Login Form

ISO9001:2015 CD ประเด็นการเปลี่ยนแปลง บทที่ 2 - การปฏิบัติการป้องกัน

มาตรฐาน ISO9001 ฉบับใหม่ ( ISO9001:2015) และ Annex SL ได้มีการนำคำว่า การปฏิบัติการป้องกัน - preventive action” ออกไป

แล้วประเด็นของ การปฏิบัติการป้องกันจะไปอยู่ที่ไหน

 

1.เรามาดูนิยามของคำว่า นิยามของคำว่าการปฏิบัติการแก้ไข (corrective action) กันก่อน

มาตรฐาน ISO กำหนดคำนิยามของคำว่า การปฏิบัติการแก้ไข ไว้ 

คำนิยามคือ การปฏิบัติการเพื่อขจัดสาเหตุของความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและป้องกันการเกิดซ้ำ

ซึ่งหมายความว่า

การปฎิบัติการป้องกันปัญหา ก่อนที่ปัญหาจะเกิด ไม่ใช่สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

เรื่องของสิ่งที่อาจเกิดผลลัพธ์อื่นที่ไม่ต้องการ

หรือต้องการปฏิบัติการดำเนินการใดๆที่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด

หรือขจัดสาเหตุ และลดผลกระทบ หรือป้องกันการเกิดซ้ำ

เป็นสิ่งที่อยู่นอกกรอบแนวคิดของ การปฏิบัติการแก้ไข นี้

 

2. แต่เดิมมาตรฐานกำหนดเรื่อง การปฏิบัติการป้องกัน ไว้เป็นข้อกำหนดเฉพาะหนึ่งข้อ

เดิมเป็นการแยกต่างหาก

การแยกต่างหากนี้ทำให้เกิดการตีความผิดๆ

ทำให้องค์กรไม่สามารถออกแบบระบบ ควบคุมระบบ ผลักดันให้องค์กรมีกระบวนการโดยรวม หรือกิจกรรมใดๆ

ที่ที่มุ่งเน้นโดยรวมในการลดความเสี่ยง ป้องกันปัญหา ลดโอกาสการเกิดของประเด็นปัญหาในระบบการบริหารต่างๆในเชิงบวก  ซึ่งมาตรฐานISO9001:2015 CD ตรงส่วนนี้ได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยยะ

8-5-3-iso9001

 

 

3.แล้วปัจจุบันเป็นอย่างไร

มาตรฐาน ISO9001 ฉบับใหม่ ( ISO9001:2015) และ Annex SL ได้มีการนำคำว่า ความเสี่ยง ( Risk ) มาใช้ในมาตรฐาน ซึ่งมีการกำหนดไว้ ว่า การการปฏิบัติการป้องกันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงและโอกาส “ considered to cover the concept of “preventive action”, and also to take a wider view that looks at risks and opportunities”

9001-risk

 

ซึ่งหมายความว่าระบบบริหารทั้งระบบต้องเป็นระบบบริหารในรูปแบบการบริหารความเสี่ยง

ระบบต้องถูกจัดวาง ควบคุมในมุมของ ความเสี่ยงของกิจกรรมขององค์กรท่าน

และท่านต้องผสานเข้ากับการทำงานกิจวัตรประจำวัน

 

สรุป

ในเรื่องนี้

จากมุมมองส่วนตัว ออกจะน่ากังวลสำหรับ องค์กรที่ได้รับการรับรองเป็นส่วนใหญ่

เพราะต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน วิธีคิด วิธีทำงาน ของพนักงาน(หมายถึง ผู้จัดการชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูง ทัื้งหมด)  ไม่ใช่แค่เพียงแค่เอกสาร

การปรับปรุงองค์กรให้ทำงานโดยพิจารณาความเสี่ยงและกำหนดมาตรการควบคุมที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรที่ดีควรทำและต้องทำให้ดีๆ

หากองค์กรมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี จำทำใ้ห้องค์กรเติบโต เข้มแข็ง แข่งขันได้ และมีเสถียรภาพ ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบางองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่ปล่อยให้งานไอเอสโซเป็นหน้าที่ของใครบางคน

คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คงไม่ยาก สำหรับคุณและองค์กรคุณ

หากคุณคิดว่า คุ้มค่าพอ ในการทำให้องค์ท่านตื่นตัว ทำการปรับตัว เร่งปรับปรุง ร่วมช่วยกันลดปัญหาป้้องกันปัญหาให้กับองค์กร เพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้องค์กร

หากคุณคิดว่า คุ้มค่าพอ ที่ทำให้พนักงานทุกคน ทุกส่วน ทุกระดับ ตระหนักทราบที่มาที่ไปของมาตรการควบคุมที่ใช้ ร่วมกันสร้าง ร่วมกับใข้มาตรการควบคุมต่างๆ

หากคุณคิดว่า คุ้มค่าพอที่จะทำให้องค์กรคุณอยู่รอด ท่ามกลางภาวะแข่งขัน

 

ว่าแต่ว่าท่านเตรียมพร้อมหรือยัง!

ท่านจะทำก่อน หรือทำพร้อม หรือทำหลังคู่แข่ง

ท่านได้เตรียมงบประมาณ เตรียมคน สะสมความรู้ ปรับพื้นฐานคนที่เป็นกำลังหลักไว้แล้วหรือยัง ในการบริหารความเปลี่ยนแปลงนี้

ท่านพร้อมฉวยโอกาสในการ ยกเครื่องระบบการจัดการตาม ISO9001:2015 ฉบับใหม่นี้

หรือปล่อยให้องค์กรท่านอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงต่อไป

ต้องแล้วแต่ท่านครับผม 

END

หาข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ต้องการรับรองระบบ ติดต่อเราที่ เวปใหม่ ได้ที่ https://www.bsigroup.com/en-TH/

 


 

บทความใกล้เคียง

Online

มี 18 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์