Login Form

ความแตกต่างระหว่างระหว่าง 7.5 oPRP กับ 7.6 HACCP

การจัดชั้นประเภทของการจัดการกับมาตรการควบคุม ตามมาตรฐาน ISO 22000 สร้างความสับสน ให้กับผู้นำมาตรฐานไปประยุกต์ใช้ จริงๆแล้วหลักการกลับเรียบง่าย และ มาตรฐาน ISO22000 ต้องการลดจุดอ่อนของ HACCP Codex ในการคัดแยกมาตรการควบคุม

มาวิเคราะห์ข้อกำหนด ISO 22000 กัน

iso22000 7.5

จากข้างต้น จะเห็นว่า

  • วิธีการจัดการตามระบบ HACCP ต้องมี ค่าวิกฤติและการตรวจเฝ้าระวังค่าวิกฤตินั้นๆ 
  • ในส่วน oPRP ไม่มีการกำหนดค่าวิกฤติและ แต่มีการตรวจเฝ้าระวังว่ามาตรการควบคุมได้มีการนำไปปฏิบัติหรือไม่

เมื่อเป็นเช่นนี้ ง่ายมาก ว่าอะไรที่มีค่าวิกฤติและ สามารถตรวจสอบ/ตรวจวัด ค่าวิกฤติได้ควรได้รับการจัดการแบบ HACCP ตามข้อกำหนด 7.6  หากมาตรการควบคุมนั้นเป็นเรื่องของควบคุมการปฏิบัติ สมควรได้รับการจัดการตามข้อ 7.5 oPRP 

มาดู HACCP Codex กัน

สำหรับ HACCP Codex  มี มาตรการควบคุมอยู่สองประเภท กล่าวคือเป็นมาตรการควบคุม ที่

1.  การตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) ที่วัดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ เพื่อพิจารณาการสอดคล้องกับค่าวิกฤติที่กำหนด กล่าว คือ การวัดตรงที่ค่าเกณฑ์ CL นั้นๆ ( ตัวอย่างเช่น :การวัดเวลาและอุณหภูมิของกระบวนการให้ความร้อน , การวัดอุณหภูมิแช่เย็น , การวัดค่า pH , การวัดค่า Aw )

และ

2. การตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) ที่มาจากการสังเกตว่ามาตรการควบคุมที่ CCP ได้รับการนำไปปฏิบัติหรือไม่ ( ตัวอย่างเช่น : การตรวจพินิจการปิดผนึกกระป๋อง , การล้าง, การตรวจสอบใบรับรองการวิเคราะห์ ของผู้ส่งมอบ )

เพราะรูปแบบการ monitor มีไม่เหมือนกัน ตามระบบ HACCP Codex แบบเดิม มาตรฐาน ISO22000 จึงแบ่ง วิธีจัดการ มาตรการควบคุมออกมาเป็นสองประเภท คือ oPRP และ HACCP เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องในทางปฏิบัติ. กล่าวคือหาก monitor ที่ลักษณะของผลิตภัณฑ์โดยตรงก็จะเป็นการจัดการแบบ HACCP ตามข้อ 7.6 หากเป็นการสังเกตุว่ามาตรการควบคุมที่ CCP ได้มีการนำไปปฏิบัติหรือไม่ ก็จะจัดประเภทการจัดการเป็น oPRP

การจัดประเภทมาตรการควบคุมตามข้อกำหนด ISO22004

ข้อกำหนด ISO20004 ได้ให้แนวทางในการจัดประเภท ว่ามาตรการควบคุมประเภทไหน ควรจัดเป็น oPRP มาตรการควบคุมแบบไหนควรจัดเป็น HACCP มา 3 ประเด็น ดังนี้

" แนวทางข้างล่างนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้กับองค์กรในกระบวนการจัดประเภทมาตรการควบคุม

