4.1 ความเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กรองค์กรต้องพิจารณากำหนดปัจจัยภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายขององค์กรและทิศทางกลยุทธ์ และผลต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ต่อระบบการบริหารคุณภาพ
องค์กรต้องเฝ้าติดตามและทบทวนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นภายนอกและภายในเหล่านี้.
หมายเหตุ 1 ปัจจัยสามารถรวมถึง ปัจจัยทางบวกและลบ หรือ สภาพใดๆ ที่ใช้ในการคำนึงถึง
หมายเหตุ 2 ความเข้าใจบริบทภายนอกสามารถทำให้ได้มาโดยการคำนึงถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย เทคโนโลยี สภาพการแข่งขัน การตลาด วัฒนธรรม สังคม และ เศรษฐกิจแวดล้อม ไม่ว่าทั้งในระดับโลก ระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น
หมายเหตุ 3 ความเข้าใจบริบทภายในสามารถทำให้ได้มาโดยการคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ คุณค่า วัฒนธรรม ความรู้ และสมรรถนะ ขององค์กร |
ข้อกำหนดข้อนี้ของมาตรฐานISO9001เป็นข้อกำหนดใหม่ ที่ซึ่งมาตรฐานฉบับ ISO9001:2008 ไม่ได้ระบุไว้ และเป็นข้อกำหนดที่ยากสำหรับการทำความเข้าใจ แต่จะไม่ยากเลยสำหรับผู้บริหารอาวุโสโดยทั่วไปที่ทำการบริหารธุรกิจโดยใช้กลไกในการบริหารที่มีการทำ SWOT แผนการตลาด แผนธุรกิจ ประจำปีอยู่แล้ว
การทำความเข้าใจองค์กรและบริบทนี้ ถึงแม้เป็นข้อกำหนดของมาตรฐานใหม่ แต่องค์กรทั่วไปมักได้มีการกระทำอยู่แล้วแต่มักไม่เป็นทางการ สำหรับองค์กรทั่วๆไปเนื่องจากอาจยุ่งอยู่กับงานดำเนินธุรกิจและการแก้ปัญหารายวัน
สารสนเทศที่ได้จากการทำความเข้าใจองค์กรและบริบทองค์กรนี้ จะถูกใช้ในการพิจารณากำหนดขอบข่ายของระบบการบริหารคุณภาพและเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อการจัดทำระบบการบริหาร โดยใช้เพื่อการพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมและติดตามในระบบการบริหารคุณภาพ
การขาดการพิจารณาองค์กรในมุมมองปัจจัยภายนอกภายในอย่างรอบคอบอาจทำให้ขาดโอกาสหรือทำให้เกิดความผิดพลาดบางสิ่งไป ในการดำเนินการจัดการบริหารจัดการองค์กร
ท่านอาจมุ่งอยู่แต่งานประจำวัน จนลืมมองสิ่งรอบๆ องค์กรท่านเช่น
ข้อกำหนดต้องการให้"องค์กรมีการพิจารณาปัจจัยภายนอกและภายในที่มีผลกับ 3 สิ่ง" กล่าวคือที่เกี่ยวข้องกับ
ซึ่งหมายถึงว่าท่านต้องมีการกำหนด 3 สิ่งนี้ก่อนไม่ว่า จุดมุ่งหมายขององค์กรและทิศทางกลยุทธ์ และ ผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ต่อระบบการบริหารคุณภาพ หากท่านยังไม่ได้สรุป ยังไม่ได้กำหนด ยังไม่ชัดเจน สำหรับ 3 สิ่งนี้ไว้ แนะนำให้กำหนดก่อนครับ หลังจากกำหนด 3 สิ่งนี้แล้ว จึงค่อยกำหนดปัจจัยภายในและภายนอกได้ครับ
ข้อกำหนดต้องการให้ “องค์กรต้องเฝ้าติดตามและทบทวนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นภายนอกและภายในเหล่านี้.”
