การตรวจประเมินระบบประกันความปลอดภัยด้านอาหาร (HACCP) มีการใช้เทคนิค วิธีการในการตรวจประเมินที่แตกต่างจากมาตรฐาน ISO 9001 ไม่ว่าขั้นตอน, วิธีการ หรือ กระบวนการตรวจประเมิน
การตรวจประเมินระบบประกันความปลอดภัยด้านอาหารนั้นมีการยึดหลักด้านความความ ปลอดภัยและความเสี่ยงด้านอาหารเป็นหลัก เทคนิควิธีการ เวลา การมุ่งเน้นในการตรวจประเมินจึงมีความแตกต่าง
1.1 การตรวจสอบเอกสารทั่วไป
สิ่งแรกที่ต้องตรวจ เป็นพื้นฐานของการตรวจโรงงานอาหารที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ข้อแนะนำในการตรวจมีดังนี้
1. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับสถานะภาพ และขนาดของสถานที่ผลิต ได้แก่ หลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณสนธิ ใบทะเบียนพาณิชย์ ใบอนุญาตตั้งโรงงาน รายการอุปกรณ์ เครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้
2. ตรวจสอบใบอนุญาตผลิตอาหาร กรณีที่การผลิตถึงขนาดเป็นโรงงานตามกฎหมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทอาหารที่ผลิต ผู้ดำเนินกิจการและใบอนุญาตผลิตอาหารต้องแสดงไว้ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิต
3. ตรวจสอบใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร/เลขอนุญาตใช้ฉลากอาหาร ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของอาหาร
4. ตรวจสอบเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การผลิตอาหารเฉพาะคราวการขอผ่อนผันนำเข้าวัตถุดิบมีหรือไม่ เป็นต้น
5. ตรวจสอบการจัดให้มีป้ายแสดงสถานที่ผลิตอาหารที่ได้รับอนุญาตไว้ภายนอกสถานที่ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
1.2 การตรวจสอบ เอกสาร HACCP Plan
1. ทบทวนฉลากผลิตภัณฑ์(label) เทียบกับ เอกสารบรรยายลักษณะและรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product Description) และวัตถุประสงค์การใช้งาน ( intended Use)”
ทำการสุ่มตรวจฉลากผลิตภัณฑ์โดยเลือกจากผลิตภัณฑ์ที่ระบุในHACCP Plan เปรียบเทียบกับรายละเอียดตามที่ระบุใน”เอกสารบรรยายลักษณะและรายละเอียด ผลิตภัณฑ์ (Product Description) และวัตถุประสงค์การใช้งาน ( intended Use)” เน้นในรายละเอียดที่ระบุในส่วน product name, intended use, safe labeling instruction, special distribution control.
2. ทบทวนสูตรการผลิต (formulation) เทียบกับ ”เอกสารบรรยายลักษณะและรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product Description) และวัตถุประสงค์การใช้งาน ( intended Use)”
หากมีสูตรการผลิต ทำการสุ่มตรวจโดยเลือกจากผลิตภัณฑ์ที่ระบุในHACCP Plan โดยเลือกรายการเดียวกันกับที่สุ่มเรื่องฉลาก และทำการตรวจสอบว่า ลักษณะของผลิตภัณฑ์สุดท้าย(important product characteristic) และ ข้อแนะนำบนฉลาก (Safe label instruction) ที่ระบุใน”เอกสารบรรยายลักษณะและรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product Description) และวัตถุประสงค์การใช้งาน ( intended Use)” ว่าสอดคล้องกับสูตรการผลิตหรือวิธีการผลิตหรือไม่
3. ทบทวนฉลากผลิตภัณฑ์(label)และสูตรการผลิต (formulation) เทียบกับ รายการวัตถุดิบและวัตถุปรุงรส (ingredients) ทำการทบทวนว่าเอกสารทั้ง 4 ประเภทนั้นว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่มีสิ่งขัดแย้ง ระหว่าง “ฉลากผลิตภัณฑ์”, “เอกสารบรรยายลักษณะ”, “สูตรในการผลิต” และ รายการวัตถุดิบ
4. On-site verify เพื่อตรวจสอบ สูตรการผลิต (formulation)
เข้าตรวจพื้นที่ว่าสูตรการผลิตนั้นตรงกับเอกสารที่ระบุไว้หรือไม่, วัตถุดิบและวัตถุปรุงรส(ingredients)
ตรงกับเอกสารที่ระบุหรือไม่
5. On-site verify เพื่อตรวจสอบ แผนภูมิการผลิต Process flow diagram
เข้าตรวจพื้นที่ว่า แผนภูมิการผลิตนั้นเที่ยงตรงและสมบูรณ์ในประเด็นด้าน การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identified)
6. On-site verify เพื่อตรวจสอบ Plant layout/Plant schematic ( ทิศทางเข้าออกพนักงานในส่วนต่างๆ ทิศทางการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์สำเร็จ ) เข้าตรวจพื้นที่ว่า Plant layout/Plant schematic นั้นเที่ยงตรงและสมบูรณ์ในประเด็นด้านอันตราย (Hazard) ที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนข้ามจากproduct flow และ ทิศทางการเดินของพนักงาน(Employee Traffic)
7. ทบทวนเอกสารระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติงาน ( SOP, WI, Program) รวมถึงวิธีการในการทวนสอบ(verification), รับรอง (validation) ต่างๆ
8. ทบทวนเอกสารกำหนด CCP ว่า มีการระบุการวิเคราะห์อันตรายและมาตรการควบคุม จุดวิกฤติ ค่าวิกฤติ และอื่นๆ เหมาะสมหรือไม่