  • ผลกระทบของมาตรการควบคุมต่อระดับอันตรายหรือโอกาสการเกิดอันตรายนั้นๆ (หากผลกระทบสูง มาตรการควบคุมควรได้รับการจัดการแบบประเภท HACCP Plan  ( 7.4.4 a,c,d,f,g)
  • ความรุนแรงต่ออันตรายต่อconsumer health หากมีความรุนแรงสูง มาตรการควบคุมควรได้รับการจัดการแบบประเภท HACCP Plan (7.4.4 e) 
  • ความจำเป็นของการ monitoring หากในจุดนั้นๆ ขั้นตอนนั้นต้องการระดับการ monitoringที่เข้มงวด,มาตรการควบคุมนั้นควรได้รับจัดการแบบประเภท HACCP Plan ( 7.4.4 b)  " 

จาก guideline ข้างต้นท่านจะเห็นได้ว่า ข้อกำหนด ISO 22004 ได้ให้แนวทางอย่างชัดเจน เป็นกรอบ วิธีการในการแยกประเภทการจัดการมาตรการควบคุม ว่ามาตรการควบคุมแบบไหนควรได้รับการจัดการตาม HACCP ตามข้อ 7.6 หรือ oPRP ตามข้อ 7.5

การจัดการประเภท HACCP Plan คืออะไร คือการเน้นที่ ค่าวิกฤติ เน้นที่ process parameter  เน้นว่าค่าควบคุมที่กำหนดยังสามารถควบคุมได้อยู่

ส่วนการจัดการประเภท oPRP คือ การเน้นว่ามาตรการควบคุมได้มีการนำไปปฏิบัติ การตรวจพินิจ ยังคงทำอยู่ การล้างวัตถุดิบยังคงทำอยู่ หากเน้นที่ว่า ทำหรือไม่ได้ทำ มาตรการควบคุมนี้เป้น oPRP

การแยกประเภทของการมาตรการควบคุมไม่ซับซ้อนแต่ อย่างใด เพราะมาตรการควบคุมท้งสองประเภทต้องได้รับ validate เฉกเช่นกัน มาตรฐาน iso22004 กำหนดว่า

การแยกประเภทของมาตรการควบคุม องค์กรอาจจะมีแนวทางโดยให้มีจำนวนมาตรการควบคุมประเภท oPRP (operational PRPs) มากที่สุดเท่าที่ทำได้ และให้มีมาตรการควบคุมที่จัดการผ่าน HACCP Plan น้อยๆ หรือในกลับกัน ซึ่งสำหรับกรอบของ iso22000 ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ตลอดทั้ง food chain ซึี่่งรวมถึง food service , food transport และ การผลิตภาชนะบรรจุ ดังนั้นเป็นไปได้มากเป็นอย่างยิ่งที่จะไม่มี CCP โดยเฉพาะองค์กรที่มีกระบวนการที่ไม่สามารถทราบผล monitor ในเวลาที่เหมาะสม [มาตรฐานบอกมาขนาดนี้ ยังจะตีความอะไรกันอีก ชัดจนไม่รู้ว่าจะชัดอย่างไร]

หากคุณมั่นใจว่าได้มีการกำหนดการเฝ้าระวังที่ถูกต้อง กล่าวคือ

  • อะไรที่มี critical limit ที่สามารถวัดได้ และสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือ reject ได้ ก็ตั้งให้เป็น critical limit
  • หากมาตรการควบคุมควรมีการเฝ้าระวังแบบ real time ก็เป็น real time ,อะไรที่ต้องมีการ monitor เป็น batch ก็เป็น batch
  • อะไรที่มาตรการควบคุมที่สำคัญ แต่สามารถตรวจสอบได้แต่เพียงว่า มาตรการควบคุมได้มีการนำไปปฏิบัติ ก็ทำการควบคุมเพื่อทำให้มั่นใจว่าได้มีการนำไปปฏิบัติ ( เช่น การตรวจพินิจ , การควบคุมเวลาระหว่างการตรวจรับสำหรับกุ้งแช่เย็น )