มาตรฐาน ISO ไม่ได้กำหนดให้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกและภายในให้เป็นเอกสาร แต่การไม่เป็นเอกสาร แต่ในทางปฏิบัติคงจะยากยิ่งเนื่องจากท่านต้องติดตามและทบทวนสารสนเทศนี้ มากกว่านี้ท่านต้องใช้สารสนเทศในในการประเมินความเสี่ยงกับส่วนงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในฝ่ายและแผนกต่างๆ(ข้อ 6.1)
มาตรฐาน ISO ต้องการให้ท่านเฝ้าติดตาม แปลว่าท่านต้องมีกิจกรรมตรวจสอบสถานะของแต่ละประเด็นปัจจัยไม่ว่าภายนอกและภายในว่าแตกต่างหรือมีการปรับเปลี่ยน หรือมีแนวโน้มอยางไรเป็นระยะๆ โดยควรกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ และหน้าที่ในการติดตาม รายงานในแต่ละเรื่อง ซึ่งรวมถึงการกำหนดความจำเป็นที่อาจต้องปรับต้องเปลี่ยนสารสนเทศนี้หรือไม่อย่างไร
มาตรฐาน ISO ต้องการให้ท่านทบทวน หมายถึงต้องมีการตัดสินใจในความถูกต้องทันสมัย ความใช้ได้ ความเชื่อถือได้ของสารสนเทศนี้ ตามรอบเวลา หรือจังหวะเวลาที่เหมาะสม มาตรฐาน ISO ไม่ได้กำหนดความถึ่ในการติดตามและการทบทวนมาให้ ซึ่งแต่ละองค์กรอยู่ในธุรกิจที่ต่างกันย่อมมีสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงใดๆที่มีผลกับการทำธุรกิจมีความเร็วและมีผลระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของประเด็นภายนอกกับประเด็นภายในองค์กรท่านต้องการการติดตามและทบทวนที่แตกต่างกัน
จุดมุ่งหมายองค์กร(Purpose) เป็นสิ่งที่องค์กรคาดหวังและต้องการในการดาเนินงานในปัจจุบันและอนาคต การบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรได้จะต้องมีสิ่งสนับสนุนที่สอดคล้องได้แก่การมีวิสัยทัศน์และสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Vision and share vision) การกำหนดพันธกิจ (Mission)ที่ครอบคลุมเหมาะสม การกำหนดเป้าประสงค์ (Goals) ที่ชัดเจนในแง่ของปริมาณหรือพื้นที่ปฏิบัติการหรือการสร้างคุณค่าแก่องค์กรและการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร (Objective) ในแต่ละห้วงเวลาของการปฏิบัติการตามแผนกลยุทธ์
จุดมุ่งหมาย (Purpose) หมายถึงสิ่งที่องค์กรต้องการในอนาคตสามารถกำหนดได้ 4 ประการเรียงลำดับจากการเจาะจงน้อยที่สุดไปถึงมากที่สุดคือ
- วิสัยทัศน์ (Vision)
- พันธกิจ (Mission)
- เป้าหมายหรือเป้าประสงค์ (Goals)
- วัตถุประสงค์ (Objectives)
วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึงจินตภาพเกี่ยวกับองค์กรในอนาคตเป็นการชี้ถึงทิศทางที่องค์กรต้องการจะมุ่งไป วิสัยทัศน์จะอธิบายความท้าทายทะเยอทะยานสำหรับอนาคตขององค์กรแต่ไม่ได้ระบุถึงวิธีการที่จะนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้นอย่างชัดเจน วิสัยทัศน์จะไม่เปลี่ยนบ่อยๆถ้าใน 4 ปียังทำได้ไม่สำเร็จก็ให้คงวิสัยทัศน์ไปก่อน
หรือกล่าวได้ว่าอีกนัยหนึ่ง วิสัยทัศน์คือทิศทางขององค์กรที่จะดาเนินการซึ่งจะต้องแสดงให้เห็นปรัชญาและค่านิยมหลัก
พันธกิจองค์กรเป็นข้อความเกี่ยวกับการกำหนดกิจกรรมหลักและลักษณะงานสำคัญขององค์กรเพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ที่องค์กรกำหนดขึ้น พันธกิจเป็นภารกิจพื้นฐานขององค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติหรือต้องการพัฒนา
เป้าประสงค์คือผลลัพธ์สุดท้ายที่องค์กรปรารถนาให้บรรลุในสิ่งที่คาดหวังในแผนกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ขององค์กรและวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์ที่ดีต้องมีข้อมูลรอบด้านเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการ
การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรค ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนที่ได้จาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยองค์การจะต้องกาหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์กรที่สุด ผู้บริหารต้องพยายามตอบคาถามว่าทาอย่างไรองค์การจึงจะไปถึงเป้าหมายที่ได้กาหนดไว้ได้ โดยใช้ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การกาหนดเป็นกลยุทธ์
กลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate Strategy)
เป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและบ่งบอกถึงกลยุทธ์โดยรวม และทิศทางในการแข่งขันขององค์การว่า องค์การจะมีการพัฒนาไปสู่ทิศทางใด จะดาเนินงานอย่างไร และจะจัดสรรทรัพยากรไปยังแต่ละหน่วยขององค์การอย่างไร เช่น การดาเนินธุรกิจแบบครบวงจร การขยายตัวไปในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เป็นต้น
1. มุ่งเน้นการเติบโต (Growth Strategy)
1.1 โตในอุตสาหกรรมเดิม Growth แบบ Concentration บริษัทจะต้องมีความแข็งแรงพอสมความอุตสาหกรรมมีความเย้ายวนสูงอยู่
