Login Form

ความแตกต่างระหว่างการเรียกคืนผลิตภัณฑ์และการถอดถอนผลิตภัณฑ์

การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (Product recall) หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากตลาด ที่ซึ่งผลิตภัณฑ์อยู่ในมือผู้บริโภคแล้ว และถูกนำกลับมาทำลาย

การถอดถอนผลิตภัณฑ์ (Product withdrawal) หมายถึง กระบวนการการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ออกจากตลาดและรวมถึงขั้นตอนจากการค้าปลีก ผู้ผลิต ผู้แบ่งบรรจุ ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก แต่ผู้บริโภคไม่รับร้องขอให้คืนหรือทำลายผลิตภัณฑ์

'Recall' : mean any measure aimed at achieving the return of a dangerous product that has already been supplied or made available to consumers by the producer or distributor.

'Withdrawal' ; mean any measure aimed at preventing the distribution, display and offer of a product dangerous to the consumer.

Art 2 of Directive 2001/95/EC on general product safety
(Definitions is not in Regulation (EC) No 178/ 2002)

จากนิยามข้างต้น จะเห็นได้ชัดว่า การเรียกคืนผลิตภัณฑ์(Recall) เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากกว่าการถอดถอนผลิตภัณฑ์(Withdraw) เพราะว่าการเรียกคืนผลิตภัณฑ์(Recall)ต้องเอาผลิตภัณฑ์ในมือผู้บริโภคกลับ คืนมาทำลาย (แปลว่าร้ายแรงจริงๆ มีปัญหาจริงๆ ไม่ใช่แค่เกิดความสงสัยว่าผลิตภัณฑ์อาจมีปัญหา ไม่งั้นไม่ต้องดิ้นรนเอาผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในมือผู้บริโภค/ลูกค้าคืนกลับมา หรอก)

ทำไมต้องสนใจการถอดถอน/เรียกคืน

เรื่องการถอดถอน / เรียกคืนผลิตภัณฑ์นี้ เป็นเรื่องของ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจ (Responsibilities for food safety : food businesses) ด้วยหลักการที่ว่าผู้ ประกอบธุรกิจ หรือผู้ประกอบการ จะต้องมั่นใจว่าภายใต้การควบคุมดูแลของตนนั้น ทุกขั้นตอนการผลิตและการจำหน่ายอาหารสอดคล้องกับกฎข้อบังคับอาหารที่เกี่ยว ข้อง โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งจะต้องแจ้งทัันทีที่มีข้อสงสัยว่าสินค้าอาหารของตนที่วางจำหน่าย มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของผู้บริโภครวมทั้งการให้ความร่วมมือด้วยในกรณีที่มีการร้องขอข้อมูล

ขั้นตอนโดยรวมที่ซึ่งผู้ประกอบการควรกระทำในการถอดถอน/เรียกคืนคือ

ในกรณีที่มีความสงสัยว่า สินค้าดังกล่าวมิได้มีการผลิต แปรรูปหรือการจัดจำหน่ายที่สอดคล้องกับข้อกำหนดความปลอดภัยของอาหาร ขั้นตอนที่ซึ่งผู้ประกอบการควรจะต้องทำมีดังนี้

1) ใช้ขั้นตอนการถอดถอน (withdrawal) สินค้าอาหารที่ต้องสงสัยออกจากตลาด

2) แจ้งข้อมูลเหตุผลการถอดถอนสินค้าฯให้ผู้บริโภคทราบ และหากจำเป็นต้องเรียกคืน (recall) สินค้าฯจากผู้บริโภค

3) ให้ความร่วมมือโดยการให้ข้อมูลและดำเนินการจำเป็นที่เกี่ยวข้องในการสอบย้อนอาหารกับผู้ทีเกี่ยวข้องและภาครัฐ

ทำไมเราจึงรู้สึกว่าคำว่า ถอดถอน(withdrawal) ร้ายแรงกว่า เรียกคืน(recall)

มาดูข่าวกัน ........

" เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2548 หน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้าอาหารของอังกฤษ (Food Standard Agency: FSA)   แจ้งว่าได้พบการปนเปื้อนสารย้อมสีต้องห้าม Para Red ในอาหารหลาย ประเภท เช่น ซอสปรุงรส เครื่องเทศ  เครื่องแกง  ขนมขบเคี้ยว  พิซซ่าแช่แข็ง ฯลฯ  ทั้งหมดรวม 69 รายการ ซึ่งสหภาพยุโรป (อียู)  ได้ประกาศห้ามใช้สารดังกล่าวในอาหารเมื่อปี 2538   เนื่องจากพบว่าเป็นสารที่มีความเสี่ยงว่าจะก่อมะเร็ง    แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการรับสารปริมาณเท่าใดจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ ผู้บริโภค   อย่างไรก็ดี   ทางหน่วยงาน FSA และคณะกรรมาธิการยุโรปได้ร่วมมือกันหาแนวทางที่จะรับมือกับปัญหานี้ โดยขอให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการบริโภคสินค้าอาหารดังกล่าว หรือส่งคืนผู้จำหน่ายเพื่อทำลายต่อไปทั้งนี้   ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจพบสินค้าอาหารของไทยที่ปนเปื้อนสารย้อมสี Para  Red
เอกสารเผยแพร่ของคณะกรรมาธิการยุโรป ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2548 แจ้งว่า สำหรับอาหารที่มีส่วนผสมเครื่องเทศจะต้องถูกถอดถอนออกจากตลาดหาก มีปริมาณสารย้อมสีต้องห้ามปนเปื้อนเกิน 0.5-1 mg/kg   คณะกรรมาธิการยุโรปได้ขอให้ประเทศสมาชิกอียูดำเนินการตรวจสอบต่อไป และในกรณีที่ตรวจพบขอให้แจ้งด้วยระบบเตือนภัยเร่งด่วนสำหรับอาหารมนุษย์และ อาหารสัตว์ (Rapid Alert System for Food and Feed : RASFF)" ที่มา Midday Express of 2005-05-11 (Website : www.europa.eu.int)

เมื่อเราพบคำว่า "ถอดถอนผลิตภัณฑ์จากตลาด" มักเป็นเรื่องที่มาจากภาครัฐและจากการลงข่าวหนังสือพิมพ์ ..... เมื่อมาจากภาครัฐ มักเป็นข่าวใหญ่โต จึงทำให้ดูเหมือนว่ามาตรการ ถอดถอน(withdrawal) ร้ายแรงกว่า เรียกคืน(recall) ซึ่งที่จริงกลับกัน

เห็นด้วยหรือไม่ครับ.......

 

บทความใกล้เคียง

Online

มี 25 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์