องค์กรต้องพิจารณากำหนดขอบเขตและการนำระบบการบริหารคุณภาพ ไปประยุกต์ใช้ เพื่อจัดทำขอบข่าย
ในการกำหนดขอบข่าย องค์กรต้องคำนึงถึง
องค์กรต้องทำการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดของของมาตรฐานสากลฉบับนี้ในกรณีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ ในขอบข่ายของระบบบริหารคุณภาพที่ได้พิจารณากำหนด
ขอบข่ายของระบบบริหารคุณภาพขององค์กรต้องมีพร้อมอยู่และได้รับการธำรงรักษาเป็นเอกสารสารสนเทศ ขอบข่ายต้องระบุ ชนิดของผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุม และให้ถ้อยแถลงสำหรับการละเว้นข้อกำหนดใดๆของข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ ที่องค์กรพิจารณากำหนดว่าไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในขอบข่ายการรับรองระบบบริหารคุณภาพ
การสอดคล้องกับมาตรฐานสากลฉบับนี้ อาจใช้อ้างได้กรณีที่ ข้อกำหนดที่พิจารณากำหนดว่าไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ไม่มีผลกระทบต่อความสามารถหรือความรับผิดชอบในการทำให้มั่นใจความสอดคล้องข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และบริการ และ การทำให้ได้มาที่ซึ่งความพึงพอใจลูกค้า
……………………………………………………………………………………….
ข้อกำหนดนี้อาจถือได้ว่าเป็นข้อกำหนดใหม่ ข้อกำหนดเดิมที่เทียบเคียง 4.2.2
การกำหนดขอบข่ายของระบบ ในอดีตองค์สามารถกำหนดขอบข่ายตามความต้องการขององค์กรเอง เนื่องจากมาตรฐานฉบับเดิมไม่ได้กำหนดเงื่อนไข ขีดจำกัด แนวทางในการกำหนดขอบข่ายการนำระบบไปประยุกต์ใช้
มาตรฐานได้ระบุข้อกำหนดในการระบุขอบข่ายที่จำนำมาตรฐานไปประยุกต์ใช้ (รายละเอียด ชนิดของผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุม ซึ่งรวมถึง หน่วยงานขององค์กร, ฟังชั่น, ขอบเขตทางกายภาพ)
การพิจารณานำระบบไปประยุกต์ใช้นี้ ต้องมาจากผลการพิจารณาจาก
ขอบข่ายที่กำหนดนี้ต้องได้รับการธำรงรักษาเป็นเอกสารสารสนเทศ โดยระบุ ชนิดของผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุม และให้ถ้อยแถลงสำหรับการละเว้นข้อกำหนดใดๆของข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้
หากท่านพบปัจจัยภายนอก/ปัจจัยภายใน หรือพบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสต่างๆ ระหว่างการวิเคราะห์องค์กร ท่านคงต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาเพื่อจัดวางระบบการบริหารคุณภาพให้สะท้อนกับการบริหารธุรกิจของท่านที่ท่านประสบอยู่ |
ข้อกำหนดฉบับเดิมได้กล่าวเรื่องนี้ไว้เพียงบรรทัดเดียว แต่ฉบับนี้ได้ให้ความสำคัญกับขอบข่ายการนำระบบไปประยุกต์ใช้เป็นอย่างมาก และท่านจะกำหนดได้ต่อเมื่อท่านได้เข้าใจบริบทองค์กรท่านแล้วเท่านั้น