1.1.1 โตครบวงจรในแนวดิ่ง (Vertical Integration) เป็นการขยายตัวของธุรกิจตามแกนตั้งใน Value Added Chain
1.1.2 โตครบวงจรในแนวระนาบ (Horizontal Integration) เป็นการขยายตัวในธุรกิจเดิมขยายไปยังตลาดใหม่
1.2 โตในอุตสาหกรรมใหม่ Growth แบบ Diversification อุตสาหกรรมเริ่มอิ่มตัวขณะที่องค์กรยังมีความแข็งแรงอยู่มาก จึงเริ่มผันตัวเองอุตสาหกรรมอื่นที่เย้ายวนมากกว่า
2. การคงที่หรืออยู่กับที่ (Stable Strategy) บริษัทไม่มีการลงทุนเพิ่ม เคยเป็นอย่างไรก็ยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ ต้องมีผลตอบแทนเป็นที่พึงพอใจ กับบริษัทที่มีปัจจัยแวดล้อมทั้งในแง่โอกาสและอุปสรรค ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อดี ประหยัดการลงทุน ต้นทุนต่า เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับองค์กร เป็นกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจ ข้อเสีย กลยุทธ์ต่างๆต้องมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ถ้าหยุดนิ่งนานๆ คู่แข่งลอกเลียนแบบได้ง่าย จะทาไม่แตกต่างจากคู่แข่ง
3. การหดตัว (Retrench Strategy) เป็นทิศทางขององค์กรที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่าหรืออ่อนแอ เมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน จะไม่ทุ่มเททรัพยากรลงไป ข้อดี สามารถตัดค่าใช้จ่ายต่างๆและได้เงินทุนคืนข้อเสียหาคนมาซื้อต่อยากถึงหาได้ก็อาจขายในราคาที่ขาดทุน
2.2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)
เป็นการกาหนดกลยุทธ์ในระดับที่ย่อยลงไป จะมุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันขององค์การกับคู่แข่ง และระบุถึงวิธีการที่องค์การจะใช้ในการแข่งขัน มุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น โดยอาจรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันไว้ด้วยกัน ภายในหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Business Unit - SBU) เดียวกัน กลยุทธ์ระดับธุรกิจของ SBU นี้จะมุ่งการเพิ่มกำไร (Improving Profitability) และขยายการเติบโต (Growth) ให้มากขึ้น บางครั้งจึงเรียกกลยุทธ์ในระดับนี้ว่ากลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 กลยุทธ์
1. กลยุทธ์ผู้นาด้านต้นทุน (Cost – Leadership Strategy) มุ่งเน้นการมีต้นทุนต่า ลดต้นทุนในทุกๆด้าน
2. กลยุทธ์ผู้นาด้านความแตกต่าง (Differentiation Strategy) การสร้างความแตกต่าง
3. กลยุทธ์ขายของถูก – สนามเล็ก (Focus Group Strategy) กลยุทธ์ที่เน้นการขายของถูก ใน Niche market ซึ่งทาไม่ง่ายเพราะตลาดไม่ใหญ่พอตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม ข้อดีคือประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่าย หากลยุทธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย ข้อเสีย ตลาดเล็กมาก รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่มีอยู่
4. กลยุทธ์ขายความแตกต่าง – สนามเล็ก (Differentiation focus strategy) เน้นการขายความแตกต่างให้ niche market ข้อดี บริการเฉพาะกลุ่มสร้างความพึงพอใจได้ง่ายสามารถเรียกราคาได้สูง ข้อเสียเป็นการจากัดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากเกินไป ทาให้รายได้น้อยลงอาจไม่พอกับค่าใช้จ่าย
2.3. กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy)
เป็นการกาหนดกลยุทธ์ที่ครอบคลุมวิธีการในการแข่งขัน แก่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงาน (Function) ต่าง ๆ มุ่งเน้นให้แผนกงานตามหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ขึ้นมา โดยอยู่ภายใต้กรอบของกลยุทธ์ระดับองค์การและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ เช่น แผนการผลิต แผนการตลาด แผนการดาเนินงานทั่วไป แผนการด้านทรัพยากรบุคคล แผนการเงิน เป็นต้น
ตัวอย่างกลยุทธ์
ตัวอย่างธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน |
||||||||||||||||
กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) กลยุทธ์ที่เลือกใช้ คือ กลยุทธ์การขยายตัวในแนวตั้งโดยการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้น หรือ จับกลุ่มลูกค้าที่กำลังจะเติบโตในอุตสาหกรรมนี้ โดย - มุ่งตลาดเฉพาะส่วนและหากลยุทธ์ในการเจาะตลาดให้มากขึ้น เพิ่มยอดขายจากลูกค้ากลุ่มเดิม คือ กลุ่มแม่บ้าน คนทำงาน โดยการพัฒนารสชาติสินค้าใหม่ๆ ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้า - รักษาลูกค้ากลุ่มเดิมและขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ - ขยายตัวโดยสร้างพันธมิตรทางการค้า เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy Formulation) น้ำพริกแม่อุษา เลือกใช้กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership Strategy) เนื่องจากน้ำพริกแม่อุษามีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำมาก เมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ คือ - ปรับปรุงและควบคุมกระบวนการผลิตการดำเนินงาน เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า รวมทั้งทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ด้วยต้นทุนต่ำ เพื่อให้เกิด Economy of Scale ในอนาคต - พัฒนาการบริหารวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง เช่น ซื้อวัตถุดิบจากผู้จัดจำหน่ายที่ให้ราคาต่ำสุดด้วยคุณภาพที่ไม่แตกต่างจากเดิม หรือ ผู้จัดจำหน่ายทีมีส่วนลดสินค้ามากที่สุด เป็นต้น กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategy Formulation) จากสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจน้ำพริก ทำให้น้ำพริกแม่อุษา ต้องกำหนดกลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับองค์กรและระดับธุรกิจ เพื่อให้บริษัทดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยมีรายละเอียดของกลยุทธ์ดังนี้ กลยุทธ์ด้านการตลาด (Marketing Strategy) กลยุทธ์ด้านสินค้า - เน้นด้านคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ซึ่งสินค้าของน้ำพริกแม่อุษา ได้รับเครื่องหมาย อ.ย. ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดดำเนินการ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์มีการปิดผนึกอย่างดี และฉลากสินค้าที่มีรายละเอียดชัดเจน เชื่อถือได้ และมีบาร์โค๊ดกำกับสินค้า กลยุทธ์ด้านราคา - ปัจจุบันใช้กลยุทธ์ราคาต่ำ โดยจำหน่ายสินค้าในราคาที่ถูกกว่ายี่ห้ออื่น กลยุทธ์ด้านการจำหน่าย - จะเน้นจัดจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายเป็นหลัก เนื่องจากสามารถกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง กลยุทธ์ด้านส่งเสริมการขาย - สร้างตราสินค้าน้ำพริกแม่อุษาให้ผู้บริโภครู้จักมากขึ้น โดยออกร้านตามงานหรือเทศกาลต่าง ๆ ที่หน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงพาณิชย์, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฯลฯ กลยุทธ์ด้านการดำเนินงาน (Operation Strategy) - จัดหาสถานที่ประกอบการใหม่ เนื่องจากสถานประกอบการเดิมคับแคบ อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยและแหล่งชุมชน ทำให้ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตรองรับการขยายการตลาดได้ - ใช้เครื่องมือบรรจุน้ำพริกแทนการใช้กำลังคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน - จัดตารางการขนส่งให้เหมาะสม โดยพยายามจัดส่งให้ลูกค้าที่มีเส้นทางเดียวกัน ในวันและเวลาเดียวกัน / ลูกค้าต่างจังหวัดเลือกวิธีการขนส่งผ่านระบบ รสพ. หรือ บขส. - กลยุทธ์ด้านการเงิน (Financial Strategy) - จัดทำงบการเงินต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ชัดเจน และถูกต้องทุกเดือน กลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management Strategy) - เน้นการจ้างพนักงานที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากสะดวกในการเดินทางและสามารถทำงานล่วงเวลาได้หากมีปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น |
||||||||||||||||
ตัวอย่างธุรกิจน้ำยาปรับผ้านุ่ม กลยุทธ์ระดับองค์กร ( Corporate Strategy ) ดำเนินธุรกิจ โดยใช้กลยุทธ์เติบโต ทั้งนี้กิจการจะมีโครงสร้างองค์กรที่ไม่ซับซ้อน แยกอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามส่วนงาน รวมถึงการจัดระบบการบริหารงานภายในที่มีการกระจาย เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน กลยุทธ์ระดับธุรกิจ ( Business Strategy ) สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง เนื่องจากปัจจุบัน สภาพการแข่งขัน ยังมีน้อย ประกอบกับการเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งรายย่อยอื่นเป็นไปได้ง่ายหากสามารถรู้ขั้นตอนและกระบวนการผลิต กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategy ) กลยุทธ์ด้านการตลาด
กลยุทธ์ด้านการผลิต
กลยุทธ์ด้านการเงิน
|
||||||||||||||||
ตัวอย่างธุรกิจโรงพิมพ์ กลยุทธ์ระดับบริษัท ใช้กลยุทธ์เติบโต โดยปรับปรุงคุณภาพงาน และลงทุนเครื่องพิมพ์เพิ่ม กลยุทธ์ระดับธุรกิจ พัฒนาคุณภาพงานพิมพ์ โดยมีต้นทุนต่ำสุด กลยุทธ์ระดับหน่วยงาน - การตลาด ทำการตลาดเชิงรุก ด้วยการกระตุ้นความต้องการสิ่งพิมพ์ในตลาดให้มากขึ้น - การผลิต ปรับปรุงขบวนการผลิตให้ทันสมัย และมีต้นทุนต่ำลง - การเงิน มีวินัยทางการเงิน รู้จักประหยัด และเน้นการขายเงินสด - การจัดการ พัฒนาทีมงาน กำหนดหน้าที่งานแต่ละตำแหน่ง แบ่งงานและมอบหมายงานให้เหมาะสม ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง |
||||||||||||||||
ตัวอย่างธุรกิจฟาร์มสุกร เนื่องจากเป็นกิจการขนาดเล็ก จึงกำหนดได้เพียงกลยุทธ์ระดับธุรกิจ และระดับปฏิบัติการ กลยุทธ์ระดับธุรกิจ และระดับปฏิบัติการ คือ - เน้นควบคุมต้นทุนในการบริหารจัดการให้ต่ำ - ผลิตลูกสุกรที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 8 กก. |
||||||||||||||||
ตัวอย่างธุรกิจโรงน้ำแข็ง กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) เลือกใช้กลยุทธ์เติบโตแบบคงที่ ไม่มีการลงทุนเพิ่ม แต่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้เป็นผู้ผลิตน้ำแข็งที่มีคุณภาพสูง กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) เสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิต การใช้กำลังการผลิตให้เต็มที่ และความสะอาด ซึ่งจะส่งผลให้กิจการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำในระยะยาว กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional strategy) การผลิต - พัฒนาระบบการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน G.M.P. การตลาด - ขยายตลาดให้ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจโรงแรม และรีสอร์ทภายในจังหวัด - ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงมาตรฐานในการผลิต และความสะอาดของน้ำแข็งที่มี สูงกว่าของคู่แข่ง การจัดการ - ปรับปรุงระบบค่าตอบแทนให้เป็นมาตรฐาน การเงิน - ปรับปรุงระบบบัญชีและการเงินให้มีมาตรฐาน |
สิ่งนี้เป็นเรื่องใหม่และเรื่องใหญ่สำหรับระบบการบริหารคุณภาพ ในอดีตการจัดทำระบบเพียงมุ่งเน้นเพื่อให้ได้การรับรองเพราะไม่ได้กำหนดสิ่งที่ต้องการจากระบบการบริหาร
องค์กรโดยทั่วไปจึงสนใจเฉพาะ shall ที่มาตรฐานกำหนด และไม่รู้ว่าทำระบบการบริหารคุณภาพไปทำไมเนื่องจากไม่ได้กำหนดสิ่งที่ต้องการจากระบบการบริหารคุณภาพ
ด้วยเหตุผลนี้ระบบการบริหารคุณภาพจึงถูกจัดวางและจัดการโดยไร้ทิศทางและไม่สารถบอกได้ว่า ระบบการบริหารคุณภาพ 9001 นี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ควรปรับปรุงตรงส่วนไหน ใครต้องทำอะไรอย่างไร แค่ไหน จึงทำให้ระบบการบริหารคุณภาพ 9001 ไม่มีประสิทธิผล ไม่น่าในใจ และไม่มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจเท่าที่ควรจะเป็น
ข้อกำหนดจึงต้องการให้องค์กรกำหนด "ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ต่อระบบการบริหารคุณภาพ " เพื่อเป็นเข็มมุ่งในการจัดวางระบบการบริหาร และมีข้อกำหนดเรื่องความเสี่ยงและโอกาส (6.1) ในการรับรองว่าระบบจะได้ถูกจัดวางเพื่อให้ได้ตามผลลัพธ์นี้
ผู้ที่กำหนดอนุมัติ ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ต่อระบบการบริหารคุณภาพ ควรเป็นผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้ชัดเจนว่าระบบการบริหารคุณภาพที่ดีสำหรับองค์กรควรเป็นอย่างไร รวมถึงเพื่อให้ได้การสนับสนุนและเป็นเนื้อเดียวกับการบริหารประจำวันในธุรกิจ
ตัวอย่างของผลลัพธ์ที่คาดหวัง ที่องค์กรควรทำการกำหนดอย่างเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ
ตัวอย่างผลลัพธ์ที่คาดหวังในมุมพนักงาน
- ทำให้เกิดความพอใจในการทำงาน
- พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องคุณภาพมากขึ้น
- การปฏิบัติงานมีระบบ และมีขอบเขตที่ชัดเจน
- พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม
- ทำงานเหนื่อยน้อยลง ได้ผลงานมากขึ้น
- ลดการทำงานที่ไม่จำเป็น
ตัวอย่างผลลัพธ์ที่คาดหวังในมุมองค์กร
- สร้างความยั่งยืนและเชื่อถือได้จากระบบการบริหารงาน
- มีข้อมูลสารสนเทศอย่างเพียงพอเพื่อการตัดสินใจ
- สร้างสมรรถนะในการแข่งขัน
- มีความเร็วในการตอบสนองตลาด
- สร้างผลกำไร
- ลดการเกิดปัญหาซ้ำซาก
- มีประสิทธิภาพการผลิต
- ลดเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
- ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เข้าสู่ตลาดใหม่ๆ
- ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าเชื่อถือ
- ประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน
ท่านควรกำหนให้เฉพาะเจาะจงที่สุด เพื่อให้พนักงานทั้งหมดขององค์กร เป็นไปในทางเดียวกับ ในการจัดวางระบบ ดำเนินการระบบ ตรวจสอบและปรับปรุง
กลุ่มปัจจัยแวดล้อมภายนอกมีอะไรบ้างที่ควรได้รับการพิจารณา
ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หมายถึงสิ่งที่รายล้อมธุรกิจที่สามารถมีผลต่อองค์กร ปัจจัยแวดล้อมที่ควรพิจารณาได้แก่
- สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Environment) เช่นรายได้ต่อหัวประชากรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศราคาน้ำมันเป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) เช่นสภาพสังคมความสัมพันธ์ในชุมชนเป็นต้น- สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม (Cultural Environment) เช่นค่านิยมการศึกษาความเชื่อ
ขนบธรรมเนียมประเพณีการบริโภคศิลปะเป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมประชากรศาสตร์ (Demographical Environment) เช่นอัตราเกิดอัตราตายความหนาแน่นของประชากรเป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment) เช่นนโยบายทางการเมืองเสถียรภาพทางการเมืองการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคส่วนเป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมด้านกฎหมาย (Legal Environment) เช่นพระราชกฤษฎีกาพระราชกำหนดกฎกระทรวงข้อบัญญัติกฎระเบียบข้อบังคับเป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมภาครัฐ (Governmental Environment) ได้แก่องค์กรภาครัฐต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรเช่นส่วนราชการอื่นๆรัฐวิสาหกิจเป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Environment) เช่นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเป็นต้น
- แนวโน้มทางการแข่งขัน (Competitive Trends) การดำเนินงานขององค์กรซึ่งประกอบกิจการหรือมีลักษณะงานคล้ายคลึงกับองค์กรซึ่งส่งผลกระทบหรือได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจากการดำเนินงานขององค์กร
กลุ่มปัจจัยแวดล้อมภายในมีอะไรบ้างที่ควรได้รับการพิจารณา
ปัจจัยแวดล้อมภายใน หมายถึงกิจกรรมต่างๆภายในองค์กรซึ่งองค์กรสามารถควบคุมได้และมีผลทำให้การดำเนินงานภายในองค์กรประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ซึ่งหมายรวมถึงทุกฝ่าย แผนก กระบวนการ กิจกรรม เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ เครื่องมือวัด พนักงาน เงินทุน ความรู้ สถานที่ตั้ง ทุกส่วนในองค์กร เป็นต้น
- จุดแข็ง (Strengths) หมายถึงลักษณะเด่นของการดำเนินงานหน้าที่ต่างๆภายในองค์กรลักษณะเช่นนี้เป็นปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จขององค์กร
- จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึงการดำเนินงานองค์กรไม่สามารถกระทำได้ดีเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จขององค์กรองค์กรจะต้องหาทางแก้ไขจุดอ่อนที่เกิดขึ้น
ปัจจัยแวดล้อมภายในที่ควรพิจารณา
- Man บุคลากรรวมถึงผู้บริหารขององค์กร
- Money งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรแล้ว
- Material วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเทคโนโลยี
- Management ระบบบริหารจัดการทุกด้านเช่นการบริหารงานการเงินพัสดุงบประมาณทรัพยากรบุคคลเป็นต้น
ตัวอย่างประเด็น
ตัวอย่างอุตสาหกรรมน้าผักและผลไม้พร้อมดื่ม |
|
ตัวอย่างปัจจัยภายใน |
ตัวอย่างปัจจัยภายนอก |
ภัยคุกคาม 1. ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสูง 2. ความหลากหลายของสายผลิตภัณฑ์ยังมีน้อยกว่าคู่แข่ง 3. ส่วนแบ่งตลาดยังไมํสามารถเป็นผู้นำตลาดได้ 4. เครือข่ายการจัดส่งยังไมํครอบคลุมทุกพื้นที่ 5. รสชาติที่ผู้บริโภคต้องการนั้นยังวางจำหน่ายน้อยกวำคูํแขํงขัน 6. Brand awareness ในตัวผลิตภัณฑ์ยังมีต่ำ 7. การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างยังมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น รูปแบบการจัดจ้าหน่ายเป็นแบบดั้งเดิม 8. ผู๎บริโภคให้ความสนใจในการบริโภคน้าผลไม้ 100% มากกว่า โอกาส 1.ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของตราสินค้าเป็นที่เป็นที่รู้จักของลูกค้า 2. คุณภาพของสินค้าสูง 3. ความหลากหลายของสายผลิตภัณฑ์ 4. กระบวนการผลิต ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล 5. มีการจัดแคมเปญร่วมกับโรงพยาบาล และ ศูนย์สุขภาพตำงๆ 6. มีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการตลาดอยำงตํอเนื่อง 7. มีกำลังการผลิตที่เพียงพอ 8. ทรัพยากรในการผลิตมีอยู่มากมาย 9. บริษัทมีการสร้างพันธมิตรธุรกิจทำให้บริษัทมีความแข็งแกรํงและมีความสามารถในแขํงขัน 10. มีทีมงานที่แข็งแกรํงในการวิจัยและพัฒนาสินค้า 11. ผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องดื่มที่ให้คุณคำและประโยชน์ต่อสุขภาพ |