ท่านก็ไม่มีอะไรที่น่าห่วงแต่อย่างไร เพราะ ผู้ตรวจประเมินก็จะดูผลของการประเมินจัดประเภทมาตรการควบคุม(7.4.4)   ว่าอะไรควรเป็น oPRP เป็น oPRP หรือไม่ อะไรที่เป็น HACCP Plan ได้รับการจัดประเภทชั้นเป็น Haccp Plan หากท่านจัดประเภทถูกต้องแปลว่าวิธีการที่ท่านใช้ในการคัดแยกถูกต้อง มีประสิทธิผล หากท่านแยกประเภทผิดแปลว่าวิธีที่ท่านใช้ในการแยกประเภท (7.4.4) นั้นไม่มีประสิทธิผล

ผู้ตรวจประเมินมีหน้าที่ในการตรวจประเมินประสิทธิผลของกระบวนการคัดแยกประเภทมาตรการควบคุมครับ ไม่มีตรงไหนที่บอกต้องเอา 7.4.4 a - g มา พิจารณาใส่กระดาษที่ละข้อหรอก (วิธีนี้ ดูซื่อบื้อแบบไร้เหตุผลไปนิด ดูมึนๆพิกล)  กล่าวได้ว่าหน้าที่ผู้ตรวจประเมิน ทำหน้าที่ประเมินมาตรการควบคุมที่องค์กรมีอยู่ว่าเพียงพอเหมาะสมต่ออันตราย ด้านอาหารหรือไม่ ไม่ใช่ไปดูว่าท่านเอา  7.4.4 a - g มา พิจารณาใส่กระดาษที่ละข้อหรอก

 ข้อแนะนำสำหรับองค์กรที่ได้ทำ HACCP Plan มาแล้ว

องค์กรที่ทำ haccp มาแล้วจะเข้าสู่กระบวนการนี้ได้โดยง่าย โดยยึดแนวทางจาก ISO22004 จาก decison tree ของ ISO22004 figure 3

การตัดสินใจตาม Flow ข้างต้น " is control of hazard needs  to enabble the defined acceptable to me bet " เป็น การใช้หลักการตัดสินใจตาม Codex ( Q2 ) การตัดสินใจด้วย decison tree ของ Codex ( Q2 & Q4) ทำให้เกิดกระบวนการคัดเลือก มาตรการควบคุมตามข้อกำหนด 7.4.4 a - g  (ยกเว้น b, e) โดยอัตโนมัติ 

Decision treeของ ISO22004  ตามรูปข้างต้น หมายว่า หากท่านได้มีการทำ HACCP Codex ที่ซึ่งได้มีการใช้ decison tree  ตาม Codex อยู่แล้ว ( ด้วย Q2 , Q4) ท่านเพียงแต่ นำ มาตรการควบคุมที่เป็น CCP มากรองต่อโดยใช้ หลักการสามประการตามที่ได้กล่าวข้างต้น (ข้อ 2  ) ท่านจะสามารถแยกประเภทมาตรการควบคุมได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิผล   เพราะการคัดกรองด้วยระบบ Codex จะได้มาที่ซึ่งมาตรการควบคุมที่ซึ่งมีนัยยะต่ออันตรายด้านอาหาร หลังจากนั้นทำการแยกประเภทการจัดการ ว่าจะจัดการมาตรการควบคุมในแบบ oPRP หรือ HACCP ตามสภาพการ monitoring ตามกรอบ 3 ประเด็นที่ ISO 22004 ให้แนวทางไว้ จะทำให้เรามีการประเมินตาม 7.4.4  a - g ครบถ้วน อย่างแท้จริง

หากท่านชอบหรือถนัดการประเมินมาตรการควบคุมแบบ HACCP Codex อันนี้ใช่เลย ดูดี ดูฉลาด ง่าย สะดวก มีเหตุมีผล ตรงตามข้อแนะนำของ ISO22004 ที่ให้ (เชียร์ขนาดนี้แล้ว ยังไม่เอาอีก ก็ตามใจ)

บทความใกล้เคียง

Online

มี 29 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์