คำว่าขอบข่ายนี้ของระบบ QMS แท้จริงก็คือกระบวนการขององค์กรหรือส่วนใดขององค์กรที่จะต้องรวมอยู่ในระบบการบริหารคุณภาพ และต้องอยู่เป็นเอกสาร
และขอบข่ายอีกนัยยะคือ ข้อกำหนดiso9001:2015 ที่ท่านต้องนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งหากประยุกต์ใช้ได้ท่านต้องนำไปประยุกต์ใช้เว้นแต่ว่าท่านพิสูจน์ได้ว่า หากไม่ประยุกต์ใช้ข้อกำหนดดังว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความสามารถหรือความรับผิดชอบในการทำให้มั่นใจความสอดคล้องข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และบริการ และ การทำให้ได้มาที่ซึ่งความพึงพอใจลูกค้า (กล่าวง่ายๆคือท่านไม่สามารถการละเว้นข้อกำหนดได้ตามใจชอบ)
ขอบข่ายนี้เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะ ท่านเป็นกรอบในการวางระบบและใช้เป็นส่วนสำคัญกับการรับรองระบบกับผู้ให้การรับรองของท่าน เพื่อกำหนดกรอบ กำหนดผลิตภัณฑ์ กำหนดกระบวนการ กำหนดสถานที่ที่ระบบจะไปครอบคลุมถึง
ขอบ ข่ายจะยาวจะสั้น จะละเอียดมากน้อยขนาดไหนแล้วแต่ท่านมีข้อจำกัดที่ไม่ใช้ระบบมากน้อยขนาดไหน ขอบข่ายท่านจะยาวขึ้น มีรายละเอียดต่างๆของกระบวนการ รายละเอียดของผลิตภัณฑ์มากขึ้น หากท่านไม่ได้ประยุกต์ใช้ระบบการบริหารคุณภาพกับทั้งหมดทั่วทั้งองค์กร
ท่านไม่จำเป็นต้องระบุให้ทุกผลิตภัณฑ์ ทุกบริการ ทุกสาขา ทุกระบวนการ รวมอยู่ในขอบข่ายของระบบการบริหารคุณภาพ หากท่านไม่ประสงค์ ท่านยังคงเป็นคนกำหนดขอบข่าย เพียงแต่ต้องมีเหตุผลเพียงพอ ที่จะไม่รวมหรือรวมเข้าในระบบ หากมีประโยชน์ สำหรับการจัดการธุรกิจของท่านในมุมต่างๆตามบริบท องค์กร ท่านควรนำระบบการบริหารคุณภาพไปประยุกต์เพื่อเป็นโอกาสต่อการดำเนินธุรกิจ |
ขอบข่ายของการนำระบบปฏิบัติใช้ควรได้รับการพิจารณาทบทวนเป็นประจำ และปรับเปลี่ยนได้ในภายหลัง ซึ่งแปรผันตามปัจจัยต่างๆที่กำหนดไว้ข้างต้น
ข้อกำหนดไม่ได้บังคับให้ต้องมีกระบวนการในการจัดทำขอบข่ายของระบบ หรือกำหนดว่าจะต้องทบทวนปรับปรุงให้ทันสมัยเมื่อไหร่ อย่างไร แต่จะเป็นการดี ถ้าท่านทำการกำหนดเรื่องนี้ไว้สำหรับ ISO9001:2015
จะกำหนดขอบข่ายไว้ที่เอกสารไหนดี เนื่องจากคู่มือคุณภาพเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น มาตรฐาน ISO9001:2015 ไม่ได้กำหนดว่าต้องระบุขอบข่ายของระบบการบริหารคุณภาพนี้ไว้ที่เอกสารใด และ คู่มือคุณภาพก็เป็นสิ่งที่มาตรฐาน ISO9001:2015 ไม่ได้บังคับท่านให้ต้องมีแต่อย่างไร แต่ไม่ว่าอย่างไรจากข้อกำหนดข้อนี้ รวมถึงข้อกำหนดข้อ 4.4 ที่ท่านต้องกำหนดกระบวนการรวมปฏิสัมพันธ์ พร้อมกำหนดปัจจัยเข้า ปัจจัยออก ผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังนั้นหากท่านเห็นประโยชน์ของเอกสารที่เรียกว่าคู่มือคุณภาพหากอยากจะเก็บไว้ ก็ดูมีเหตุผลดี
END