หลังจากผ่านเหตุการณ์สำเทือนขวัญ ต่อเหตุการณ์ก่อการร้ายครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 โดยการใช้เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิล์ดเทรด เซ็นเตอร์ และการแพร่ระบาดของเชื้อโรคแอนแทรกซ์ที่ผ่านมาทางจดหมาย ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ายุทธวิธีในการก่อการร้าย ได้มีการแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่เป็นการใช้อาวุธเพื่อการก่อการร้ายเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการก่อการร้ายผ่านทางอาหารและการก่อการร้ายทางชีวภาพด้วย ทำให้หลายประเทศ เตรียมรับมือและเพิ่มมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายมากขึ้น โดย ให้ความสนใจกับการก่อการร้ายผ่านทางอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะมองว่าเป็นยุทธวิธีที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ไม่มีเงินหรือไม่ มีเทคโนโลยีที่ดีพอ เมื่อคนอเมริกันกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติ ข้าวแต่ละคำ น้ำแต่ละอึก และทุกย่างก้าว พวกเขากำลังกังวลว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่อาจจะเกิดขึ้น
สำหรับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย และเป็นประเทศคู่ค้าที่ให้ความสำคัญกับการจัดการโครงสร้างการออกกฎระเบียบ และมาตรการต่างๆ เรื่องการควบคุมความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) ได้ปรับปรุงระบบความปลอดภัยด้านอาหาร โดยออกกฎหมาย และเปลี่ยนแปลงขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เริ่มจากการออกกฎหมาย The Public Health Security and Bioterrorism Preparedness and Response Act 2002 ขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และความมั่นคงทางแหล่งอาหารของสหรัฐอเมริกา โดยให้อำนาจหน้าที่แก่ FDA และ USDA ในการตรวจสอบ และดำเนินการต่างๆ เพื่อ ให้แน่ใจว่าสินค้าอาหารทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความปลอดภัยปราศจากอันตรายจากชีวภาพ เคมี กายภาพ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่ผู้ก่อการร้ายอาจใช้เป็นอาวุธในการโจมตีสหรัฐอเมริกาได้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการอาหารของไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และมีค่าใช้จ่ายในการส่งออกสินค้าอาหารไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้น
สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบการควบคุมความปลอดภัยทางอาหารรูปแบบใหม่ขึ้น เพื่อใช้เป็นการป้องกันการก่อการร้ายผ่านทางอาหาร ที่เรียกว่า Food Defense ที่เป็นมาตรการป้องกันอาหารให้มีความปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยเจตนา (Intentional Adulteration) ซึ่งแตกต่างจาก Food Safety เป็นการป้องกันให้อาหารปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยไม่ได้เจตนา (Unintentional Adulteration) การนำระบบ Food Defense มาใช้ เพื่อเป็นการป้องกันและตอบโตภัยคุกคามทางด้านอาหารในระบบห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่มีต่อความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร
ปัจจุบัน Food Defense ยังไม่ได้เป็นมาตรการที่กฎหมายบังคับใช้ แต่ผู้ประกอบการก็มีความสมัครใจที่จะนำมาตรการดังกล่าวนี้มาใช้ นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ มีมาตรการป้องกันการก่อการร้ายที่ผ่านทางอาหารด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทางสหภาพยุโรป (EU) ที่มีมาตรการที่คล้ายกัน Food Defense แต่ของ EU เรียกว่า Food Security หรือประเทศในกลุ่ม Asia Pacific Economic Cooperation (APEC) ก็ให้ความสำคัญโดยการจัดตั้ง APEC Food Defense Pilot Project ขึ้น