ภัยคุกคาม 1. วัตถุดิบ ผัก และ ผลไม้ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตตามฤดูกาล ปริมาณและคุณภาพจึงไม่คงที่ทำให้ยากต่อการควบคุมต้นทุนการผลิต 2. อุตสาหกรรมน้ำผักและผลไม้พร้อมดื่ม มีอัตราการแข่งขันที่รุนแรง การเข้าออกในอุตสาหกรรมทำได้โดยง่ายและมีความแตกต่างกันด้านผลิตภัณฑ์น้อยมาก 3. สินค้าทดแทนที่มีราคาต่ำกว่าและความหลากหลายของสินค้าทดแทน ท้าให้ผู้บริโภคมีอำนาจในการต่อรองสูง 4. สภาพเศรษฐกิจที่ความผันผวนทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ไม่สามารถตั้งราคาสูงได้ 5. ความไม่แน่นอนทางด้านการเมือง ส่งผลต่อกำลังซื่อของผู้บริโภคมีการจับจ่ายใช้สอยอย่างระมัดระวัง โอกาส 1.การดำเนินชีวิตประจ้าวันที่เร่งรีบและความเครียดจากการท้างาน ท้าให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพโดยการหันมาดื่มน้ำผักและผลไม้ 2. อัตราการเจริญเติบโตของตลาดน้ำผลไม้ยังมีการเติบโตที่ต่อเนื่อง 3. ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรทางการเกษตรซึ่งมีผัก และ ผลไม้มากมายหลายชนิดและหมุนเวียนตลอด ทุกฤดูกาล 4. โอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผู้บริโภคนิยมทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยคำนึงถึงรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น 5. รัฐบาลสนับสนุนให้ผู้บริโภคนิยมดื่มน้าผักและผลไม้มากขึ้น เพื่อสุขภาพและพลานามัยที่ดี 6. ผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องดื่มที่ให้คุณค่าทางอาหาร 7. ตลาดยังเปิดกว้างสำหรับเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ 8. คำนิยมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง ให้ความสนใจกับสินค้าที่ใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น |
ธนาคาร abc สาขา ซอยนานา |
|
ตัวอย่างปัจจัยภายใน |
|
ภัยคุกคาม - มีจานวนพนักงานไม่เพียงพอต่อการให้บริการ โดยดูจากจานวนคิวที่รอในแต่ละช่วงเวลาและการที่ลูกค้าร้องเรียนเข้ามาในช่องทางต่างๆ - ลักษณะของผลิตภัณฑ์ทางการเงินสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือข้อกาหนดต่าง ๆ ทาให้ต้องหันมาเน้นการบริการให้เหนือกว่าคู่เพื่อให้เกิดความประทับใจและรักษาลูกค้าในระยะยาว - ธนาคาร มีกลุ่มธุรกิจในเครือ GE ที่หลากหลาย ทาให้การควบคุมทำได้ลำบาก เกิดต้นทุนที่สูงขึ้นจากการดำเนินงานในธุรกิจที่ไม่ถนัดส่งผลต่อการบริการที่ติดขัดไม่คล่องตัวในการให้บริการ โอกาส - ธนาคารมีเงินทุนจานวนมาก บริษัท จีอี มันนี่ ประเทศไทย เป็นบริษัทแรกที่นาเสนอสินเชื่อเพื่อการซื้อสินค้าแบบเงินผ่อนเป็นรายแรกในประเทศไทย ทาให้มีความได้เปรียบจากประสบการณ์ที่มากกว่าบริษัทอื่นเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ - ธนาคารมีการสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Centre) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้าง และจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้า ทาให้การวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าที่มีความซับซ้อนสามารถทาได้รวดเร็วและละเอียดขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างทันท่วงที เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ - ธนาคารมีบุคลากรในการบริการทางการเงินที่เพียบพร้อมเพื่อสนองความต้องการทางการเงินของกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน และลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย สินเชื่อรถยนต์สาหรับรถเก่า สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ สินเชื่อรถมอเตอร์ไซด์ บัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการแบบครบวงจร
|
ภัยคุกคาม - มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในธุรกิจธนาคาร - มีคู่แข่งจานวนมากจึงทาให้มีทางเลือกในการใช้บริการมาก เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยธนาคาร ธนาคารธนชาต ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ธนาคารทิสโก้ ธนาคารเกียรตินาคินและธนาคารสินเอเชีย เป็นต้น
โอกาส - ธนาคารเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องใช้เพื่ออานวยความสะดวกด้านการเงินในการทาธุรกิจ - ภาพลักษณ์ธนาคารมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นหลังจากได้ GE เข้ามาถือหุ้น - บริษัทมีพันธมิตรทางธุรกิจเป็นจานวนมาก ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด ) มหาชน ( , ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จากัด )มหาชน (, บริษัท เพาเวอร์ บาย เป็นต้น สินค้าของพันธมิตรเป็นที่ต้องการของลูกค้า - ประชาชนมีทัศนะคติในการบริหารการเงินมากขึ้น |
คำถามที่มักถามบ่อย
ถาม ผู้บริหารระดับสูงควรมีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจองค์กรและบริบทองค์กรหรือไม่
