริมาณของเสียต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ปริมาณของเสียที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
ปริมาณของเสียที่ต้องกำจัดต่อปี
ปริมาณของเสียที่เก็บในโรงงาน
มลพิษที่ปล่อย
ปริมาณและชนิดของมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ปริมาณพลังงานสูญเสีย
ปริมาณของเสียที่ฝังกลบ
ปริมาณน้ำเสียต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
ในการจัดการโครงการชี้วัด Key Performance (KEPIs) ที่ดีจะทำให้องค์กรสามารถติดตาม วัดผล หรือมีโอกาสที่จะ:
ประหยัดเงินและทำให้กำไรเพิ่มขึ้น
ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ลดของเสีย (วัตถุดิบ พลังงาน น้ำ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ)
ป้องกันมลพิษ
มากกว่านี้ KEPIs ยังสามารถช่วยให้บริษัทแสดงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม และความมุ่งมั่นในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน วัดผลได้ รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงได้เป็นอย่างดี.
อย่าลืม ระบบ EMS ที่ดี คือ ระบบที่ แต่เน้นมีการวางแผน เน้นที่การปรับปรุง เน้นที่ผลลัพธ์ ของการปรับปรุงสมรรถนด้านสิ่งแวดล้อม ครับ
ตัวอย่างรายการ เป้าหมาย สำหรับอุตสาหกรรมอาหารครับ