ตามที่กล่าวข้องต้น Food Defense ที่เป็นมาตรการป้องกันอาหารให้มีความปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยเจตนา (Intentional Adulteration) ซึ่งแตกต่างจาก Food Safety เป็นการป้องกันให้อาหารปลอดภัยจากการปนเปื้อนโดยไม่ได้เจตนา (Unintentional Adulteration) การนำระบบ Food Defense มาใช้ เพื่อเป็นการป้องกันและตอบโตภัยคุกคามทางด้านอาหารในระบบห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น ในเรื่อง food security จะเป็นเรื่องของการรักษาความปลอดภัย ซึ่งต่างจากระบบ HACCP/GMP/BRC/ISO22000 ที่เราคุ้นเคย
เกือบทุกบริษัท จะมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อทรัพย์สินของท่านเป็นหลัก ถึงเวลาแล้วครับ ที่ท่านต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่ท่านผลิตจะไม่ถูกทำให้ปนเปื้อนโดยเจตนา
ต้องดูหนังฝรั่ง หนังบู๊ รวมถึงหนังจารกรรม และหนังที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายบ่อยๆ ครับ ประมาณนั้น ( ต้องเป็นหนังอเมริกาครับ หนังอินเดีย หนังญี่ปุ่น หนังซีรี่ เกาหลี พวกนี้ไม่ work) เพราะบ้านเราสงบ เรียบร้อย ทำให้เรามองไม่ออกว่า อะไรที่มีความเสี่ยง อะไรที่เป็นจุดอ่อนในการบุกรุก หากผู้ก่อการร้าย หรือผู้ประสงค์ร้ายมา สนใจบริษัทคุณ
ในเรื่องการรักษาความปลอดภัย ให้วิศวกร ให้คนจบด้านอุตสาหกรรมอาหาร มาดูแลไม่ได้เรื่องหรอก เพราะจากประสบการณ์ บอกว่าคนประเภทนี้ ไม่ใส่ใจ ไม่รู้ ไม่มี ไม่ get ไม่มีอำนาจพอ และมักเป็นตัวปัญหาต่อระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งรวมถึงคนทีดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงงานด้วย เพราะส่วนมากมักโตมาจากสายการผลิต สายการตลาด สาย QC (ไม่น่ามีผู้จัดการโรงงานที่มาจากสายงานรัดษาความปลอดภัยหรอก หรือว่ายกเว้นบริษัทคุณ ! ) คนเราส่วนมากเป็นคนมองโลกในแง่ดีเกินไป เลยมักมีสิ่งคาดไม่ถึงเสมอ ๆ
ใครบ้างที่ถูกฝึกมาในเรื่องนี้ ก็คือคนที่ควบคุม ดูแล ยามรักษาความปลอดภัยในบริษัทคุณไง คนประเภทนี้ได้รับการฝึก ได้รับการอบรม มีความตระหนัก และเข้าใจ รวมถึงคุ้นเคยในเรื่องนี้
แต่ ในบางเรื่อง ก็เป็นเรื่องเฉพาะของการผลิต ที่ซึ่งละเอียดละอ่อน และกระทำโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ฝ่ายบุคคล โดยทั่วไปก็ไม่รู้เรื่องดีหรอก
ทำไงดี จับคนจากสองส่วน มารวมกันให้ช่วยกันดู ช่วยกันรับผิดชอบ ( แปลว่า มีปัญหาโดนทั้งคู่ ) ทั้งในแง่การออกแบบระบบ และการควบคุมให้เป็นไปตามระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่ผลิตอาหาร
ในเรื่องนี้ การจัดทำแผนมีความสำคัญ ลักษณะแผนควรมีส่วนคล้ายๆ กับ emergency / contingency plan ทั้งนี้เนื่องจากการกระทำงาน การควบคุมจะแฝงอยู่กับการทำงานปกติรายวัน อาจอยู่ใน ระเบียบปฏิบัติในขั้นตอนของหน่วยงานต่างๆ process daily checklist แบบฟอร์มต่างๆ ซึ่งไม่อาจแยกมาต่างหากได้
ในลักษณะการชี้บ่ง จะเป็นการระบุความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ แต่ละจุด ทำการระบุ มาตรการควบคุม มี corrective action ว่าต้องทำอะไรบ้างหากเกิดเหตุการนั้นเหตุการนี้ (ดูเหมือน การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักการ HACCP จัง)
ต้องมีการกำหนด ทีมงาน หน้าที่ ในด้านการรักษาความปลอดภัยนี้ มีการกำหนดว่าเมื่อเกิดเหตุต้องทำอย่างไร ต้องแจ้งใคร ผลิตภัณฑ์ ต้องกักกันอย่างไร ลักษณะในการระบุจะคล้ายกับ การระบุ contingency plan
มักใช้รายการตรวจสอบ checklist ที่มีการจัดทำเฉพาะ สำหรับตรวจสอบความปลอดภัยทั้งระบบ ในการ validate ระบบความปลอดภัย
แผนการรักษาความปลอดภัย ควรเป็นเอกสารที่ทำการระบุปัญหาความปลอดภัยที่อาจเป็นไปได้ และ ระบุแนวทางแก้ไขป้องกันปัญหานั้นๆ เอกสารนี้ซึ่งควรมีการรวบรวมรายชื่อ หมายเลข ติดต่อ ลูกค้าท่าน ภาครัฐ ซัพพลายเออร์ เอกสารนี้ไม่จำเป็นและไม่ควรทำเป็นเอกสารระเบียบปฏิบัติอันยืดยาว เพราะชื่อก็บอกแล้วเป็นแผน ดูตัวอย่างได้ที่นี่ครับ ..