ตอบ มาตรฐานไม่ได้กำหนดไว้ แต่คงเป็นการผิดธรรมชาติในการทำธุรกิจมากๆ หากกระบวนการในการทำความเข้าใจองค์กรและบริบทองค์กรไม่ได้ไม่ได้รับการใส่ใจหรือได้รับการตัดสินใจ หรือไม่มีการรับรู้โดยผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปแล้วงานนี้มักกระทำโดยผู้บริหารอาวุโสและผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ไม่ใช่พนักงานในระดับปฏิบัติการโดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยภายนอก ความสามารถในการระบุปัจจัยภายในและภายนอกนี้อยู่ที่วิธีการคิดและการมอง แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ผลการดำเนินการทางธุรกิจจึงประสบความสำเร็จและความล้มเหลวที่่ต่างกัน
ถาม ต้องเป็นเอกสารหรือไม่
ตอบ ข้อกำหนดไม่ได้กล่าวไว้ และจริงแล้ว ปัจจัยภายนอกและภายในไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเป็นเอกสารแต่จะอยู่ในเอกสารการประเมินโอกาสและความเสี่ยง ตามข้อ 6.1 เพราะเราระบุปัจจัยเพื่อทำการประเมินความเสี่ยงและโอกาส ด้วยเหตุนี้หากไม่ได้ระบุปัจจัยเพื่อทำการพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสจะขาดหลักฐานในการแสดงให้เห็นว่าได้มีการกระทำตามข้อกำหนดโดยปริยาย
การกำหนดความเสี่ยงมีความแตกต่างจากการประเมินความเสี่ยง ดังนั้นการพูดคุยระหว่างการพูดคุยประชุมทางธุรกิจ ย่อมใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดพิจารณาปัจจัยภายนอกและภายในรวมถึงพิจารณาผลของความไม่แน่นอนดังกล่าว (นิยามความเสี่ยง)
โดยการทำการสอบถาม พูดุคุย ปรึกษาหารือ กับผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดปัจจัยภายนอกและภายใน โดยให้อธิบายถึงสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน ความท้าทาย และความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญและระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร เพื่อประเมินว่าได้มีตระหนักรู้ และได้มีการพิจารณาและดำเนินการอย่างเหมาะสมหรือไม่จากสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกับปัจจัยภายนอกและภายใน
• พูดคุยโดยให้อธิบายว่าองค์กรอยู่ที่ลำดับใดในการแข่งขัน ให้อธิบายขนาดและการเติบโตขององค์กร เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรในอุตสาหกรรมหรือตลาดเดียวกัน รวมทั้งจำนวนและประเภทของคู่แข่ง
• พูดคุยโดยให้อธิบายว่าอะไรคือปัจจัยหลัก ที่กำหนดความสำเร็จขององค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่สำคัญ ซึ่งมีผลต่อสถานะการแข่งขันขององค์กร รวมถึงโอกาสสำหรับการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือ
• พูดคุยโดยให้อธิบายว่าแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีอยู่สำหรับข้อมูลเชิงเปรียบเทียบและเชิงแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลสำคัญที่มีอยู่สำหรับข้อมูลเชิงเปรียบเทียบจากอุตสาหกรรมอื่นมีอะไรบ้าง และมีข้อจำกัดอะไรบ้างในการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ (ถ้ามี)
• พูดคุยโดยให้อธิบายว่าความท้าทาย และความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ด้านธุรกิจ ด้านการปฏิบัติการ และด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรคืออะไร
• พูดคุยโดยให้อธิบายว่าความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนขององค์กรมีอะไรบ้าง
• พูดคุยโดยให้อธิบายว่าส่วนประกอบสำคัญของระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ รวมทั้งกระบวนการประเมินผลและกระบวนการเรียนรู้จากสิ่งนี้คืออะไร
หมายเหตุ : ก่อนการตรวจประเมินให้ผู้ตรวจประเมินทำการศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า เพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอ เพื่อทำการพูดคุย ทำการตรวจทานความเพียงพอเหมาะสม ของการกำหนดปัจจัยภายนอกภายในได้ ข้อมูลที่จำต้องรู้ จำต้องมีก่อนการตรวจเช่น
ให้ท่านทำการศึกษาข้อมูล เอกสาร ต่างๆ เช่นหนังสือรายงานผลประกอบการประจำปี เวปไซด์ นโยบายบริษัทแม่ และ บันทึกปัญหาต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรเช่น คำติชมบ่นของลูกค้าที่ผ่านมา ผลการตรวจวัดสมรรถนะ ปํญหาในการผลิต ปัญหาส่วน ข้อมูลจากเอกสารที่มีอยู่เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ไม่ว่าด้านวัตถุดิบ ด้านการตอบสนองลูกค้า ด้านคู่แข่งขัน ด้านเทคโนโลยี ด้านจากกฎหมาย ด้านผู้ส่งมอบ ด้านการตลาดและการขาย ด้านการผลิต ด้านคลังสินค้า ด้านการจัดการสินค้าคงคลัง ด้านการขนส่ง ด้านระบบสารสนเทศ ด้านการจัดการองค์กร ด้านการบริหารงานบุคคล เป็นต้น